1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
บอร์ดเฉพาะกิจ กฟก. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ซื้อหนี้เกษตรกรใหม่เอื้อการจัดการหนี้สินเกษตรกร คาดใช้งบกองทุนฯ ซื้อหนี้จากเกษตรกรล็อตแรก 871 ราย วงเงินกว่า 166 ล้านบาท พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการเจรจาหนี้กับสถาบันการเงิน
4 ก.ย. 2560
438
0
บอร์ดเฉพาะกิจกฟก.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ซื้อหนี้เกษตรกรใหม่เอื้อการจัดการหนี้สินเกษตรกร
บอร์ดเฉพาะกิจ กฟก. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ซื้อหนี้เกษตรกรใหม่เอื้อการจัดการหนี้สินเกษตรกร คาดใช้งบกองทุนฯ ซื้อหนี้จากเกษตรกรล็อตแรก 871 ราย วงเงินกว่า 166 ล้านบาท พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการเจรจาหนี้กับสถาบันการเงิน

บอร์ดเฉพาะกิจ กฟก. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ซื้อหนี้เกษตรกรใหม่เอื้อการจัดการหนี้สินเกษตรกร คาดใช้งบกองทุนฯ ซื้อหนี้จากเกษตรกรล็อตแรก 871 ราย วงเงินกว่า 166 ล้านบาท พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการเจรจาหนี้กับสถาบันการเงิน

          พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกรของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีหนี้เร่งด่วนเสนอ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่ปรับลดจากเดิม 56 ข้อ เหลือเพียง 36 ข้อ เพื่อทำให้ประสิทธิภาพการทำงานมีความรอบคอบ แต่คล่องตัวมากขึ้น นอกจากหลักเกณฑ์เดิมที่ต้องเป็นหนี้ที่มีสถานะผิดนัดชำระหนี้ขึ้นไป โดยจัดลำดับความเร่งด่วนในให้ความช่วยเหลือ 4 ระดับ คือ หนี้ถูกฟ้องล้มละลาย หนี้ถูกบังคับคดีหรือประกาศขายทอดตลาด หนี้ถูกดำเนินคดี และหนี้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว หลักเกณฑ์ใหม่ยังเน้นว่าเกษตรกรที่มีคุณสมบัติที่สมควรให้ความช่วยเหลือและได้รับพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ เป็นผู้มีรายได้น้อยกว่า 1 แสนบาท/ปี ถูกฟ้องล้มละลาย หรือเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานในวัยทำงานดูแล เป็นต้น

          ดังนั้น หลังจากลงนามในหลักเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกรที่แล้ว ก็จะนำมาใช้พิจารณาซื้อหนี้จากเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้เกษตรกร จะดำเนินการตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายตามขั้นตอน ซึ่งจากการรายงานผลการดำเนินงานจากการตรวจสอบข้อมูลหนี้สินเกษตรกรทั้งประเทศจำนวน 465,925 ราย พบว่า มีเกษตรกรที่มาแสดงตัว 245,052 ราย โดยเกษตรกรที่มาแสดงตัวแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ จำนวน 125,301 ราย ที่เหลือไม่ประสงค์รับการช่วยเหลือ โดยในกลุ่มที่ขอรับความช่วยเหลือนั้นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว พบว่า มีข้อมูลครบถ้วนจำนวน 64,748 ราย ที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ โดยในส่วนที่ตรวจสอบแล้ว แบ่งเป็น  3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1. กลุ่มที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรยินยอมให้ชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 871 ราย จาก 2,369 สัญญา มูลหนี้ประมาณ 166 ล้านบาท 2. อยู่ระหว่างจำแนกสถานะหนี้ 58,587 ราย และ 3.จัดการหนี้ได้ตามเกณฑ์ กฟก. 5,261 ราย ซึ่งข้อมูลนี้จะทำให้เราจัดการหนี้ตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยเบื้องต้นคาดว่ากลุ่มที่จะเริ่มดำเนินการโดยใช้งบประมาณของ กฟก.ได้ทันที จำนวน 871 ราย ซึ่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้เกษตรกรจะกลับไปพิจารณารายละเอียด และนำเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป  รวมถึงการสำรวจข้อมูลหนี้ให้แล้วเสร็จจากกลุ่มที่แจ้งความประสงค์ที่ยังเหลือจากจำนวนทั้งหมด 125,301 ราย คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 15 กันยายนนี้

          นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเจรจาซื้อหนี้จากสถาบันการเงินที่มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการเจรจากับสถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นเจ้าหนี้ ที่จะต้องมีการหารือร่วมกันในเงื่อนไขและแนวทางปฏิบัติต่างๆ โดยองค์ประกอบของอนุกรรมการฯ ชุดนี้ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และคสช. เป็นต้น โดยจะยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวโดยเร็วต่อไป 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง