1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
เจาะลึก จีดีพีเกษตร Q3 ขยายตัว 3.7% สศก. คาด ทั้งปีทะยาน 4.0 – 5.0%
2 พ.ย. 2561
722
0
เจาะลึก จีดีพีเกษตร Q3 ขยายตัว 3.7% สศก. คาด ทั้งปีทะยาน 4.0 – 5.0%
เจาะลึกจีดีพีเกษตรQ3ขยายตัว3.7%สศก.คาดทั้งปีทะยาน
เจาะลึก จีดีพีเกษตร Q3 ขยายตัว 3.7% สศก. คาด ทั้งปีทะยาน 4.0 – 5.0%

ข่าวที่ 116/2561 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561

เจาะลึก จีดีพีเกษตร Q3 ขยายตัว 3.7% สศก. คาด ทั้งปีทะยาน 4.0 5.0%

 

นางสาวจริยา  สุทธิไชยา  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยถึงผลการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2561 (กรกฎาคม – กันยายน 2561) ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยเป็นการเติบโตทางด้านผลผลิตเป็นหลัก เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ และการบริหารจัดการของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นในระบบส่งเสริมแปลงใหญ่ และการนำ Agri - Map มาปรับใช้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีรายได้เกษตรกรในไตรมาส 3 ปี 2561เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 140.5 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 138.7 โดยรายได้เกษตรกรในหมวดพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลุ่มพืชอาหารและกลุ่มไม้ผลเป็นหลัก ขณะที่หมวด           ปศุสัตว์และหมวดประมง ลดลงร้อยละ5.0 และ 25.6 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในแต่ละสาขา พบว่า

สาขาพืช ไตรมาส 3 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ ซึ่งข้าวนาปี มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย และไม่ประสบปัญหาอุทกภัยเช่นปีที่ผ่านมา ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ปล่อยว่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้มีการขยายเนื้อที่เพาะปลูก ประกอบกับมีปริมาณน้ำเพียงพอส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ยางพาราผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2555 ทดแทนพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และพื้นที่ตัดโค่นยางที่มีอายุมาก ซึ่งเริ่มทยอยให้ผลผลิตในปีนี้ ประกอบกับเนื้อที่กรีดยางได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ในปี 2558 เริ่มให้ผล ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอทำให้ต้นปาล์มมีความสมบูรณ์ ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสม ประกอบกับราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้เกษตรกรมีการดูแลบำรุงรักษามากขึ้น

ด้านราคา สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม กันยายน 2561 เพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการใช้เพื่อผลิตแป้งมันและเอทานอลมีต่อเนื่อง ลำไย ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการกระจายผลผลิตลำไยออกนอกจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตผ่านตลาดประชารัฐ โมเดิร์นเทรด สถานีบริการน้ำมัน ปตท. และบางจาก รวมถึงไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ ทุเรียนและมังคุด มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

สาขาปศุสัตว์ไตรมาส 3 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยปริมาณการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ไข่ไก่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพแม่โค เช่น การทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนมและระบบท่อ รักษามาตรฐานฟาร์ม รวมถึงการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ส่วนผลผลิตสุกรลดลง เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนปรับลดกำลังการผลิต โดยลดจำนวนแม่พันธุ์ เพื่อควบคุมปริมาณผลผลิตสุกรไม่ให้ล้นตลาด

ด้านราคา ในช่วงเดือนกรกฎาคม กันยายน 2561 ราคาไก่เนื้อโดยเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ราคาสุกรลดลง เนื่องจากผลผลิตยังคงมากกว่าความต้องการบริโภคในประเทศที่ค่อนข้างทรงตัว สำหรับราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการระบายผลผลิตไข่ไก่สดไปยังต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาในประเทศ ส่วนราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นตามผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น

สาขาประมงไตรมาส 3 ปี 2561 หดตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยผลผลิตประมงทะเลมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปริมาณการผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่น้อยลง สาเหตุจากปีนี้ราคากุ้งปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจึงลดปริมาณการลงลูกกุ้ง ส่วนผลผลิตประมงน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาดุก เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำพอเพียงสำหรับการเลี้ยงด้านราคา ในช่วงเดือนกรกฎาคม กันยายน 2561 ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม)ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 สอดคล้องกับราคาในตลาดโลกที่ลดลงตามภาวะอุปทานส่วนเกิน และปลานิลขนาดกลางรวมทั้งปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 2 4 ตัวต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลงเช่นเดียวกัน โดยเป็นการลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

สาขาบริการทางการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น สำหรับอ้อยโรงงาน เกษตรกรได้เตรียมพื้นที่เพาะปลูกและลงตออ้อยใหม่ทดแทนของเดิม ทำให้มีการจ้างบริการไถพรวนดินเพิ่มขึ้น

สาขาป่าไม้ไตรมาส 3 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เนื่องจากผลผลิตป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพารา ครั่ง และรังนก เพิ่มขึ้น โดยการขยายตัวของไม้ยางพารามีปัจจัยหลักมาจากการตัดโค่นสวนยางพาราเก่าเพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชอื่น ซึ่งไม้ยางพาราส่วนใหญ่ถูกนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเพื่อการส่งออก เนื่องจากเป็นที่นิยมของตลาดผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการวัตถุดิบเชื้อเพลิงจากไม้อัดเม็ด (Wood Pellet) เพิ่มขึ้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าชีวมวล เนื่องจากต้องการลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์และการใช้ถ่านหินด้านผลผลิตครั่ง มีการขยายตัวจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ครั่งมีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น สำหรับผลผลิต    รังนกเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อและหันมาใส่ใจสุขภาพมีความต้องการบริโภคเครื่องดื่มรังนกมากขึ้น

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 4.05.0 เมื่อเทียบกับปี 2560    โดยทุกสาขาการผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับปัจจัยบวก คือ สภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวย ประกอบกับการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงมีการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

อัตราการเติบโตของภาคเกษตร

                                                                                              หน่วย: ร้อยละ

สาขา

ไตรมาส3/2561(ก.ค. – ก.ย. 2561)

ภาคเกษตร

3.7

พืช

6.8

ปศุสัตว์

0.2

ประมง

-3.7

บริการทางการเกษตร

3.9

ป่าไม้

2.0

 

***********************************

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร

 

 

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง