1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 5
15 ต.ค. 2562
151
0

สรุปประเด็นข้อเสนอและความคิดเห็นประเด็นสำคัญของมติ 

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ ๕ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๒ ณ เมืองปูแอร์โตบารัส สาธารณรัฐชิลี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน) เข้าร่วมการประชุมฯ และเป็นผู้รับรองปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ ดังนี้

               ๑. ประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ ๕ ได้รับรองปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานและความร่วมมือในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค โดยสาระสำคัญของปฏิญญาฯ ประกอบด้วย (๑) ประเด็นความท้าทาย (๒) การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน (๓) การรับนวัตกรรม เทคโนโลยีอุบัติใหม่ และโอกาสทางดิจิทัล (๔) การใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงและการเสริมสร้างห่วงโซ่มูลค่าอาหารและการค้า (๕) ส่งเสริมการพัฒนาชนบทในฐานะพื้นที่ที่สร้างโอกาส และ (๖) การดำเนินการต่อไป

               ๒. รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน) ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน (Fostering Sustainable Food System) ซึ่งรวมถึงการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชทางเลือกหรือพืชที่มีอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย ความมุ่งมั่นของไทยในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) แนวคิดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) เพื่อการยกระดับไปสู่เกษตรกรรม ๔.๐ นโยบายตลาดนำการผลิต และการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นต้น

               ๓. ถ้อยแถลงของสมาชิกเอเปคอื่นที่สำคัญเพื่อส่งเสริมความมั่นคงอาหาร ได้แก่ (๑) จีน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การส่งเสริมห่วงโซ่ความเย็น และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในชนบทเพื่อลดการอพยพย้ายถิ่นฐาน (๒) ญี่ปุ่น ดำเนินนโยบายเพื่อรับมือการเข้าสู่สังคมสูงอายุด้วยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการใช้แรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการใช้เทคโนโลยี (๓) ออสเตรเลีย ดำเนินนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมให้เกษตรกรนำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (๔) สหรัฐอเมริกา ส่งเสริมการตัดแต่งพันธุกรรมทางการเกษตรเพื่อให้สามารถทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ และขอให้เอเปคร่วมมือกันในการส่งเสริมการค้าที่โปร่งใส และเป็นธรรมเพื่อความมั่นคงอาหารของภูมิภาค (๕) เวียดนาม กระตุ้นให้มีการลงทุนของภาคเอกชนในชนบท (๖) มาเลเซีย ดำเนินการแบ่งเขตอุตสาหกรรมเกษตร พัฒนามาตรฐานเพื่อการส่งออก และให้การสนับสนุนทางการเงินกับสหกรณ์การเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตผล และชิลี เห็นว่าภาคการเกษตรของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกควรปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตอย่างยั่งยืน โดยชิลีได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมความร่วมมือและปรับปรุงให้การประสานงานกับภาคเอกชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง