1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานวันสถาปนาครบรอบปีที่ 126 (1 เมษายน) เดินทัพขับเคลื่อนภายใต้หลัก 3 ต. “ต่อ เติม แต่ง” ใช้การตลาดนำการผลิต ยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร
1 เม.ย. 2561
1,517
0
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานวันสถาปนาครบรอบปีที่ 126 (1 เมษายน) เดินทัพขับเคลื่อนภายใต้หลัก 3 ต. “ต่อ เติม แต่ง” ใช้การตลาดนำการผลิต ยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานวันสถาปนาครบรอบปีที่ 126 (1 เมษายน)  เดินทัพขับเคลื่อนภายใต้หลัก 3 ต.  “ต่อ เติม แต่ง” ใช้การตลาดนำการผลิต ยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร พร้อมผนึกกำลังในระดับจังหวัด หนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในพื้นที่ให้บูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง  

          วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องในโอกาสครบ 126 ปี ซึ่งในปีนี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. โดยนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศาลพระภูมิ ท้าวเวสสุวัณ ศาลตา - ยาย  องค์พระพิรุณทรงนาค และองค์พระพิรุณทรงนาคในพิพิธภัณฑ์ จากนั้นได้เป็นประธานในพิธีสงฆ์ โดยได้ถวายภัตตาหาร และจตุปัจจัยเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ 

          อนึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออย่างต่อเนื่อง จากกระทรวงเกษตรพนิชการ มาเป็นกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเกษตร จนมาสู่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบัน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ "เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน" โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานอย่างเหมาะสมและยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ส่งเสริมให้มีการจัดสรรทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างพอเพียง มีประสิทธิภาพยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งส่งเสริมให้มีการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสม โดยมีส่วนราชการในสังกัด จำนวน 22 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวง กรมชลประทาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมการข้าว กรมหม่อนไหม และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย องค์การสะพานปลา องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และการยางแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาและวิจัยการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

          นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลมียุทธศาสตร์ด้านการเกษตรกำหนดเป้าหมายของการปฏิรูป คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพ   มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง และหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ตามแผนยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการทำงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรเป็นหลัก บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับเกษตรกรอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันได้ติดตามและเร่งขับเคลื่อนโครงการสำคัญ เพื่อดูแลเกษตรกรให้มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาทิ โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โครงการเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer ธนาคารสินค้าเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice) รวมถึงกำลังจะสร้างระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตร (Big Data on Agricultural) เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเกษตรมีความถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งการดำเนินงานจะขับเคลื่อนภายใต้หลัก 3 ต ประกอบด้วย “ต่อ เติม แต่ง” คือ เปิดกว้าง รับฟัง นำสิ่งที่ดีมาปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และการใช้การตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ สามารถลดต้นทุนและยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ขายได้ราคาดีและมีตลาดรองรับ ทั้งนี้ การดำเนินงาน จะผนึกกำลังในระดับจังหวัด ส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรในพื้นที่ให้สามารถบูรณาการทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริง  นอกจากนี้ ได้ปรับขั้นตอนการปฏิบัติทางราชการให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วยิ่งขึ้น  ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง บนหลักความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

          สำหรับนโยบายที่สำคัญในปี 2561 ได้แก่ (1) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ และพัฒนาศูนย์เครือข่าย มีเป้าหมายรักษามาตรฐานและพัฒนา ศพก. และศูนย์เครือข่ายให้เข้มแข็ง เพิ่มบทบาทของ ศพก.ในการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร (2) แปลงใหญ่ มีเป้าหมาย 1,838 แปลง (3) Agri-Map มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ไปสู่พื้นที่เหมาะสม (S1,S2,S3) 300,000 ไร่ (4) เกษตรอินทรีย์ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน มีเป้าหมาย 211,219 ไร่ (5) ธนาคารสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นเป็น 155 แห่ง (6) เกษตรทฤษฎีใหม่  (7) ระบบส่งน้ำ/กระจายน้ำ พื้นที่ชลประทาน มีเป้าหมาย 31.95 ล้านไร่ และมีปริมาณน้ำเก็บกัก 80,833 ล้าน ลบ.ม เกษตรกรได้รับประโยชน์ 1.60 ครัวเรือน (8) แผนการผลิตข้าวครบวงจร (9) การจัดการที่ทำกินให้เกษตรกร ยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก. สร้างระบบสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรเพื่อส่งมอบให้เกษตรกร (10) จัดตั้งตลาดสินค้าเกษตร 10 แห่ง ภายใน เม.ย.60 เป้าหมาย 77 แห่ง ภายในปี 2561 (11) พัฒนายกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ 7,000 แห่ง ในปี 2560 ความเข้มแข็งของสหกรณ์ระดับ 1 และ 2 ร้อยละ 90 (12)  พัฒนาข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ให้เป็น Smart Officer เป้าหมาย 2,000 คน (13) Smart Farmer กำหนดเป้าหมายเกษตรกรในวัยแรงงาน (อายุ 18-64 ปี) เป็น Smart Farmer 44,306 ราย  และ (14) ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง