1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
แผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
3 ธ.ค. 2562
1,040
0

สรุปประเด็นข้อเสนอและความคิดเห็นประเด็นสำคัญของมติ 

คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

               ๑. รับทราบแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) โดยมีวิสัยทัศน์ “ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง” ซึ่งในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ ไปสู่การปฏิบัติได้มีการกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ คือ (๑) ระยะ ๑-๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) (๒) ระยะ ๖-๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙) และ (๓) ระยะ ๑๑-๑๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๗๐-๒๕๗๙) ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย และยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับกรอบระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ ให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ด้วย

               ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เช่น ควรให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฯ เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย ควรให้การยางแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรูปรายการมาตรฐานและประมาณราคา รายการปรับปรุงผิวสนามกีฬา รวมทั้งแนวปฏิบัติการจัดจ้างในโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของหน่วยงานภาครัฐ กรณีมีผู้ว่าจ้างเพียงรายเดียว เพื่อเป็นแบบมาตรฐานกลาง และการยางแห่งประเทศไทยควรศึกษาแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศเพิ่มเติม เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

               ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสร้างอุปสงค์ (Demand) ของยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา และส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น โดยให้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้พิจารณาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นหรือการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกับการปลูกยางพาราเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างสูงสุด

               ๔. ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดหายางพาราหรือผลิตภัณฑ์จากยางพาราไปใช้ในการดำเนินแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มมากขึ้น

               ๕. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรงดำเนินการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่การเกษตร รวมถึงพื้นที่เพาะปลูกยางพาราที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่หวงห้ามประเภทอื่น ๆ ให้ครบถ้วน ชัดเจน และถูกต้องตรงกัน และให้นำข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ในความรับผิดชอบเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การกำหนดแนวทางและมาตรการดังกล่าวให้คำนึงถึงผลกระทบและความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยด้วย

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง