1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รมว.เกษตรฯร่วมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาหลังปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นพร้อมเน้นย้ำทุกหน่วยงานดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด
2 ต.ค. 2567
260
0
รมว.เกษตรฯร่วมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาหลังปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นพร้อมเน้นย้ำทุกหน่วยงานดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด
รมว.เกษตรฯร่วมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาหลังปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นพร้อมเน้นย้ำทุกหน่วยงานดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด

     นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ต.ค. 67) สถานการณ์น้ำจากพื้นที่ตอนบนในลุ่มน้ำปิงวังยมและน่านยังคงมีปริมาณฝนตกอยู่ในบางพื้นที่ส่งผลให้มีปริมาณจากทางตอนบนทยอยไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่องทำให้ปัจจุบันที่สถานี C 2 อ.เมืองจ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 2,128 ลบ.ม. ต่อ วินาทีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อเนื่องให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นตามลำดับกระทรวงเกษตรฯโดยกรมชลประทานจึงได้บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาตามศักยภาพของคลองและสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่พร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ให้อยู่ในอัตรา 1,899 ลบ.ม. ต่อ วินาทีเพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุด

          ในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้เฝ้าระวังปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดระดับน้ำ อ.บางไทร
จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ให้เกิน 3,000 ลบ.ม. ต่อ วินาที  นอกจากนี้ยังได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยการพร่องน้ำในคลองสาขาต่างๆพร้อมเร่งสูบระบายน้ำส่วนเกินออกทางฝั่งตะวันออกฝั่งตะวันตกและอ่าวไทยซึ่งมีศักยภาพการสูบระบายน้ำรวมกันได้ประมาณวันละ 164 ล้านลบ.ม. ตลอดจนบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการน้ำในจุดที่เชื่อมต่อกันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด

          ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 1 – 3 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคกลางและภาคตะวันออกในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้และอ่าวไทยลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีลักษณะอากาศแปรปรวนโดยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่งโดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือได้คาดการณ์ว่าในช่วงวันที่  28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2567 จะเกิดสถานการณ์น้ำทะเลหนุนอีกครั้งซึ่งอาจส่งผลให้พื้นที่เสี่ยงบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีนชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำแนวเขื่อนชั่วคราวและบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามสมุทรสาครนครปฐมนนทบุรีกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ  มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจึงยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ในระยะนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป

          ด้าน ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เน้นย้ำกับกรมชลประทานและทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้จัดเตรียมเครื่องจักเครื่องมือพร้อมจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อมเข้าปฏิบัติงานอย่างทันท่วงทีและวางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดนอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯยังได้เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบงบกลางเพื่อเยียวยาความเสียหายของภาคเกษตรที่เกิดจากอุทกภัยต่อไป

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง