1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรฯ ชู “โคก หนอง นา โมเดล” ช่วยแก้ปัญหาเกษตรที่สูงด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ พร้อมนำตัวแทนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ลงพื้นที่ห้วยกระทิง จ.ตาก ขยายผลความสำเร็จในระยะต่อไป
28 พ.ค. 2561
1,903
0
โคก หนอง นา โมเดล
กระทรวงเกษตรฯชู“โคกหนองนาโมเดล”ช่วยแก้ปัญหาเกษตรที่สูงด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์
กระทรวงเกษตรฯ ชู “โคก หนอง นา โมเดล” ช่วยแก้ปัญหาเกษตรที่สูงด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ พร้อมนำตัวแทนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ลงพื้นที่ห้วยกระทิง จ.ตาก ขยายผลความสำเร็จในระยะต่อไป

กระทรวงเกษตรฯ ชู “โคก หนอง นา โมเดล” ช่วยแก้ปัญหาเกษตรที่สูงด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ พร้อมนำตัวแทนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ลงพื้นที่ห้วยกระทิง จ.ตาก ขยายผลความสำเร็จในระยะต่อไป

     นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการดำเนินงาน “โครงการต้นแบบการทำโคก หนอง นา โมเดล” ณ บ้านห้วยกระทิง
จ. ตาก ว่า ในอดีตพื้นที่บ้านห้วยกระทิงเคยเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ดินชะล้างพังทลายสูง เกษตรกรมีหนี้สินที่นับวันแต่จะเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุของเขาหัวโล้น แต่กว่า 2 ปีที่กำนันวิทยาและชาวบ้านกลุ่มหัวไวใจสู้อีก 16 คน ในชื่อ “กลุ่ม 17 พะกอยวา” หันมาเปลี่ยนวิธีทำการเกษตรแบบใหม่ที่มุ่งให้เกิดความ “พอมี พอกิน” ตามพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งในวันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงบูรณาการหน่วยงานในสังกัดพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดและเครือข่ายประชารัฐอีกกว่า 200 คน นำตัวแทนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เข้าเยี่ยมชมและเตรียมขยายผลตัวอย่างการแก้ปัญหาเกษตรที่สูงด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ “โคกหนองนา โมเดล” ในระยะต่อไป

    โครงการต้นแบบการทำโคก หนอง นา โมเดล เริ่มจากการลดพื้นที่การผลิตจากคนละ 40-50 ไร่ เหลือเพียงรายละ 10 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ของเกษตรกรแต่ละรายได้รับการออกแบบพื้นที่อย่างเหมาะสมโดย ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อดีตคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ประยุกต์วิชาการออกแบบพื้นที่ตามหลักภูมิสถาปัตย์ เข้ากับหลักภูมิสังคมและเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินและกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำของประเทศ โดยสอดคล้องกับเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ที่เน้นการกักเก็บน้ำและตะกอนดินที่อุดมสมบูรณ์เอาไว้และเน้นให้ปลูกพืชเพื่อให้พอมี พอกิน และมุ่งเน้นให้เกิดการ “ลงแขก” หรือที่ทางภาคเหนือเรียก “เอามื้อ สามัคคี” ซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมของคนไทยที่ได้รับการฟื้นฟูกลับมาใหม่ เป็นรูปแบบกระบวนการเรียนรู้การนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ โดยเครือข่ายตามรอยพ่อเข้ามาร่วมกันน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อก้าวข้ามกับดักการเกษตรไทยทั้ง 3 ประการ ไปสู่ความพอเพียง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

    “ภาคการเกษตรของไทยจะไปต่อได้ต้องก้าวข้ามกับดักการเกษตร 3 ประการ คือ 1) ความคิดความเชื่อที่ไม่เชื่อมั่นในตนเอง เห็น ‘เขาดีกว่าเรา’ หารู้ไม่ว่าตัวเองกำลังยืนอยู่บนแผ่นดินที่มีชัยภูมิดีที่สุดในโลกแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ สำคัญที่สุดคืออยู่ในที่ที่ทรงภูมิปัญญาและเป็นที่หนึ่งของโลกมานาน แต่ดูเหมือนว่าเรากำลังอยู่ในช่วงที่มองบ้านเราเองแบบขาดศรัทธา คือเราไม่เชื่อมั่นในคนไทยด้วยกัน ไม่เชื่อมั่นในภูมิปัญญาของประเทศนี้ 2) ความเชื่อว่าเทคโนโลยีและความสะดวกสบายนั้นคือความเจริญ ดังนั้นเราจึงดิ้นรนออกจากความลำบาก หนีออกจากภาคการเกษตรไปสู่งานบริการหรือเป็นพนักงานบริษัทเพราะงานสบายกว่า และ 3) ความไม่สามัคคีกัน ไม่รักษาอารยธรรมการเกษตรกรรม เกษตรกร คือการทำงานเป็นหมู่เป็นมวลด้วยความรักและสามัคคีกัน ถ้าสามารถรักษาขนบประเพณีว่าด้วยการเอามื้อ การลงแขก การทำงานกันเป็นหมู่กลุ่มไว้ได้จะรวยเท่าไหร่ก็ได้ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย สำคัญที่สุดคือต้องก้าวข้ามกับดักนี้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่ยั่งยืนแน่นอน ‘นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน บินขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้’ ทำงานเป็นทีมไม่เป็นไม่มีทางสำเร็จ”
นายวิวัฒน์ กล่าว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง