1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
เล็งขยายตลาดสินค้าเกษตร รัฐ-เอกชน จับมือ หารือจัดทำ FTA สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย
5 ก.ย. 2561
319
0
สศก. ร่วมเวทีคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐ-เอกชน หรือ FTA Pro-Active รุกแนวทางการค้าเสรีเชิงยุทธศาสตร์ หวังขยายการค้าและการลงทุนของไทย เผย ปัจจุบันไทย มีความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 13 ฉบับ 18 ประเทศ เตรียมขยายผลเจรจาในกลุ่มประเทศที่มีมูลค่าการค้าสูง เช่น สหภาพยุโรป หวังขยายตลาดสินค้าเกษตร สร้างโอกาสการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ
เล็งขยายตลาดสินค้าเกษตร
เล็งขยายตลาดสินค้าเกษตร รัฐ-เอกชน จับมือ หารือจัดทำ FTA สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย

วันที่ 5 กันยายน 2561

เล็งขยายตลาดสินค้าเกษตร รัฐ-เอกชน จับมือ หารือจัดทำ FTA สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย  

สศก. ร่วมเวทีคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐ-เอกชน หรือ FTA Pro-Active รุกแนวทางการค้าเสรีเชิงยุทธศาสตร์  หวังขยายการค้าและการลงทุนของไทย เผย ปัจจุบันไทย มีความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 13 ฉบับ 18 ประเทศ เตรียมขยายผลเจรจาในกลุ่มประเทศที่มีมูลค่าการค้าสูง เช่น สหภาพยุโรป หวังขยายตลาดสินค้าเกษตร สร้างโอกาสการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ

นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินงานคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐ-เอกชน (FTA Pro-Active) ซึ่งเป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อร่วมกันปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ที่ไทยได้จัดทำแล้ว  การเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาจัดทำ FTA ของไทยในอนาคต  หารือแนวทางการค้าเสรีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขยายการค้าและการลงทุนของไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ  ตลอดจนหารือถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการค้าเสรีที่ผ่านมา ภายใต้ความตกลงต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข เช่น เรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้า การปรับโอนพิกัดศุลกากร เพื่อให้ไทยได้รับผลประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีเพิ่มมากขึ้น         เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ณ กระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทย มีความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 13 ฉบับ 18 ประเทศ ประกอบด้วยไทยกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-อินเดีย ไทย-ชิลี ไทย-เปรู และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ อาเซียน อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลีใต้ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และอาเซียน-ฮ่องกง โดยปี 2560 ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรกับประเทศต่างๆ ดังนี้ อาเซียน 439,129 ล้านบาท จีน 290,943 ล้านบาท ญี่ปุ่น 172,711 ล้านบาท ออสเตรเลีย 46,040 ล้านบาท เกาหลีใต้ 41,723 ล้านบาท อินเดีย 32,979 ล้านบาท นิวซีแลนด์ 20,438 ล้านบาท ชิลี 8,143 ล้านบาท และเปรู 4,425 ล้านบาท

สำหรับความตกลงที่อยู่ระหว่างเจรจา ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งปี 2560 ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร 1,043,062 ล้านบาท ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) มูลค่า 100,313 ล้านบาท ไทย-ตุรกี มูลค่า 6,520 ล้านบาท ไทย-ปากีสถาน มูลค่า 6,001 ล้านบาท และไทย-ศรีลังกา มูลค่า 5,192 ล้านบาท ซึ่งหากไทยสามารถบรรลุข้อตกลงดังกล่าวได้จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยและประเทศคู่เจรจาได้มากขึ้น 

นอกจากนี้ ไทยยังมีแผนเจรจาในอนาคตกับกลุ่มประเทศที่ไทยมีมูลค่าการค้าค่อนข้างสูง ได้แก่ สหภาพยุโรป (EU) ซึ่งปี 2560 ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร 160,865 ล้านบาท สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) มูลค่า 11,526 ล้านบาท บังกลาเทศ มูลค่า 9,823 ล้านบาท และ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) มูลค่า 7,589 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ไทยจะสามารถขยายตลาดใหม่ เพื่อสร้างโอกาสในการค้าของไทย และจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของไทยในภาพรวมยิ่งขึ้น

***********************************

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง