ปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย
Philosopher of Sufficiency Economy
  • RESET
แสดงข้อมูล 12/12 รายการ
  • นายอัษฎางค์ สีหาราช
  • นายอัษฎางค์ สีหาราช
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2567
    สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่ายนายอัษฎางค์ สีหาราชอายุ 60 ปีการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยครูมหาสารคามสถานภาพ สมรสที่อยู่ บ้านเลขที่ 60/2 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย
  • นายปรีชา ศิริ
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2563
    นายปรีชา ศิริ เกิดในครอบครัวชนเผ่าปกาเกอะญอ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตรและดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 40 ปี ด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง ไม่ก่อภาระหนี้สิน ไม่ยึดติดกับวัตถุนิยม อยู่กินแบบวิถีดั้งเดิม เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการปลูกฝังลูกหลานให้มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์จารีตประเพณีแบบดั้งเดิมหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองและชุมชน โดยทำงานและหน้าที่ของตนเองอย่างสุดความสามารถ หนักเอาเบาสู้ ไม่เกี่ยงงานหนัก มีน้ำใจ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นทุกอย่างเท่าที่ตนเองทำได้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดำเนินชีวิตบนทางสายกลางตามหลักพุทธศาสนา จนสามารถเป็นตัวอย่าง และสามารถถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน รวมถึงมีการรวมกลุ่มให้สมาชิกในชุมชนร่วมกันคิดร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน โดยทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และฝ่ายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนของตนเอง กิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การปลูกชาอัสสัม (ชาเมี่ยง) การปลูกกาแฟ การปลูกพลับ การปลูกไม้ผล การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกสมุนไพร การเลี้ยงไก่ (ไก่ดำ) การเลี้ยงหมู (หมูเหมยซาน) การเลี้ยงปลา(ปลาดุก และปลานิล) การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • นายปรีชา ศิริ
  • นายแรม เชียงกา
  • นายแรม เชียงกา
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2562
    นายแรม เชียงกา มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 26 ปี โดยทำการเกษตรในรูปแบบ เกษตรทฤษฎีใหม่ บนพื้นที่ 10 ไร่ มีการแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ประกอบด้วย แปลงข้าว แปลงไม้ผล/แปลงผัก บ่อน้ำ (ปลา/หอย) เลี้ยงสัตว์ (วัว/ไก่) และที่พักอาศัย ในอดีตเกษตรกรภายในตำบลหนองสาหร่าย ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินจำนวนมากในชุมชน จนกระทั่งในปี ๒๕๔๕ ได้ไปศึกษาดูงานที่ชุมชนไม้เรียงและชุมชนคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้นำองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน มาปรับใช้ในชุมชนของตนเอง มีการจัดทำแผนแม่บทชุมชน พัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างในการทำงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี การลดภาวะหนี้สิน การมีวินัยในการออม การรับฟังปัญหา และการสร้างความสามัคคี ในชุมชน ร่วมวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน หาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันมีความขยันหมั่นเพียรและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นผู้ใฝ่รู้ อยู่เสมอ ทั้งการคิดค้น ทดลอง วิจัยเพื่อหาแนวทางหรือโครงการในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสังคมการเกษตร ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน คิดค้นหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของเครือข่ายภายนอกชุมชนจากทั่วประเทศ
  • นายกฤตกร แซ่เอี๊ยบ
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2561
    นายกฤตกร แซ่เอี๊ยบพื้นฐานครอบครัวประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน โดยหลังจากเกณฑ์ทหารได้กลับมาสมัครเป็นลูกเรือของเรือประมงขนาดใหญ่ และไต่เต้าขึ้นเป็นนายท้ายเรือ ไต๋ก๋งเรือ จนในที่สุดสามารถซื้อเรือประมงเป็นของตนเองได้ ต่อมาทำนากุ้งกุลาดำควบคู่กันไป แต่ประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากมีต้นทุนในการเช่าที่ และประสบกับปัญหาโรคระบาดในกุ้ง เพราะทำไปตามกระแสนิยม ไม่ได้ศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง จึงทำให้มีหนี้สินจำนวนมาก จนในที่สุดจำเป็นต้องขายเรือประมงและกลับมาทำประมงแบบพื้นบ้าน เริ่มจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวันมีความพอเพียง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
  • นายกฤตกร แซ่เอี๊ยบ
  • นายอุทัย บุญดำ
  • นายอุทัย บุญดำ
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2560
    นายอุทัย บุญดำเกษตรกรผู้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรด้วยการทำสวนยางพาราโดยไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ร่วมกับการปลูกไม้ผล พืชผักแบบผสมผสานและยังเป็นผู้นำสมาชิกในชุมชนตำบลลำสินธุ์ที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาสาธารณะ มีความเอื้อเฟื้อ เสียสละใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาถ่ายทอดให้กับชุมชน อุทิศตนเพื่อช่วยเหลืองานพัฒนาสังคม ดำเนินกิจกรรมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมและความยั่งยืนเป็นหลัก ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองในชุมชน และยังเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงระบบคิดแก่ชุมชนได้ โดยใช้การร่วมคิดร่วมทำ สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนเข้าใจปัญหาสามารถนำพาให้สมาชิกในชุมชนแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองจนประสบความสำเร็จจนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับทั้งในและนอกชุมชน
  • นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2564
    นายสิทธิพงษ์อรุณรักษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 33 ปี และเป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 17 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 16 ปี ในอดีตนายสิทธิพงษ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในพื้นที่ ทำการเกษตรตามวิถีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติมา ต่อมาได้ประสบปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพ และมีปริมาณที่มากเกินความต้องการของตลาด ส่งผลให้ถูกกดราคาจากพ่อค้า จึงศึกษาหาวิธีเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าให้ผลผลิตมีราคาที่สูงขึ้น จนกระทั่งในปี 2545จึงได้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการชักชวนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในตำบลท่ามะพลาให้มารวมกลุ่มกันผลิตมังคุดที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด โดยยึดหลักปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรมาประยุกต์ใช้ต่อยอดในการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆมาปรับใช้ในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบมีคุณภาพ รวมถึงบริหารจัดการกลุ่มอย่างซื่อสัตย์รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม โดยไม่คิดแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง สำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การปลูกมังคุด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน และกล้วยเล็บมือนางทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี รวมถึงปลูกพืชอาหารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น พริก ตะไคร้ มะนาว มะละกอพริกไทย ส้มจี๊ด เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดได้ประโยชน์สูงสุด
  • นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์
  • นายอดิศร เหล่าสะพาน
  • นายอดิศร เหล่าสะพาน
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2559
    นายอดิศร เหล่าสะพาน จากอดีตที่เคยยึดอาชีพเป็นลูกจ้างและทำงานค้าขายด้วยความเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย จนได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำไม่ใช่เป้าหมายชีวิตที่ต้องการจึงได้หันเหตนเองมาเป็นผู้ใหญ่บ้านและก้าวสู่การเป็นกำนันตำบลขามเรียง รายได้จากตำแหน่งกำนันที่ไม่มากนักทำให้นายอดิศร ต้องปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ ทำการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค ใช้ชีวิตโดยเรียบง่ายซึ่งสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนพบกับความสุขที่เป็นเป้าหมายของชีวิตและเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน สังคม และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะต้องมีความรอบรู้เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้บรรลุเป้าหมาย นายอดิศรจึงเป็นผู้ที่มีความขยัน หมั่นเพียร ศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะในเรื่องการทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด มีการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นผู้มีจิตอาสามีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาชุมชนโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งทำให้นายอดิศร ได้รับรางวัลกำนันยอดเยี่ยม หรือ รางวัลแหนบทองคำ เมื่อปี พ.ศ. 2553 จากกระทรวงมหาดไทย
  • นายสืบศักดิ์ จินดาพล
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2558
    นายสืบศักดิ์ จินดาพล ได้เริ่มดำเนินงานด้านการเกษตรตั้งแต่เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยรับกิจการต่อจากบิดา ซึ่งดำเนินกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนป่า สวนผลไม้ผสมผสาน เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูบ้าน-หมูป่า การเลี้ยงวัว-เลี้ยงควาย โดยนำความรู้ที่ได้ศึกษากลับมาพัฒนาในพื้นที่การเกษตรของตนเอง เริ่มจากการสร้างงานให้แก่คนในท้องถิ่น ในรูปแบบของการรณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันสร้างผลผลิตทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน และรักษาคุณภาพควบคู่ไปกับการผลิต เพื่อเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
  • นายสืบศักดิ์ จินดาพล
  • นายสมพงษ์  พรผล
  • นายสมพงษ์ พรผล
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2557
    นายสมพงษ์ พรผล ได้เริ่มต้นทำการเกษตรตั้งแต่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยได้เรียนรู้วิธีการทำการเกษตรจากการติดตามบิดา มารดา ไปช่วยทำสวน ทำนา คุณลักษณะของนายสมพงษ์ เป็นผู้มีความคิดอย่างมีระบบ มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำการเกษตรโดยยึดหลัก “กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน” ทำให้สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน เมื่อผลผลิตเหลือจะนำไปแบ่งปันและจำหน่ายในชุมชน มีการคิดหาวิธีลดต้นทุนในการผลิตทางการเกษตร โดยนำวัตถุดิบทางการเกษตรที่เหลือมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ สำหรับไว้ใช้ในแปลงเกษตรกรรมของตนเอง และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของครอบครัว โดยร่วมกันวางแผนการออมและใช้จ่ายเงิน เริ่มมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน และวางแผนการลงทุนในแต่ละปี เพื่อที่ครอบครัวจะได้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุขและพอเพียง
  • นายอัมพร ด้วงปาน
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2555
    นายอัมพร ด้วยปานนายอัมพร ด้วงปาน เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน โดยเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อน รู้ศักยภาพ รู้กำลังของตนเอง ว่าสามารถทำได้เท่าไหร่ ไม่ฟุ้งเฟื้อตามคนอื่น ดำรงชีวิตแบบพอมีพอกิน เป็นผู้ที่คิดวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจและนำหลักการคิดวิเคราะห์มาปรับใช้ในการทำงานเป็นผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ ศึกษา ข้อมูลข่าวสาร และสิ่งที่เป็นประโยชน์จากสื่อทุกรูปแบบ เช่น หนังสือ โทรทัศน์ วิทยุ และจากการบรรยาย การเข้าอบรมการประชุม และเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีธรรมะในจิตใจ โดยใช้หลักธรรมเป็นเครื่องนำทางในการดำรงชีวิต และมีความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี จึงได้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค โดยมีให้ครบทุกอย่าง อย่างเพียงพอแต่ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ยึดติดยึดมั่น ในปี 2523 ได้สอบบรรจุเป็นการภารโรงที่โรงเรียนวัดช่องเขา และอุทิศตนทำงานด้วยความเสียสละ มีความรับผิดชอบในการทำงานสูงเนื่องจากเป็นคนที่มีพื้นฐานทางการเกษตรและเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้า จึงทำให้สนใจในเรื่องการเกษตรและชุมชนเป็นพิเศษ ประกอบกับเป็นผู้รอบรู้ในธรรมะจึงได้นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ริเริ่มให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานในหมู่บ้าน และตัวครูเองก็ทำงานเป็นอาสาสมัครหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการกำจัดไข้มาลาเรีย การร่วมงานสาธารณสุขมูลฐานและการสนับสนุนงานอื่นๆ ของชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนเป็นอันมาก และเป็นผู้ปฏิบัติตนตามระบบประชาธิปไตยอันมือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งทุกครั้ง ทำความเข้าใจในระบบประชาธิปไตย และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นฟังได้ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ลุงอัมพรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นนั้น ลุงอัมพรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่น
  • นายอัมพร ด้วงปาน
  • นายลัภย์ หนูประดิษฐ์
  • นายลัภย์ หนูประดิษฐ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2554
    นายลัภย์ หนูประดิษฐ์เกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2479 ที่จังหวัดสงขลา ชีวิตในวัยเด็กยากจน ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่ได้เรียนต่อ นายลัภย์ฯ เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในภาคการเกษตร 60 ปี ทำการเกษตรแบบผสมผสาน เริ่มต้นชีวิตด้วยการทำนา ทำสวนยางพารา เลี้ยงผึ้ง ปลูกบัว ใช้ชีวิตแบบพอมีพอกิน ดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีความเสียสละชอบช่วยเหลือสังคม เป็นผู้นำในการพัฒนาด้านอาชีพและสังคม ยึดหลัก 5 ร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ อุทิศตนช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน รณรงค์ให้เกิดการร่วมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกัน และกันในรูปสหกรณ์ อาทิ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มกองทุนยาง กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยาง เป็นต้น สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มสหกรณ์ มีเงินทุนของตนเองจากกลุ่มออมทรัพย์ ขยายไปยังสหกรณ์การเกษตร จนเติบโตเป็นชุมนุมสหกรณ์การเกษตรระดับจังหวัด
  • นายประยงค์ รณรงค์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2552
    นายประยงค์ รณรงค์ประกอบอาชีพหลักคือ ทำการเกษตร และเป็นเช่นเกษตรกรทั่วไปของประเทศที่มีฐานะยากจน หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้องออกมาช่วยพ่อแม่รับจ้างทำงานทุกอย่าง เช่น รับจ้างตัดไม้ และจากชีวิตที่ลำบากทำให้ได้เรียนรู้ และได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คน ระบบ การประกอบอาชีพ และด้วยเป็นคนที่นิสัยใฝ่เรียนรู้จึงทำให้เกิดความคิดริเริ่มพัฒนาตนเองเป็นปัญญาชนท้องถิ่นที่มีส่วนสำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหากับชาวบ้าน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องยางพารา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาชาวสวนยางพารายังมีปัญหาความยากจนเหมือนกัยเกษตรกรในภาคการผลิต อื่นๆ ซึ่งแตกต่างจากพ่อค้าที่รับซื้อผลผลิตไม่กี่ปี่ก็ร่ำรวย เพราะเกษตรกรทำเพียงขั้นตอนการผลิตที่มีความเสี่ยงผลผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ราคาขึ้นอยู่กับตลาดโลกความมั่นคงขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐ ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถกำหนดอะไรได้
  • นายประยงค์ รณรงค์
ตกลง