1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
สศก. แจงดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวช่วง 4 เดือนสร้างรายได้งาม พุ่งกว่า 50% จากปีก่อน
12 พ.ค. 2561
989
0
สศก. เผย ดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือก ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.2561) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 50.44 โดยรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกหอมมะลิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.55 ส่วนรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.35 ย้ำ ภาครัฐยังคงขับเคลื่อน เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 60/61
สศก.แจงดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวช่วง
สศก. แจงดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวช่วง 4 เดือนสร้างรายได้งาม พุ่งกว่า 50% จากปีก่อน

 

 วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 

 

สศก. แจงดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวช่วง 4 เดือนสร้างรายได้งาม พุ่งกว่า 50% จากปีก่อน

สศก. เผย ดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือก ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.2561) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 50.44 โดยรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกหอมมะลิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.55 ส่วนรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.35 ย้ำ ภาครัฐยังคงขับเคลื่อน เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 60/61

นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายได้ของเกษตรกรในกลุ่มสินค้าข้าว สศก. พบว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าสินค้าอื่นๆ โดยดัชนีรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือก ในระยะ 4 เดือน ปี 2561 (ม.ค.-เม.ย.2561) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย. 2560) ร้อยละ 50.44 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตข้าวเปลือกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.61 และดัชนีราคาข้าวเปลือกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 หากแยกตามชนิดของพันธ์ข้าวแล้ว รายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกหอมมะลิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.55 ส่วนรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.35 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายและมาตรการของภาครัฐที่มีออกมาเป็นระยะๆ และความพยายามที่จะบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้ได้ทั้งระบบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการบริการจัดการสินค้าข้าว คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2560/61 แบ่งเป็น ด้านการผลิต การตลาดและการเงิน ซึ่งในระยะยาว ยังกำหนดแนวทางในการรักษาเสถียรภาพสินค้าข้าว ได้แก่ ดำเนินการแผนการผลิตและตลาดข้าวครบวงจรอย่างต่อเนื่อง  ขยายการทำนาแบบแปลงใหญ่ให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนเป็นแปลงข้าวอินทรีย์ให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เชื่อมโยงตลาดกับการผลิตล่วงหน้า ยกระดับมาตรฐานคุณภาพข้าว  ลดการปลูกข้าวรอบ 2  ดึง Supply ส่วนเกินออกในช่วงผลผลิตออกมาก ผลักดันการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการแปรรูปข้าว และพัฒนาระบบ E-Agriculture เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว

ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม 61 มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี 2560 โดยข้าวเปลือกหอมมะลิ เฉลี่ยตันละ 13,529 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ราคาเฉลี่ยตันละ 9,207 บาท ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% เฉลี่ยตันละ 7,785 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ราคาเฉลี่ยตันละ 7,514 บาท  ทั้งนี้ ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลมาจากเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี  ปี 2560/61 ประกอบกับบางพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการข้าวหอมมะลิอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดเมื่อ 24 เมษายน 2561 รัฐบาลได้ออกมาตรการเกษตรประชารัฐเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นทางเลือกให้กับพี่น้องเกษตรกร ไม่เฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเท่านั้น ภายใต้มาตรการนี้  มี 2 โครงการ ประกอบด้วย

     1) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อลดต้นทุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 90,000 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุน ธ.ก.ส. เป็นทางเลือกให้กับพี่น้องเกษตรกรดีกว่าให้ไปกู้หนี้นอกระบบมาลงทุนทำการเกษตร เป็นการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรเป้าหมาย 3 ล้านราย วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 30,000 บาท ผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต หรือเครื่องจักรกลเกษตรขนาดเล็กที่มีมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท

     2) โครงการสนับสนุนการผลิตหรือจัดหาปุ๋ยสั่งตัดผ่านสถาบันเกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 3,600 ล้านบาท โดยใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส. เป็นการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตหรือจัดหาปุ๋ยสั่งตัดเพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกของสถาบันเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป เป้าหมายกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร 300 แห่ง (วงเงินกู้ ธ.ก.ส. จะวิเคราะห์ตามศักยภาพและความจำเป็น) และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 200 แห่ง วงเงินกู้แห่งละไม่เกิน 3 ล้านบาท

*********************

                ข่าว  :  ส่วนประชาสัมพันธ์

ข้อมูล : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร

 

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง