1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
สศก. ร่วมเวที COAG ครั้งที่ 26 ประสานความร่วมมือภาคเกษตร เท่าทันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
16 ต.ค. 2561
493
0
สศก. ร่วมเวที COAG ครั้งที่ 26 ประสานความร่วมมือภาคเกษตร เท่าทันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
สศก.ร่วมเวทีCOAGครั้งที่26ประสานความร่วมมือภาคเกษตร
สศก. ร่วมเวที COAG ครั้งที่ 26 ประสานความร่วมมือภาคเกษตร เท่าทันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

วันที่ 16 ตุลาคม 2561

สศก. ร่วมเวที COAG ครั้งที่ 26 ประสานความร่วมมือภาคเกษตร เท่าทันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 

            กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ได้จัดทำยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง  โดยได้ประสานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตรระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อติดตามความคืบหน้า และเป็นข้อมูลวิเคราะห์ประกอบการกำหนดนโยบายของไทยในการรองรับปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อวันที่ 1-5 ตุลาคมที่ผ่านมา  กระทรวงเกษตรฯ โดย สศก. กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโรม ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการด้านการเกษตร (Committee on Agriculture: COAG) ครั้งที่ 26 ณ สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี โดยมีประเทศสมาชิก FAO เข้าร่วมจำนวน 111 ประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ 9 องค์กร และองค์กรเอกชน 16 องค์กร  เข้าร่วมประชุม

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยในเรื่องดังกล่าวว่า คณะกรรมการด้านการเกษตร มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับนโยบายด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ความปลอดภัยด้านอาหาร การพัฒนาชนบท และการจัดการทรัพยากร ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านการเกษตรครั้งนี้ ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเกษตรและอาหารตามยุทธศาสตร์และแผนงานของ FAO เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่

1) ความคืบหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ FAO 2) แนวทางการจัดการอาหารและการเกษตรอย่างยั่งยืน 3) การดำเนินงานด้านปศุสัตว์ รวมถึงข้อเสนอการจัดตั้งอนุกรรมการด้านปศุสัตว์ 4) ระบบอาหารยั่งยืน 5) การฟื้นฟูพื้นที่ชนบทสำหรับเยาวชน 6) นิเวศเกษตรและ ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  7) กรอบการดำเนินงานระดับโลกด้านการขาดแคลนน้ำในภาคเกษตร 8) ความคืบหน้าด้านความร่วมมือดินโลกรวมถึงแนวทางปฏิบัติระหว่างชาติสำหรับการใช้และการจัดการปุ๋ย 9) แนวทางดำเนินงานภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ของ FAO ปี พ.ศ. 25612564 10) ระบบมรดกทางการเกษตรที่สำคัญของโลก 11) ข้อเสนอให้ปี พ.ศ. 2566 เป็นปีแห่งผักและผลไม้สากล และให้วันที่ 29 กันยายน ของทุกปีเป็นวันแห่งการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการสูญเสียและความเสียหายของอาหารสากล และ 12) การคัดเลือกผู้แทนจากภูมิภาคต่างๆ เพื่อปฏิบัติงานในสำนักงาน (Bureau) ของ COAG ระหว่างปี พ.ศ. 25622563 ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนจากภูมิภาคเอเชีย โดยมีผู้แทนจากอิหร่านเป็นประธาน และมีออสเตรเลีย คิวบา แคนาดา โมร็อคโค และอาร์มีเนีย ร่วมเป็นผู้แทน 

ในการนี้ ผู้แทน สศก. ได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรฯ  ความคืบหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ FAO โดยกล่าวขอบคุณ FAO สำหรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ “Supporting the Integration of Agricultural Sector into National Adaptation Plans) การทำการเกษตรแบบเท่าทันภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture : CSA)  ที่มีความคล้ายคลึงและสอดคล้องกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน ชุมชน และประเทศ และเสนอให้ FAO ดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสอดคล้องกับด้านความมั่นคงทางอาหาร  

รวมทั้งได้กล่าวถึงแนวทางการจัดการอาหารและการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญองไทย ในการบูรณาการและการใช้นวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตอาหารและการเกษตร ตลอดจนความสำคัญของการจัดการทรัพยากรดินและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้ FAO จัดทำข้อมูลเฉพาะระดับประเทศให้มากขึ้น เพื่อนำไปจัดทำตัวชี้วัดสำหรับวัดผลการดำเนินงานในแต่ละประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สศก. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำนโยบายด้านการเกษตร ของประเทศ จะนำข้อมูลจากการประชุมมาพิจารณาเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายหรือแผนการพัฒนาการเกษตรของไทยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนานาประเทศ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมของเกษตรกรและผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ

***********************************

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง