1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
รัฐมนตรีเกษตรฯ ห่วงใยพี่น้องประชาชน เฝ้าติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมแจ้งเตือน และเตรียมการเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
25 ก.ย. 2560
202
0
รัฐมนตรีเกษตรฯห่วงใยพี่น้องประชาชน
รัฐมนตรีเกษตรฯ ห่วงใยพี่น้องประชาชน เฝ้าติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมแจ้งเตือน และเตรียมการเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

รัฐมนตรีเกษตรฯ ห่วงใยพี่น้องประชาชน เฝ้าติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมแจ้งเตือน และเตรียมการเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

          พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ณ กรมชลประทาน สามเสน ว่า ได้ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำร่วมกับผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อม VDO Conference ไปยังสำนักงานชลประทานทั้ง 17 แห่ง เนื่องจากยังมีปริมาณฝนในภาคกลาง ภาคอีสานตอนบน และภาคใต้ จึงมีความห่วงใยถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะภาคเกษตร และน้ำที่เอ่อล้นจากอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก

                พลเอก ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า จากการรับฟังข้อมูลในเบื้องต้น ทำให้มีความสบายใจขึ้นมาก เนื่องจากมีการเตรียมการบริหารจัดการเชื่อมโยงการดำเนินงาน อาทิ การพยากรณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) มีความใกล้เคียงกันมาก พบว่าในช่วงสัปดาห์หน้ายังมีปริมาณฝน แต่จะเริ่มกระจายตัว ซึ่งอาจจะมีปริมาณฝนมากทางภาคใต้ โดยอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ยังมีศักยภาพในการกักเก็บน้ำ มีเพียงแค่ 3 เขื่อนที่ค่อนข้างมีปริมาณน้ำสูง ได้แก่ เขื่อนน้ำพุง เขื่อนน้ำอูน และเขื่อนจุฬาภรณ์ แต่ไม่มีผลกระทบจากการระบายทั้ง 3 เขื่อน เนื่องจากมีการบริหารจัดการร่วมกันเป็นอย่างดี

                สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขณะนี้มีปัญหาเพียงแค่การระบายน้ำฝนเท่านั้น ซึ่ง 2 – 3 วันที่ผ่านมามีปริมาณฝนมาก ทำให้มีน้ำขังที่กำลังรอการระบาย แต่ไม่มีผลกระทบจากน้ำทางตอนเหนือ โดยปัจจุบันได้มีการปล่อยน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ประมาณ 1,200 – 1,300 ล้านลูกบาศก์มาตร/วินาที แต่ถ้ามีผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร เขื่อนเจ้าพระยาสามารถระบายน้ำได้ถึง 3,000 ล้านลูกบาศก์มาตร/วินาที จึงทำให้สบายใจได้ว่าน้ำจากตอนเหนือที่มีปริมาณมากจะยังอยู่ในอ่างเก็บน้ำที่สามารถเก็บน้ำเอาไว้ได้

                ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำจากตอนบนถึงตอนกลางมีการบริหารจัดการอย่างเชื่อมโยงต่อเนื่อง สามารถเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ที่เป็นแก้มลิงได้ส่วนหนึ่ง ถ้าฝนไม่มากเกินไปกว่าที่พยากรณ์ ก็จะไม่เกิดผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบยังคงเป็นพื้นที่เดิม อาทิ ใต้เขื่อนเจ้าพระยา นอกเขตคันกั้นน้ำลงมาถึงจังหวัดอยุธยา ซึ่งยังคงมีผลกระทบอยู่จากการระบายน้ำที่ค้างอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะบริหารจัดการน้ำในภาพรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน พร้อมจะเร่งสร้างความเข้าใจและเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง