ไทย-นิวซีแลนด์ หารือแนวทางการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค 2564 Food Security Roadmap Towards 2030 และความร่วมมือด้านการเกษตรไทยและนิวซีแลนด์ พร้อมรับไม้ต่อในการเป็นเจ้าภาพในปีถัดไป
15 ต.ค. 2564
701
0
ไทย-นิวซีแลนด์หารือแนวทางการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
ไทย-นิวซีแลนด์ หารือแนวทางการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค 2564 Food Security Roadmap Towards 2030 และความร่วมมือด้านการเกษตรไทยและนิวซีแลนด์ พร้อมรับไม้ต่อในการเป็นเจ้าภาพในปีถัดไป

       ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับนายเดเมียน โอคอนเนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรการค้าและการส่งออก ประเทศนิวซีแลนด์ ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และนางเบญจวรรณ ศิริโพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วม เพื่อหารือเกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2564 Food Security Roadmap Towards 2030 และความร่วมมือด้านการเกษตรไทยและนิวซีแลนด์ โดยการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงทางอาหารเอเปค ในปี 2564 นี้ จะมีการเห็นชอบร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค และแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี .. 2030 โดยมีสาระสำคัญ 6 ประเด็น ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม 2) ผลิตภาพ (Productivity) 3) ความครอบคลุม 4) ความยั่งยืน 5) ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน และ 6) การกำหนดเป้าหมายที่ชาญฉลาดในการดำเนินการตามแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี .. 2030

        นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปคความมั่นคงอาหาร ในปี 2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้งสิ้น 6 การประชุมซึ่งจะมีการจัดทำปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหาร เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันการขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืนในเอเปค และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี .. 2030

        รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสหารือในวันนี้ ประเทศไทยและนิวซีแลนด์มีความร่วมมือด้านการเกษตรที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นกันมาโดยตลอด ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรมาอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยและนิวซีแลนด์มีแนวทางการดำเนินงานในการลดภาวะโลกร้อน ทั้งในส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงการลดการสูญเสียอาหารและขยะจากอาหารจากการผลิตอาหารและการเกษตรทั้งระบบ จึงมีแนวทางที่จะร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อลดความสูญเสีย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคต” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

ตกลง