1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
แจงราคา 5 เดือนแรก ‘ข้าว’ราคาพุ่ง เล็งราคา ‘ยาง-สับปะรด’ ครึ่งปีหลังทิศทางดีขึ้น
18 มิ.ย. 2561
1,620
0
สศก. แจงสินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา และ สับปะรด ในช่วง 5 เดือนแรก ระบุ ราคาข้าวสดใส ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาพุ่งกว่า ปีก่อนถึงร้อยละ 60 ด้านยางพารา และสับปะรด ราคาปรับตัวลง แต่ครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศยังคงมีความต้องการใช้ยางพารา บวกกับปริมาณสต๊อกยางของจีน (ชิงเต่า) ปรับตัวลง และผลผลิตสับปะรดออกตลาดไปแล้วกว่าร้อยละ 60
แจงราคา5เดือนแรก‘ข้าว’ราคาพุ่งเล็งราคา
แจงราคา 5 เดือนแรก ‘ข้าว’ราคาพุ่ง เล็งราคา ‘ยาง-สับปะรด’ ครึ่งปีหลังทิศทางดีขึ้น

วันที่ 18 มิถุนายน 2561

แจงราคา 5 เดือนแรก ข้าวราคาพุ่ง  เล็งราคา ยาง-สับปะรด ครึ่งปีหลังทิศทางดีขึ้น

สศก. แจงสินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา และ สับปะรด ในช่วง 5 เดือนแรก ระบุ ราคาข้าวสดใส ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาพุ่งกว่า  ปีก่อนถึงร้อยละ 60 ด้านยางพารา และสับปะรด ราคาปรับตัวลง แต่ครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศยังคงมีความต้องการใช้ยางพารา บวกกับปริมาณสต๊อกยางของจีน (ชิงเต่า) ปรับตัวลง และผลผลิตสับปะรดออกตลาดไปแล้วกว่าร้อยละ 60

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงสถานการณ์ราคาสินค้าข้าว ยางพารา และสับปะรด ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม – พฤษภาคม 2561) พบว่า ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ ปี 2561 มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี 2560 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคมพฤษภาคม 2561) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาเฉลี่ยตันละ 14,743 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่เฉลี่ยตันละ 9,207 บาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 60.13 เนื่องจากปริมาณข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดลดลงจากผลกระทบของอุทกภัยในช่วงกลางปี 2560 ในขณะที่ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเฉลี่ยตันละ 7,781 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่เฉลี่ยตันละ 7,514 บาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 3.55 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น แอฟริกา อินโดนีเซีย และมาเลเชีย เป็นต้น 

สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61 รัฐบาลได้ดำเนินการภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร แบ่งเป็น 3 ด้าน จำนวน 13 โครงการ ดังนี้ ประกอบด้วย ด้านการผลิต รวม 8 โครงการ ด้านการตลาด รวม 4 โครงการ และด้านการเงิน 1 โครงการ

ยางพารา ราคาเกษตรกรขายได้ปี 2561 ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่จะมีทิศทางดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดย 5 เดือนแรก (มกราคม พฤษภาคม) ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 กิโลกรัมละ 43.56 บาท ราคาน้ำยางสด กิโลกรัมละ 41.46 บาท และยางก้อนถ้วยคละ กิโลกรัมละ 20.28 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 38.61 ร้อยละ 36.42 และร้อยละ 39.15 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราปรับตัวลดลง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณสต๊อกยางในประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่อย่างจีน การแข็งค่าของเงินบาท รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางที่นำเข้ายางพาราจากไทย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวลดลง  อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มราคายางช่วงครึ่งหลังของ ปี 2561 มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศยังคงมีความต้องการใช้ยางพารา ประกอบการมาตรการ/โครงการภาครัฐที่สนับสนุนทั้งเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปริมาณสต๊อกยางของจีน (ชิงเต่า) ปรับตัวลดลง

แนวทางและมาตรการแก้ไขสินค้ายางพารา ภาครัฐได้ดำเนินการอย่างรอบด้าน ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางประกอบอาชีพเสริมควบคู่กับการทำสวนยาง 2) ควบคุมและลดพื้นที่ปลูกยางพาราให้เหมาะสม โดยส่งเสริมให้มีการปลูกแทนยางพาราที่มีอายุมากด้วยยางพันธุ์ดี 3) ส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศให้มากขึ้น 4) สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ 5) มีความร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ผ่านสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) โดยในระยะยาวมีมาตรการควบคุมอุปทานยางพื่อให้การผลิตยางพาราของแต่ละประเทศมีปริมาณที่เหมาะสม และในระยะสั้นกำหนดมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออก (มาตรการ Agreed Export Tonnage Scheme : AETS)  6) สนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราในเชิงพาณิชย์มากขึ้น และ 7) สร้างบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมยางพารา ทั้งในส่วนของบุคลากรทางด้านการผลิตและบุคลากรทางด้านการวิจัยและพัฒนา

สับปะรด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 5 เดือนแรก (มกราคม พฤษภาคม) สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 3.14 บาท ลดลงจาก 6.29 บาท ในช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 50.07 สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 3.14 บาท ลดลงจาก 12.28 บาท ในช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 35.26 เนื่องจาก ผลผลิตออกกระจุกตัวในช่วง พ.ค. มิ.ย. และตลาดส่งออกชะลอการสั่งซื้อ ทำให้โรงงานแปรรูปต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งผลให้มีสับปะรดส่วนเกินความต้องการของโรงงานแปรรูป

ส่วนราคาสับปะรดหน้าโรงงาน (ม.ค. พ.ค. 61) ภาคตะวันตก (ประจวบคีรีขันธ์) กิโลกรัมละ 3.63 - 3.85 บาท ภาคตะวันออก (ระยอง ชลบุรี) กิโลกรัมละ 3.49 – 3.66 บาท ทั้งนี้ ครึ่งปีหลัง 2561 สถานการณ์ราคาจะกระเตื้องขึ้นเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดไปแล้วกว่าร้อยละ 60

ด้านมาตรการดำเนินการช่วยเหลือ มติคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 10 เมษายน 2561 ได้เห็นชอบ 1) มาตรการนำสับปะรดส่วนเกินออกนอกระบบ โดยกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต (โดย พาณิชย์จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)  2) มาตรการผลักดันการส่งออกและขยายตลาดต่างประเทศ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทำ (MOU) รูปแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ในรัสเซีย อิหร่าน และเชื่อมโยงการค้า ขยายตลาดใหม่ USA EU และอาเซียน และ 3) มาตรการรณรงค์การบริโภคสับปะรดผลสดเพิ่มขึ้น (กรมการค้าภายในส่งเสริมการบริโภคสับปะรดสดในประเทศ)

นอกจากนี้ มีมาตรการสนับสนุนมติคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ของกระทรวงเกษตรฯ  โดย อ.ต.ก. จัดงานส่งเสริมการบริโภคสับปะรด ช่วงพฤษภาคม – มิถุนายน (วันที่ 1-10 พฤษภาคม จำหน่ายได้ 9.6 ตัน) สนับสนุนการการกระจายผลผลิตผ่านเครือข่ายสหกรณ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิ.ย.61  ลำปาง 163 ตัน ระยอง 109 ตัน)  โดยแต่ละจังหวัดได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานส่งเสริมการบริโภคสับปะรดผลสดในจังหวัด  รณรงค์การบริโภคสับปะรด ทั่วประเทศ  และขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ เช่น สถานประกอบการท่องเที่ยว โรงแรม สถานศึกษา สถานพยาบาล เรือนจำ นำผลผลิตสับปะรดมาใช้ในการประกอบการทำอาหาร  อีกทั้งกรมปศุสัตว์ ยังได้พิจารณานำสับปะรดไปผลิตเป็นอาหารสัตว์เพิ่มเติม ทำอาหารหมักเลี้ยงโคเนื้อและโคนม การทำ Feed Center ที่ใช้สับปะรดผลสดเป็นวัตถุดิบด้วย

***********************************

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์

 ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร

 

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง