นายแรม เชียงกา
10 พ.ค. 2562
6,703
821
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2562
นายแรม เชียงกา
นายแรม เชียงกา

นายแรม เชียงกา มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 26 ปี โดยทำการเกษตรในรูปแบบ     เกษตรทฤษฎีใหม่ บนพื้นที่ 10 ไร่ มีการแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ประกอบด้วย แปลงข้าว แปลงไม้ผล/แปลงผัก บ่อน้ำ (ปลา/หอย) เลี้ยงสัตว์ (วัว/ไก่) และที่พักอาศัย ในอดีตเกษตรกรภายในตำบลหนองสาหร่าย ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินจำนวนมากในชุมชน จนกระทั่งในปี ๒๕๔๕ ได้ไปศึกษาดูงานที่ชุมชนไม้เรียงและชุมชนคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้นำองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน     มาปรับใช้ในชุมชนของตนเอง มีการจัดทำแผนแม่บทชุมชน พัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างในการทำงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี การลดภาวะหนี้สิน การมีวินัยในการออม การรับฟังปัญหา และการสร้างความสามัคคี     ในชุมชน ร่วมวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน หาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันมีความขยันหมั่นเพียรและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นผู้ใฝ่รู้ อยู่เสมอ ทั้งการคิดค้น ทดลอง วิจัยเพื่อหาแนวทางหรือโครงการในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสังคมการเกษตร ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน คิดค้นหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของเครือข่ายภายนอกชุมชนจากทั่วประเทศ

อายุ                        52 ปี

การศึกษา               ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารจัดการภาครัฐ มหาวิทยาลัยสยาม

สถานภาพ              มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน บุตร 1 คน ธิดา 1 คน

ที่อยู่                       บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน

      จังหวัดกาญจนบุรี 71140

โทรศัพท์                089-830-7688

อาชีพ                      เกษตรกร

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายแรม เชียงกา มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 26 ปี โดยทำการเกษตรในรูปแบบ     เกษตรทฤษฎีใหม่ บนพื้นที่ 10 ไร่ มีการแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ประกอบด้วย แปลงข้าว แปลงไม้ผล/แปลงผัก บ่อน้ำ (ปลา/หอย) เลี้ยงสัตว์ (วัว/ไก่) และที่พักอาศัย ในอดีตเกษตรกรภายในตำบลหนองสาหร่าย ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินจำนวนมากในชุมชน จนกระทั่งในปี ๒๕๔๕ ได้ไปศึกษาดูงานที่ชุมชนไม้เรียงและชุมชนคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้นำองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน     มาปรับใช้ในชุมชนของตนเอง มีการจัดทำแผนแม่บทชุมชน พัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างในการทำงานที่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี การลดภาวะหนี้สิน การมีวินัยในการออม การรับฟังปัญหา และการสร้างความสามัคคี     ในชุมชน ร่วมวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน หาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน              มีความขยันหมั่นเพียรและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นผู้ใฝ่รู้ อยู่เสมอ ทั้งการคิดค้น ทดลอง วิจัยเพื่อหาแนวทางหรือโครงการในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสังคมการเกษตร ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน คิดค้นหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของเครือข่ายภายนอกชุมชนจากทั่วประเทศ

 

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายแรม เป็นแกนนำที่มีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาภาคการเกษตรทั้งในระดับชุมชนและสังคมการเกษตรในภูมิภาคอื่น ๆ โดยปัจจุบันผลงานการพัฒนาได้เป็นต้นแบบให้แก่ชุมชน กลุ่มเครือข่ายทั่วประเทศ เช่น โครงการธนาคารความดี การทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด การจัดการกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน การทำนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ตลาดข้าว และการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนฯ เป็นผู้นำที่สร้างอาชีพและรายได้  ให้คนในชุมชน ภายใต้กิจกรรมโครงการต่าง ๆ จำนวน 14 กิจกรรม เช่น การออมในสถาบันชุมชน วิสาหกิจชุมชน โรงสีข้าวชุมชน ตลาดกลางข้าว สามารถสร้างอำนาจต่อรองในการจำหน่ายผลผลิต (ข้าวเปลือก) ได้ ตลอดจนเป็นวิทยากรบรรยายความรู้ในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีทำให้สุขภาพของเกษตรกรดี อีกทั้งการส่งเสริมการออมทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการหนี้สินได้ดีขึ้นมีสวัสดิการในชุมชนช่วยเหลือคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และวิสาหกิจชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถต่อยอดสร้างเครือข่ายทั้งด้านวิชาการและด้านการผลิตจนถึงด้านการตลาด

 

การขยายผลงาน

การพัฒนาชุมชนหนองสาหร่าย โดยนายแรมทำให้ชุมชนได้เป็นชุมชนต้นแบบในการผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 จนในปัจจุบันมีสภาองค์กรชุมชนที่นำรูปแบบของชุมชน      หนองสาหร่ายไปเป็นต้นแบบจำนวน 7,291 ชุมชน ทั่วประเทศ และมีการจัดตั้งธนาคารความดีในชุมชน      (23 ความดี/67 ตัวชี้วัด) เพื่อให้สมาชิกนำความดีที่สะสม ที่ผ่านการพิจารณาจากประชาคมหมู่บ้านและ     สภาองค์กรชุมชนตามลำดับ มาใช้ประโยชน์ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในคราวที่จำเป็นต้องใช้เงิน โดยปัจจุบัน  มีชุมชน ใน 26 จังหวัด นำรูปแบบธนาคารความดีไปใช้ และมีการขยายผลงานโดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย เพื่อเป็นที่ฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากบุคคลทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น เป็นศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นศูนย์ฝึกอบรมภาคสนามของข้าราชการใหม่ของกรมพัฒนาชุมชน เป็นศูนย์ฝึกอบรมพนักงานใหม่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นศูนย์ฝึกอบรมของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และเป็นศูนย์เรียนรู้  ในการอบรมเยาวชนนานาชาติสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (United Nations Development Program : UNDP) เป็นต้น รวมถึง มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยนิอิกาตะ (ญี่ปุ่น)

ตกลง