1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
“ประภัตร” เดินหน้าโครงการโคขุนสร้างรายได้
12 ก.ย. 2562
5,243
0
โคขุน สร้างรายได้
“ประภัตร” เดินหน้าโครงการโคขุนสร้างรายได้
“ประภัตร” เดินหน้าโครงการโคขุนสร้างรายได้

“ประภัตร” เดินหน้าโครงการโคขุนสร้างรายได้ ลั่นจะเริ่มดำเนินการทันทีหลังน้ำลด เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตบเท้าเข้าเกษตรฯ ร่วมสนับสนุน

     นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จาก 18 จังหวัด อาทิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีษะเกษ ฯลฯ จำนวน 100 คน จาก 1,500 คนที่รอบริเวณหน้ากระทรวงฯ เข้าพบเพื่อแสดงความขอบคุณที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งดำเนินโครงการโคขุนสร้างรายได้ พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการฯ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกัน ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรพร้อมสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งแก้ไขปัญหาความยากจนโดยเร่งด่วน ดังนั้น จึงได้หารือร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว และกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรและส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้ โดยจะเตรียมเสนอครม. ใน 4 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการส่งเสริมปลูกถั่วเขียว เป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 50,000 ราย ประกันราคา 30 บาท พื้นที่ 500,000 ไร่ 2) ส่งเสริมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ขณะนี้ไม่เพียงพอและเกิดความเสียหาย จึงต้องเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีเพื่อเป็นต้นน้ำให้กับเกษตรกร เป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วม 50,000 ราย เพิ่มเมล็ดพันธุ์ 200,000 ตัน 3) ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรเข้าร่วม 100,000 ราย

     สำหรับโครงการที่ 4 โครงการโคขุนสร้างรายได้ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2563 - 2567) วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างรายได้ สร้างอาชีพทางเลือกใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงโคขุนเพิ่มผลผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการ เป้าหมาย 1,000,000 ตัว / 200,000 ราย (รอบที่ 1 : 500,000 ตัว/ 100,000 ราย รอบที่ 2 : 500,000 ตัว/ 100,000 ราย) น้ำหนักวัว 230-250 กก. โดยใช้เงินกู้ ธ.ก.ส. อัตราดอกเบี้ย 4% เกษตรกรจ่าย 1% รัฐบาลสมทบ 3% เงินกู้รายละ 164,200 บาทต่อราย เป็นค่าโค 120,000 บาท (5 ตัวๆ ละไม่เกิน 24,000 บาท) ค่าอาหารผสมเสร็จ (TMR) 43,200 บาท และสมทบค่าประกันภัยโค 1,000 บาท (สมทบกับรัฐบาลจ่ายให้อีกครึ่งหนึ่ง) อีกทั้งรัฐสนับสนุน ค่าชดเชยดอกเบี้ย 3% ค่าประกันภัย 1,000 เครื่องผสมอาหาร  และเครื่องชั่งน้ำหนัก ในสัดส่วนเกษตรกร 100 รายหรือโค 500 ตัวต่อ 1 ชุด และจำหน่ายตัวละ 42,000 บาท เฉลี่ยน้ำหนัก 420 กก.ๆ ละ 100 บาท กำไรประมาณ 8,000 /ตัว/4 เดือน หรือ 40,252 บาท/5ตัว/4 เดือน อีกทั้ง เกษตรกรจะได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงโคขุนก่อนเลี้ยงโค นอกจากนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะเข้ามาช่วยเหลือขุดน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ 1 จุด/100 ไร่ เพื่อส่งเสริมปลูกหญ้าสำหรับผสมอาหาร รวมถึง องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) จะเข้ามาช่วยทำการตลาดอีกด้วย

     “กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการ     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ให้เห็นชอบ และนำเสนอในที่ประชุม ครม. ต่อไป ซึ่งทั้ง 4 โครงการต้องการมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาความยากจนของพี่น้องเกษตรกร และส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีความมั่นคง คาดว่าหลังน้ำลดจะเริ่มดำเนินการได้ สำหรับการส่งออกโคเนื้อไปจีนนั้น ขณะนี้จีนมีความต้องการเนื้อวัวมากถึง 10 ล้านตัน หรือวัวไม่น้อยกว่า 50 ล้านตัว ทำให้มั่นใจได้ว่ามีตลาดรองรับ อีกทั้งได้มีการตกลงร่วมกันกับจีนที่จะรับซื้อโคเนื้อจากไทย  โดยได้ให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่สำรวจโรงงานจากจีนว่าสามารถส่งออกได้จริงหรือไม่ และพบว่ามีการเริ่มสร้างโรงเชือดที่เป็นมาตรฐาน จากกลุ่มเอกชนจีน ที่ประเทศลาว คาดว่า เดือน ต.ค.-พ.ย. จะแล้วเสร็จและเริ่มส่งออกได้ทันที” นายประภัตร กล่าว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง