ไทย-ออสเตรเลีย เดินหน้ากระชับความร่วมมือด้านเกษตรอย่างแน่นแฟ้น ในโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและออสเตรเลีย พร้อมผลักดันการเปิดตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพให้บรรลุผลโดยเร็ว
14 มิ.ย. 2565
104
0
ไทย-ออสเตรเลีย เดินหน้ากระชับความร่วมมือด้านเกษตรอย่างแน่นแฟ้น ในโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและออสเตรเลีย พร้อมผลักดันการเปิดตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพให้บรรลุผลโดยเร็ว
ไทย-ออสเตรเลียเดินหน้ากระชับความร่วมมือด้านเกษตรอย่างแน่นแฟ้น
ไทย-ออสเตรเลีย เดินหน้ากระชับความร่วมมือด้านเกษตรอย่างแน่นแฟ้น ในโอกาสครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและออสเตรเลีย พร้อมผลักดันการเปิดตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพให้บรรลุผลโดยเร็ว

วันที่ 14 มิถุนายน 2565

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือด้านการเกษตรกับนายคริส ทีนนิ่ง (Mr. Chris Tinning) ผู้ช่วยปลัดด้านการค้าและการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร น้ำ และสิ่งแวดล้อมออสเตรเลีย พร้อมคณะ โดยมี นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องรับรองกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

ดร.ทองเปลว กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความยินดีที่ได้ต้อนรับ นายคริส ทีนนิ่ง ผู้ช่วยปลัดด้านการค้าและการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร น้ำ และสิ่งแวดล้อมออสเตรเลีย และคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อหารือประเด็นด้านการเกษตรที่สำคัญและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยปีนี้จะครบรอบ 70 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและออสเตรเลีย (วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ออสเตรเลีย วันที่ 19 ธันวาคม 2495) อันจะส่งผลให้ความร่วมมือภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าการค้าและส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน ตลอดจนประเด็นการจัดการกับโรคระบาดต่าง ๆ ทั้งในพืชและสัตว์ ซึ่งประเทศไทยได้ใส่ใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าว่า สินค้าเกษตรของไทยมีความปลอดภัยแน่นอน

ขณะเดียวกัน ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำความรู้จักประธานร่วมของการประชุมที่สำคัญ 2 การประชุม ซึ่งออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกันยายน 2565 ณ ประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ การประชุมคณะทำงานร่วมด้านวิชาการเกษตร ไทย-ออสเตรเลีย (Joint Working Group on Agriculture: JWGA) ครั้งที่ 22 ซึ่งมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ และนายคริส ทีนนิ่ง เป็นประธานร่วม และการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหาร (Sanitary and Phytosanitary Measures (SPS) Expert Group) ซึ่งมีนายพิศาล พงศาพิชณ์ และนายคริส ทีนนิ่ง เป็นประธานร่วม โดยฝ่ายไทยได้ตอบรับเข้าร่วมการประชุมและหวังว่าจะสามารถเร่งผลักดันการเปิดตลาดเป็ดปรุงสุกของไทยและอโวกาโดของออสเตรเลียที่คาดว่าจะมีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่ายในการประชุมดังกล่าว ซึ่งจะถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยและออสเตรเลีย ในโอกาสครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย

ดร.ทองเปลว กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคผ่านระบบออนไลน์ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) เป็นประธานการประชุม หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับความร่วมมือและสนับสนุนประเด็นต่าง ๆ ที่ฝ่ายไทยจะผลักดันในการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค และในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 จะมีการรับรองเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหาร มุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 โดยฝ่ายไทยต้องการผลักดันประเด็นต่าง ๆ ในปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค อาทิ การขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular Green Economy: BCG Model) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม นโยบายความมั่นคงอาหารของไทย (กษ.) ได้แก่ การขับเคลื่อนนโยบาย 3S เป็นต้น โดยรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนนโยบาย BCG และถือเป็นนโยบายแห่งชาติ (national agenda) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการประชุม COP 26 และการบรรลุเป้าหมาย SDGs และยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วย

ทั้งนี้ มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและออสเตรเลีย ปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 65,895.70 ล้านบาท โดยไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปยังออสเตรเลีย 28,588.97 ล้านบาท และไทยนำเข้าสินค้าเกษตรจากออสเตรเลีย 37,306.73 ล้านบาท สินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกไปยังออสเตรเลีย
ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง ข้าวสาร อาหารสัตว์ ผักและผลไม้ ของปรุงแต่งจากผลไม้และลูกนัต และสินค้าเกษตรที่ไทยนำเข้าจากออสเตรเลีย ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้สด ลูกนัต เนื้อสัตว์ มอลต์ และสตาร์ช

ตกลง