มกอช. จับมือกรมวิชาการเกษตรและกรมปศุสัตว์ เดินหน้าเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร ปักหมุดส่งออกส้มโอทุกสายพันธุ์จากไทยภายในปีนี้ พร้อมยกระดับความร่วมมือทางวิชาการสู่การเกษตรยุคใหม่ ต่อยอดระบบกำกับดูแลสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน
18 มิ.ย. 2568
17
0
มกอช.จับมือกรมวิชาการเกษตรและกรมปศุสัตว์
มกอช. จับมือกรมวิชาการเกษตรและกรมปศุสัตว์ เดินหน้าเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร ปักหมุดส่งออกส้มโอทุกสายพันธุ์จากไทยภายในปีนี้ พร้อมยกระดับความร่วมมือทางวิชาการสู่การเกษตรยุคใหม่ ต่อยอดระบบกำกับดูแลสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน

มกอช. จับมือกรมวิชาการเกษตรและกรมปศุสัตว์ เดินหน้าเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร ปักหมุดส่งออกส้มโอทุกสายพันธุ์จากไทยภายในปีนี้ พร้อมยกระดับความร่วมมือทางวิชาการสู่การเกษตรยุคใหม่ ต่อยอดระบบกำกับดูแลสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน

วันที่ 18 มิถุนายน 2568 นางสาวไปรยา เศวตจินดา ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมหารือกับผู้แทนระดับสูงของญี่ปุ่นจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (MAFF) กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ (MHLW) สำนักงานกิจการผู้บริโภค (CAA) ภายใต้การประชุมคณะอนุกรรมการพิเศษว่าด้วยความปลอดภัยอาหาร (Special Sub-Committee on Food Safety) ภายใต้กรอบความตกลง JTEPA ครั้งที่ 15 โดยยมี นายชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานฝ่ายไทยในการเจรจามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและความปลอดภัยอาหาร พร้อมคณะผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระหว่างวันที่ 18 – 20 มิถุนายน 2568 ณ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
การหารือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเปิดทางให้ผลไม้ไทยสามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นได้ โดยไม่มีข้อจำกัดสายพันธุ์ ซึ่งการเจรจาจะนำร่องจากส้มโอและมะม่วง ตั้งเป้าบรรลุผลสำเร็จในการส่งออกส้มโอทุกสายพันธุ์ภายในปีนี้ พร้อมกันนี้ยังได้ผลักดันการขยายตลาดสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะ เนื้อสุกรแช่เย็นและแช่แข็ง ภายใต้ระบบคอมพาร์ทเมนต์สุกรปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ซึ่งเป็นระบบควบคุมโรคระดับฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ตอกย้ำบทบาทของไทย ในการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานสูง ด้านญี่ปุ่นเองมีความสนใจขยายสายพันธุ์ส้มที่สามารถส่งออกมายังไทยเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสมดุลในการค้าสินค้าเกษตรระหว่างสองประเทศ
ในการนี้ ญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะมีความร่วมมือกับไทยใน 3 เรื่อง ได้แก่ การวิจัยวัคซีนสำหรับสัตว์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ และระบบการติดฉลากลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับผลิตผลทางการเกษตรเพื่อร่วมเสริมสร้างและยกระดับด้านความปลอดภัยอาหารและการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การประชุมคณะอนุกรรมการร่วมด้านความปลอดภัยอาหารระหว่างไทยและญี่ปุ่น เป็นเวทีสำคัญในการผลักดันเพื่อเปิดตลาดการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร เสริมสร้างศักยภาพด้านวิชาการและเทคนิค สะท้อนพันธกิจร่วมของไทยและญี่ปุ่นในการส่งเสริม ระบบอาหารที่ยั่งยืน (Sustainable Food Systems) ภายใต้กรอบนโยบาย MIDORI Strategy ของญี่ปุ่น และ นโยบาย BCG / Go Green ของไทย และยังแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศที่มีความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหารภายใต้ JTEPA กันมาอย่างยาวนานถึง 15 ปีแล้ว

ตกลง