1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กรมวิชาการเกษตรจัดประชุมหารือผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปจีน
26 มี.ค. 2561
1,970
0
กรมวิชาการเกษตรเชิญหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการส่งออกและผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุทุเรียนเมืองจันทบุรี ชี้แจงการแจ้งเตือนตรวจพบศัตรูพืชในทุเรียน หารือแก้ปัญหาส่งออกแบบบูรณาการ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
กรมวิชาการเกษตรจัดประชุมหารือผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปจีน
กรมวิชาการเกษตรจัดประชุมหารือผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปจีน

     นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมเรื่องการส่งออกทุเรียนไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดโดยกรมวิชาการเกษตร ผู้เข้าร่วมประชุมของกรมวิชาการเกษตรประกอบด้วย สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) จังหวัดจันทบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี กลุ่มบริการส่งออกด่านตรวจพืชแหลมฉบัง ด่านตรวจพืชจันทบุรี ด่านตรวจพืชคลองใหญ่ จังหวัดตราด และเจ้าหน้าที่ตรวจรับรองโรงคัดบรรจุของ สวพ.6 รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี และผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี

     ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องบูรณาร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งประกอบด้วย เกษตรกร โรงคัดบรรจุ และการส่งออก ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องมีหน่วยงานราชการโดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรที่จะต้องเข้าไปดูแลและตรวจสอบเกือบทุกขั้นตอน ที่สำคัญเกษตรกร รวมทั้ง ผู้ประกอบการต้องรักษาจุดแข็ง คงคุณภาพของผลไม้ มีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ เพื่อที่จะให้ห่วงโซ่ของเรื่องนี้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่วางเอาไว้ ที่สำคัญที่สุดส่วนราชการในจังหวัดจันทบุรีทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมช่วยกันดูแลไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย การตลาด แรงงาน ฯลฯ

     ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปจีนคิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 1,500 ล้าน ดังนั้น ในปี 2561 นี้ กรมวิชาการเกษตรต้องการให้รักษาภาพที่ดีในเรื่องของมูลค่าการส่งออกเช่นนี้ไว้ สิ่งที่กรมวิชาการเกษตรจะสามารถทำได้คือ สนับสนุนเกษตรกร ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะส่งออกทุเรียนไปจีนให้เป็นไปด้วยความราบรื่น โดยต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าหากประเทศไทยจะทำการค้ากับต่างประเทศ หากเราดำเนินการตามกฎ ระเบียบ อย่างถูกต้องประเทศไทยก็จะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนกำลังจะออกสู่ตลาดจีนในไม่ช้านี้ ขอความร่วมมือเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ และผู้ประกอบการส่งออกได้เข้มงวดในทุกขั้นตอน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาศัตรูพืชควบคุม สารพิษตกค้าง เชื้อรา ฯลฯ ที่จะติดไปกับผลทุเรียนที่จะส่งออกไปจีน ซึ่งสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรจะส่งเจ้าหน้าที่จากด่านตรวจพืชลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในช่วงเวลานี้ด้วย รวมทั้ง กรมวิชาการเกษตรยังมีด่านตรวจพืชที่จะทำหน้าที่นี้อย่างเข้มงวดก่อนที่จะอนุญาตให้ทุเรียนในแต่ละล๊อตส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วยเช่นเดียวกัน

     นายสุรเดช ปัจฉิมกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี (สวพ.6)  กล่าวว่า ที่ผ่านมา สวพ.6 เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP และรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการผลิตที่ดี หรือ GMP ทั้ง 2 มาตรฐานนี้ ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการจะต้องได้รับหากมีความประสงค์จะส่งผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยที่กรมวิชาการเกษตรมีระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก่อนให้การรับรอง และขอให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะได้รับการรับรองติดต่อไปยัง สวพ. 6 เพื่อขอรับการรับรองต่อไป

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง