การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 7/2564
9 พ.ย. 2564
76
0
การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 7/2564
การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 7/2564

เมื่อวันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 7/2564 ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม ZOOM โดยมีนายชลิต ดำรงศักดิ์ เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีการพิจารณาและรับทราบวาระต่างๆ ดังนี้

1. รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564

2. รับทราบรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม)

3. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

4. เห็นชอบให้ยุติรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการทำหนังสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อลงนามแจ้ง สำนักงาน ก.พ.ร. และเสนอ อ.ค.ต.ป. ต่อไป

5. เห็นชอบคัดเลือกโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ภายใต้กิจกรรมกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการตรวจสอบในประเด็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของโรคโควิด-19 (post-COVID recovery) เป็นประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

6. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เชิญหน่วยงานที่ดำเนินการโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ภายใต้กิจกรรมกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาชี้แจงรายละเอียดในการประชุมครั้งต่อไป

7. รับทราบประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลตามห่วงโซ่คุณค่า (value chain) จำนวน ๘ ประเด็น ประกอบด้วย
    1) การบริหารการจัดการน้ำภาคการเกษตรในการสร้างเกษตรมูลค่าสูง 
    2) การส่งเสริมและการพัฒนาท่องเที่ยวคุณภาพสูง 
    3) การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก และเศรษฐกิจฐานราก 
    4) การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในภาวะวิกฤตให้เข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อลดความเลื่อมล้ำ 
    5) ต้นแบบความร่วมมือระดับชุมชนในการช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤต 
    6) การพัฒนาศักยภาพคน เพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
    7) การเสริมสร้างผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต
    8) การสร้างระบบนิเวศ เพื่อขับเคลื่อนขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

ตกลง