1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
รายงานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อบรรเทาความยากจนของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
4 ก.ย. 2561
361
0
รายงานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อบรรเทาความยากจนของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Centre for Alleviation of Poverty through Sustainable Agriculture: CAPSA) และข้อมติของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (The United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: UNESCAP) สมัยที่ 74 เกี่ยวกับการยุติการดำเนินงานของ CAPSA

สรุปประเด็นข้อเสนอและความคิดเห็นประเด็นสำคัญของมติ

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อบรรเทาความยากจนของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Centre for Alleviation of Poverty through Sustainable Agriculture : CAPSA) และข้อมติของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (The United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : UNESCAP) สมัยที่ ๗๔ เมื่อวันที่ ๑๑-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เกี่ยวกับการยุติการดำเนินงานของ CAPSA ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ ดังนี้

               ๑. CAPSA ได้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธัญพืช ถั่ว พืชหัว และราก เพื่อนำความรู้และเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาการผลิต การใช้ประโยชน์ และการค้า นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือที่เกี่ยวกับการเกษตรยั่งยืน ความมั่นคงอาหาร และการพัฒนาชนบทในภูมิภาค ผ่านการจัดประชุม การศึกษาวิจัย และการแบ่งปันความรู้และสร้างเครือข่าย ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับ CAPSA เช่น (๑) การได้รับคัดเลือกเป็นคณะมนตรีประศาสน์การ (Governing Council : GC) ซึ่งมีหน้าที่ในการเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากิจกรรม แผนการดำเนินงาน และแผนงบประมาณของ CAPSA (๒) โครงการวิจัยและพัฒนา หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้เข้าร่วมทำงานวิจัยกับ CAPSA ในโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการวิจัยผลกระทบการเปิดเสรีทางการค้าในด้านภาคเกษตรของไทย และการวิเคราะห์ผลกระทบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับข้อเสนอนโยบายด้านการเกษตรและการบรรเทาความยากจนในชนบทของเอเชียตะวันออก (๓) การเข้าร่วมเป็น Technical Committee (TC) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่ GC เกี่ยวกับการจัดทำแผนการดำเนินงานและประเด็นทางด้านเทคนิคอื่น ๆ เป็นต้น

               ๒. CAPSA ประสบปัญหาด้านงบประมาณในการดำเนินงานมาโดยตลอด เนื่องจากได้รับเงินสนับสนุนจากสมาชิกต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ประกอบกับองค์การสหประชาชาติ (The United Nation : UN) ได้ยุติการสนับสนุนงบประมาณแก่ CAPSA ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ทำให้ไม่มีทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรเพียงพอที่จะดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ในคราวประชุม GC ครั้งที่ ๑๔ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ได้มีมติเสนอให้ CAPSA ออกจากระบบของ UN โดยเปลี่ยนสถานะเป็น “องค์กรระหว่างรัฐบาล” (Intergovernment Organization) เพื่อให้มีความยืดหยุ่นทางการเงินมากขึ้น และไม่มีข้อผูกพันตามระเบียบของ UN

               ๓. ในการประชุมประจำปีของ UNESCAP สมัยที่ ๗๔ เมื่อวันที่ ๑๑-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ CAPSA ได้รายงานผลการประชุม GC ครั้งที่ ๑๔ รวมถึงปัญหาด้านงบประมาณในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ESCAP) และได้มีข้อมติที่ ๗๔/๕ (Resolution 74/5) เห็นชอบการออกจากระบบ UN ของ CAPSA โดยอินโดนีเซียแสดงความพร้อมในการเป็นผู้นำจัดตั้งองค์กรใหม่ และเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ESCAP สนับสนุนองค์กรใหม่ ซึ่งในช่วงระหว่างการจัดตั้งองค์กรใหม่ของอินโดนีเซีย ประเทศไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะสมาชิก GC ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ CAPSA อีกต่อไป เนื่องจากมติที่ประชุม UNESCAP สมัยที่ ๗๔ ดังกล่าว มีผลให้ CAPSA สิ้นสภาพไปตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ จึงจะยุติการให้เงินอุดหนุนแก่ CAPSA ตั้งแต่งบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง