นายอดิศร เหล่าสะพาน
20 ก.ค. 2560
4,206
1,202
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2559
นายอดิศร เหล่าสะพาน
นายอดิศร เหล่าสะพาน

นายอดิศร เหล่าสะพาน จากอดีตที่เคยยึดอาชีพเป็นลูกจ้างและทำงานค้าขายด้วยความเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย จนได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำไม่ใช่เป้าหมายชีวิตที่ต้องการจึงได้หันเหตนเองมาเป็นผู้ใหญ่บ้านและก้าวสู่การเป็นกำนันตำบลขามเรียง รายได้จากตำแหน่งกำนันที่ไม่มากนักทำให้นายอดิศร ต้องปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ ทำการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค ใช้ชีวิตโดยเรียบง่ายซึ่งสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนพบกับความสุขที่เป็นเป้าหมายของชีวิตและเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน สังคม และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะต้องมีความรอบรู้เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้บรรลุเป้าหมาย นายอดิศรจึงเป็นผู้ที่มีความขยัน หมั่นเพียร ศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะในเรื่องการทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด มีการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นผู้มีจิตอาสามีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาชุมชนโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งทำให้นายอดิศร ได้รับรางวัลกำนันยอดเยี่ยม หรือ รางวัลแหนบทองคำ เมื่อปี พ.ศ. 2553 จากกระทรวงมหาดไทย

อายุ              54 ปี

การศึกษา       ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต เอกเกษตรกรรม

สถานภาพ      สมรส มีบุตร 2 คน (หญิง 2 คน)

ที่อยู่              บ้านเลขที่ 25 หมู่ที่ 13 บ้านดอนมัน ตำบลขามเรียง

                     อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

โทรศัพท์         087-859-3081

อาชีพ            กำนันตำบลขามเรียง

คุณลักษณะส่วนบุคคล

จากอดีตที่เคยยึดอาชีพเป็นลูกจ้างและทำงานค้าขายด้วยความเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย จนได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำไม่ใช่เป้าหมายชีวิตที่ต้องการจึงได้หันเหตนเองมาเป็นผู้ใหญ่บ้านและก้าวสู่การเป็นกำนันตำบลขามเรียง รายได้จากตำแหน่งกำนันที่ไม่มากนักทำให้นายอดิศร ต้องปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ ทำการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค ใช้ชีวิตโดยเรียบง่ายซึ่งสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนพบกับความสุขที่เป็นเป้าหมายของชีวิตและเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน สังคม และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะต้องมีความรอบรู้เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้บรรลุเป้าหมาย นายอดิศรจึงเป็นผู้ที่มีความขยัน หมั่นเพียร ศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะในเรื่องการทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด มีการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นผู้มีจิตอาสามีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาชุมชนโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งทำให้นายอดิศร ได้รับรางวัลกำนันยอดเยี่ยม หรือ รางวัลแหนบทองคำ เมื่อปี พ.ศ. 2553 จากกระทรวงมหาดไทย

ด้วยบทบาทการเป็นผู้นำในชุมชนอย่างเป็นทางการ ช่วยเสริมให้นายอดิศร สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยเป็นผู้คิดค้นสร้างสรรค์กิจกรรมด้านการเกษตรที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย จึงต้องคิดหาวิธีการที่เกษตรกรสามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติตามได้ ลงทุนต่ำ ใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายในการปฏิบัติ ทำให้สามารถขยายผลให้กับสมาชิกชุมชนและเครือข่ายได้กว้างขวาง สมาชิกในชุมชนและกลุ่มเครือข่ายมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น       

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายอดิศร เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านการเกษตรที่ช่วยแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตให้กับเกษตรกร เช่น การคิดค้นองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี สร้างเครือข่ายในการขยายผลงานการพัฒนาการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้นำในการจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนอย่างหลากหลาย เช่น จัดตั้งธนาคารต้นไม้  โครงการออมทรัพย์วันละบาท ตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชน เช่น กลุ่มเพาะเห็ด เลี้ยงปลา ปุ๋ยชีวภาพ เลี้ยงไก่ เป็นต้น ซึ่งทำให้สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านสังคม โดยจัดตั้งศูนย์บ้านกึ่งวิถีคุมประพฤติจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดในเขตพื้นที่ภาค 4 ของ ปปส. ทำการบำบัดผู้ติดยาเสพติดโดยใช้กิจกรรมการเกษตร จนทำให้ชุมชนได้รับรางวัลจากการประกวดของส่วนราชการและภาคเอกชนมากมาย

การขยายผลงาน

นายอดิศร ได้สร้างตัวอย่างความสำเร็จของการนำความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้พื้นที่ของตนเองเป็นแหล่งปฏิบัติ และแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจโดยทั่วไป และยังขยายผลเครือข่ายการเรียนรู้ โดยเกษตรกรที่มีความตั้งใจจริงซึ่งได้เข้ามาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ จนสามารถใช้พื้นที่การทำการเกษตรของตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ มีการขยายผลงานผ่านกลุ่มเครือข่ายที่จัดตั้งในระดับชุมชน เครือข่ายการพัฒนาร่วมกับโรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง มีเครือข่ายอาสาสมัครในการทำงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับภาคราชการและองค์กรเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เครือข่ายการพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษา อีกทั้ง ยังมีการขยายผลงานผ่านสื่อต่าง ๆ ด้วย

ตกลง