1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
เกษตรฯ ร่วมขับเคลื่อนกาฬสินธุ์โมเดล กระตุ้นรายได้ภาคครัวเรือนพ้นความยากจน พร้อมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่นำร่องระบบน้ำหยดและหลุมพอเพียงสร้างรายได้ยั่งยืนสู้แล้งภาคอีสาน
8 ม.ค. 2561
790
0
เกษตรฯร่วมขับเคลื่อนกาฬสินธุ์โมเดล
เกษตรฯ ร่วมขับเคลื่อนกาฬสินธุ์โมเดล กระตุ้นรายได้ภาคครัวเรือนพ้นความยากจน พร้อมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่นำร่องระบบน้ำหยดและหลุมพอเพียงสร้างรายได้ยั่งยืนสู้แล้งภาคอีสาน

เกษตรฯ ร่วมขับเคลื่อนกาฬสินธุ์โมเดล กระตุ้นรายได้ภาคครัวเรือนพ้นความยากจน พร้อมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่นำร่องระบบน้ำหยดและหลุมพอเพียงสร้างรายได้ยั่งยืนสู้แล้งภาคอีสาน

  นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสประชุมร่วมกับพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการขับเคลื่อนกาฬสินธุ์โมเดล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ว่า ได้สั่งการทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกันขับเคลื่อนกาฬสินธุ์โมเดล ซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นจังหวัดนำร่องที่จะนำมาใช้เป็นโมเดลแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน เพื่อยกระดับได้รายประชาชนซี่งมีรายได้เฉลี่ยในปี 2560 เพียง 50,400 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นอีก 7% ในปี 2561 หรือ 54,400 บาท/คน/ปี และปี 2561 เพิ่มอีก 10% เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 56,000 บาท/ปี ตามเป้าหมายรัฐบาล ทั้งการสนับสนุนจากส่วนกลาง และการวิเคราะห์ปัจจัยจากในระดับพื้นที่ โดย 1.มอบหมายรองปลัด กระทรวงเกษตรฯ นายธนิตย์ เอนกวิทย์ ตรวจสอบอัตรากำลังข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ทุกหน่วยงานในจังหวัดกาฬสินธุ์ว่ามีครบถ้วนตามกรอบอัตรากำลังหรือไม่ โดยห้ามข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ไปช่วยราชการที่อื่น โดยเฉพาะเกษตรอำเภอและเกษตรตำบล  เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน 2. มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ และผู้ตรวจราชการกรมในหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างน้อยเดือนละครั้ง และรายงานผลการติดตามมายังกระทรวงเกษตรฯประจำทุกเดือน พร้อมทั้งติดตามผลงานในปี  60 และแผนงานปี 61 ว่าได้มีการดำเนินการตามแผนหรือไม่อย่างไร เช่น  โครงการสนับสนุนแหล่งน้ำของกรมชลประทาน 

  ส่วนที่สอง คือ การวิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อความยากจนของเกษตรกร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1  กลุ่มเกษตรกรที่ถูกเอาเปรียบจากกลุ่มนายทุน เช่น การทำสัญญากับนายทุน หรือการกู้หนี้นอกระบบ 2.ปัจจัยการดำเรงชีวิตของเกษตรกรเองไม่เหมาะสม เช่น  ขาดอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร พื้นที่การเกษตรไม่เหมาะสม ความแห้งแล้ง น้ำ องค์ความรู้ในการต่อยอดอาชีพทางการเกษตร  และ กลุ่มที่ 3 ด้านชีวิตความเป็นอยู่รายบุคคล และครัวเรือน เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม หรือ ปัญหายาเสพติด  ซึ่งเมื่อแยกเป็นสามกลุ่มหลักแล้ว จะสามารถกำหนดแผนงานและการให้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ ขณะเดียวกัน การดำเนินการไม่เพียงมุ่งเน้นเฉพาะแสวงหารายได้เท่านั้น แต่ให้มีการพิจารณาเรื่องการลดรายจ่ายในครัวเรือน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 มาขับเคลื่อนควบคู่กันด้วย รวมทั้งการขยายผลจิตอาสาโครงการพระราชทานในรัชกาลที่  10 ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรที่ยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิม กับเกษตรกรรุ่นใหม่ สมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรกรต้นแบบ เข้ามาเป็นผู้ช่วยให้การสนับสนุนการทำงานของเกษตรจังหวัดเกษตรกรตำบล เพื่อร่วมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และการพัฒนาการเกษตรต่อสู้ความยากจนอีกด้วย

  สำหรับในช่วงบ่ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยังฝายลำห้วยค้อ บ้านนาโก ต.นาโก อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเยี่ยมแปลงเกษตรทฤษฏีใหม่ด้วยระบบน้ำหยดโดยใช้พลังงานแสง     อาหิตย์พื้นที่ได้รับประโยชน์ 40 ไร่ เกษตรกรจำนวน 13 ครัวเรือน ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิปิดทองในการให้การสนับสนุนงบประมาณ และตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรทฤษฏีใหม่ในรูปแบบหลุมพอเพียงบ้านหนองแมวโพง ต.หนองใหญ่ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ซี่งได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน พิจารณาขยายผลระบบการบริหารจัดการน้ำและการส่งเสริมการเกษตรทฤษฏีใหม่ที่ภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมโดยเฉพาะระบบตลาดไปยังพื้นที่ที่มีความเหมาะสมให้แก่เกษตรกรให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วย 

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง