1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
เกษตร ฯ แถลงผลวิเคราะห์ดินน้ำจากหนองบัวลำภู ผลสอดคล้อง 2 หน่วยงานไม่พบพาราควอตตกค้าง
5 เม.ย. 2561
1,959
0
กรมวิชาการเกษตร เปิดผลวิเคราะห์ดินน้ำจากหนองบัวลำภูที่เคยถูกอ้างพบพาราควอตตกค้างอันตรายสูง ชี้ผลวิเคราะห์ 2 หน่วยงานตรวจจากแลปมาตรฐานสากลไปทางเดียวกัน ไม่พบการตกค้าง ขอประชาชนอย่าตะหนก
เกษตรฯแถลงผลวิเคราะห์ดินน้ำจากหนองบัวลำภู
เกษตร ฯ แถลงผลวิเคราะห์ดินน้ำจากหนองบัวลำภู ผลสอดคล้อง 2 หน่วยงานไม่พบพาราควอตตกค้าง

     นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยกรณีที่มีข่าวระบุว่าพบการปนเปื้อนของสารพาราควอต จากตัวอย่างน้ำผิวดิน อ่างเก็บน้ำ ลำน้ำ น้ำใต้ดิน น้ำประปา ดินในไร่ยางพาราและไร่อ้อย ตะกอนดินจากอ่างเก็บน้ำ และผัก โดยพบสารพาราควอตปนเปื้อนในปริมาณที่สูงมากในพื้นที่ตำบลบุญทัน อ.สุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู นั้น กรมวิชาการเษตร ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำและดินมาตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำข้อมูลที่ถูกต้องรายงานให้กับสาธารณชนได้รับทราบ

     ทั้ง 3 หน่วยงานได้เก็บตัวอย่างน้ำและดินในแหล่งเดียวกันที่ถูกอ้างถึงในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 7 -10 มีนาคม 2561 โดยกรมวิชาการเกษตรเก็บตัวอย่างน้ำจำนวน 10 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการกรมวิชาการเกษตรไม่พบการปนเปื้อนของสารพาราควอตทั้ง 10 แห่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารพาราควอตจากตัวอย่างน้ำในแหล่งเดียวกันที่เก็บมาตรวจวิเคราะห์จำนวนทั้งสิ้น 8 ตัวอย่าง

     สำหรับผลการวิเคราะห์สารตกค้างของพาราควอตในตัวอย่างดิน ซึ่งไม่ได้มีค่ามาตรฐานในดินกำหนดไว้ ผลการวิเคราะห์ของกรมวิชาการเกษตรพบการตกค้างของพาราควอตในตัวอย่างซึ่งเก็บมาจำนวน 7 ตัวอย่างในปริมาณที่ต่ำมากไม่สูงเท่ากับตามที่เป็นข่าว ซึ่งใกล้เคียงกับผลการวิเคราะห์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่พบการตกค้างในดินต่ำเช่นเดียวกัน

     “กรมวิชาการเกษตรได้เก็บตัวอย่างทั้งดินและน้ำร่วมกับอีก 2 หน่วยงานเพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ที่ออกมาเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งในส่วนของกรมวิชาการเกษตรได้นำตัวอย่างทั้งน้ำและดินมาตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตรซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ผลการวิเคราะห์เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ในขณะที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้นำตัวอย่างดินและน้ำไปตรวจที่บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย จำกัด) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลเช่นเดียวกัน และผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำที่เก็บมาจากแหล่งเดียวกันก็มีความสอดคล้องกัน คือ ไม่พบสารพาราควอตตกค้างในน้ำ ส่วนในดินแม้จะพบการตกค้างของสารพาราควอตแต่ก็ถือว่าอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก ไม่ได้มีปริมาณการตกค้างสูงตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง