• ความเป็นมา
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
  •     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นสมควรยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรในสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีคุณความดี มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์สมควรเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ให้ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์และความสามารถสู่สังคม

    ปราชญ์ของแผ่นดินมี 4 สาขา
    1.ปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย
    2.ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
    3.ปราชญ์เกษตรดีเด่น
    4.ปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย 


ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
Philosopher of Sufficiency Economy
  • นายวีรวัฒน์ จีรวงส์
  • นายวีรวัฒน์ จีรวงส์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2566
    สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นนายวีรวัฒน์ จีรวงส์อายุ 71 ปีการศึกษา ปริญญาตรี วท.บ. (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสถานภาพ สมรส ที่อยู่ บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 5 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว
  • นายเมธี บุญรักษ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2566
    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงสาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงนายเมธี บุญรักษ์อายุ 63 ปีการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ช่างยนต์)สถานภาพ สมรสที่อยู่ บ้านเลขที่ 98/87 บ้านซรายอ หมู่ที่ 1 ตำบลปาเสมัสอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสโทรศัพท์ 087 968 2944อาชีพ เกษตรกรรมคุณลักษณะส่วนบุคคล นายเมธี บุญรักษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคการเกษตร 36 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 26 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 26 ปี เกษตรกรผู้มีภูมิปัญญาสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นต้นแบบรูปธรรมในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร เป็นที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับและนำไปเผยแพร่ สื่อสาร ขยายผลจนเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคการเกษตรไทยอย่างโดดเด่นระดับประเทศ ทั้งเป็นผู้มีชีวประวัติและวิถีชีวิตที่พอเพียง และมีคุณธรรม มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลสังคม เดิมนายเมธี บุญรักษ์ ทำงานเป็นนายช่างยนต์ที่ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากห่างไกลและต้องการให้เวลากับครอบครัว จึงเริ่มวางแผนทำการเกษตรในเวลาที่หยุดกลับมาพักผ่อนที่บ้าน โดยทำการเกษตรบนพื้นที่ที่เป็นมรดกของพ่อและแม่ จำนวน 10 ไร่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่มีความรู้ทางการเกษตรเพราะจบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาช่างยนต์ ประกอบกับดินมีสภาพปนทราย จึงเดินทางไปศึกษาศาสตร์พระราชาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการพัฒนาพื้นที่ แล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ ด้วยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อปรับโครงสร้างดิน ลดการพังทลายของหน้าดิน เป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น จนดินมีความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาในปี 2546 จึงได้ลาออกกลับมาทำการเกษตรอย่างเต็มตัว เริ่มจากการปรับรูปแบบการผลิตจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เน้นเฉพาะไม้ผล เป็นรูปแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน หลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนภายในแปลง ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยเริ่มจากการทำเกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ ตามลำดับ จนได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ORGANIC THAILAND) และได้รับการรับรองการผลิตสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ลองกอง GI ตันหยงมัส เป็นการยกระดับสินค้าเกษตรอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานรับรองส่งผลให้ผลผลิตมีมูลค่าสูงขึ้น และสามารถกำหนดราคาเองได้
  • นายเมธี บุญรักษ์
ตกลง