การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุม Special SOM - 42nd AMAF
15 ต.ค. 2564
978
0
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุม
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุม Special SOM - 42nd AMAF

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM-AMAF Leader) เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 42 สมัยพิเศษ (Special SOM-42nd AMAF) พร้อมด้วย ดร. วิชาญ อิงศรีสว่าง  รองอธิบดีกรมประมง นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว  นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ  ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร  และผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์

โดยมีสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้

1.  รับทราบการดำเนินการผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในปี 2564 และข้อเสนอผลลัพธ์ในปี 2565 ของสาขาคณะทำงานด้านการเกษตรสาขาต่างๆ โดยข้อเสนอผลลัพธ์ในปี 2565 ประเทศไทยได้ยกร่าง Guideline on sharing, access to and use of IUU fishing-related information เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประสานงานเครือข่าย AN - IUU ใช้ในการปฏิบัติงานการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประมงที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

2.  รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานด้านเกษตร

ในสาขาต่าง ๆ ภายใต้ความร่วมมือด้านเกษตรและป่าไม้ อาทิ คณะทำงานอาเซียนด้านอาหารฮาลาล  คณะทำงานอาเซียนด้านปศุสัตว์  คณะทำงานอาเซียนด้านพืช คณะทำงานอาเซียนด้านประมง คณะทำงานอาเซียนส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรม คณะทำงานอาเซียนด้านการวิจัยและพัฒนาเกษตร เป็นต้น โดยเห็นชอบเอกสารทั้งหมด 25 ฉบับ (endorsement) และรับทราบเอกสาร 4 ฉบับ (notation) 

3.  ในด้านปศุสัตว์ ประเทศไทยนำเสนอว่า ในกรอบแผนยุทธศาสตร์การควบคุมป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ภายใต้โครงการความร่วมมือ SEACFMD (South-East Asia and China Foot and Mouth Disease (SEACFMD) Roadmap 2021 - 2025) - เห็นควรผลักดันเกี่ยวกับการจัดทำโครงการที่เป็นรูปธรรมในการควบคุมป้องกันโรค FMD ในอาเซียนภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยครอบคลุมถึงโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องการควบคุมโรคระบาดสัตว์อื่น ๆ ด้วย เช่น โรค Lumpy Skin Disease (LSD), African Swine Fever (ASF) เป็นต้น เพื่อให้อาเซียนได้ประโยชน์สูงสุด

4.  ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร 

และป่าไม้ กับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมนี อินเดีย จีน ญี่ปุ่น สาธาณรัฐเกาหลี รัสเซีย FAO, IRRI, World Bank และ OECD

5.  ความร่วมมือกับ IRRI ไทยยินดีที่จะมีความร่วมมือภายใต้ One CGIAR ประเทศไทยหวังว่าความร่วมมือนี้จะนำทรัพยากรมาสู่การวิจัยการเกษตรมากขึ้น  อาเซียน และ IRRI อาจพิจารณาร่วมมือให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ ภายใต้กรอบนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Integrated Food Security: AIFS) และแผนกลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (Strategic Plan of Action – Food Security: SPA-FS) ความร่วมมือ 4 ด้านที่ประเทศไทยประสงค์ขอรับการสนับสนุนจาก IRRI เพิ่มเติมในอนาคต ได้แก่

    (1)  การพัฒนาศักยภาพของศูนย์ฝึกอบรมจังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมระดับภูมิภาค

    (2)  การสร้างเครือข่ายธนาคารเมล็ดพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 

    (3)  การพัฒนา Rice Storage Network เพื่อเสริมกลไกสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็น “virtual stockpile” 

    (4)  การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและปรับปรุงบำรุงดิน

6.  ประเทศไทยมีความร่วมมืออันดีกับ IRRI ในโครงการทดสอบสายพันธุ์ข้าวจากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศภายใต้โครงการ ASEAN RiceNet (IRRI-bred advanced lines testing under ASEAN Rice NET project) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่า การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความต้านทาน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน 

7.  ความร่วมมืออาเซียนกับ FAO ประเทศไทยเสนอว่ากรอบความร่วมมือและแผนปฏิบัติการด้านอาหาร การเกษตรและป่าไม้ของอาเซียนที่มีอยู่ จะสามารถสนับสนุนการดำเนินงานใน 5 Action Tracks ของ UNFSS ได้อย่างไร เสนอให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำ Matrix เกี่ยวกับมาตรการและแผนปฏิบัติการของอาเซียนที่เกี่ยวเนื่องกับ UNFSS เพื่ออำนวยความสะดวกในการร่วมมือกับคู่เจรจา องค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ 

8.  อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Special SOM-43rd  AMAF ครั้งต่อไปในปี 2565

ตกลง