การลงพื้นที่ติดตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 ณ จังหวัดลำปาง
1 มิ.ย. 2565
128
0
ลงพื้นที่ติดตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 ณ จังหวัดลำปาง
การลงพื้นที่ติดตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
การลงพื้นที่ติดตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 ณ จังหวัดลำปาง

วันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ 2565
คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565  ณ จังหวัดลำปาง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มฮักน้ำจาง ณ บ้านนากว้าว (กิ่ว) หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นกลุ่มที่มีการปลูกผักปลอดสาร (ผักพื้นบ้าน/ผักตามฤดูกาล) ผลิตเครื่องดื่มเชียงดา แคปซูลเชียงดา สเปรย์ย่านางใบเตย โดยในส่วนของการจัดจำหน่ายผัก สมาชิกจะนำผักที่ล้างและจัดทำเป็นมัดแล้ว มารวบรวมที่ศูนย์ (โรงเรียน) ในทุกเช้า จากนั้นจะนำไปจำหน่ายที่โรงพยาบาลแม่ทะ ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง สั่งพืชผักอินทรีย์ไปประกอบอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล นอกจากนี้ได้มีการจำหน่ายที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง และ Big C ทุกวัน จำหน่ายที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วันจันทร์และวันศุกร์ จำหน่ายที่ห้างเสรีสรรพสินค้า วันอังคารและวันพุธ และจำหน่ายที่ตลาดเกษตร ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ และนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาท่องเที่ยวอีกด้วย

2. ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ห้างฉัตร (อ.เนตร ใจเที่ยง) ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ เรื่องข้าว ปัจจัยการผลิต และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวทิพย์ช้าง ซึ่งในการทำข้าวอินทรีย์จะเริ่มต้นตั้งแต่ปัจจัยการผลิต กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ประกอบกับงานวิจัยที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการสนับสนุนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างเต็มที่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวทิพย์ช้างมีการทำกิจกรรมที่หลากหลายในแปลงของตนเอง และมีการศึกษาเรื่องข้าวโดยพบว่าในข้าวจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งจะช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเบาหวาน และยับยั้งหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว จากนั้นจึงเสนอของบประมาณจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งห้องวิจัยสารแอนโทไซยานินในข้าว จากนั้นก็ได้ทำผลิตภัณฑ์ Antho-PLUS ซึ่งจะสามารถต่อยอดไปได้ไกลเนื่องจากสารแอนโทไซยานินจะสามารถนำไปผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ฯลฯ

 

ตกลง