1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
แนะระวังโรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
5 มิ.ย. 2561
4,197
0
ในช่วงที่มีฝนกระหน่ำ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง และมีความชื้นในอากาศสูง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และกวางตุ้ง ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคเน่าเละ
แนะระวังโรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
แนะระวังโรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด

    ในช่วงที่มีฝนกระหน่ำ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง และมีความชื้นในอากาศสูง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และกวางตุ้ง ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคเน่าเละ ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช สำหรับโรคเน่าเละจะแสดงอาการเริ่มแรกพบบนใบหรือบริเวณลำต้นมีแผล เป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ ต่อมาแผลจะขยายลุกลามเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลไหม้ ส่วนเนื้อเยื่อพืชบริเวณแผลจะยุบตัวลง และจะมีเมือกกลิ่นเหม็นฉุนเยิ้มออกมาภายนอก จากนั้นต้นพืชจะเน่ายุบตายไปทั้งต้น โรคเน่าเละจะพบระบาดมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งแบคทีเรียจะสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชทั้งในสภาพไร่และในโรงเก็บ

     สำหรับแนวทางในการป้องกันและแก้ไข หากเริ่มพบอาการของโรคเน่าเละในแปลงปลูก ให้เกษตรกรรีบขุดต้นพืชที่เป็นโรค และเก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที หลีกเลี่ยงการทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชเกิดแผล ซึ่งแผลจะเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุของโรคเข้าทำลายพืชได้ง่าย อีกทั้งเกษตรกรควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

     นอกจากนี้ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรไถกลบเศษพืชผักทันที และก่อนการปลูกพืช เกษตรกรควรไถพรวนพลิกหน้าดินให้ลึกจากผิวดินเกินกว่า 20 เซนติเมตร ให้ดินได้ตากแดดไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ และไถกลบพลิกหน้าดินอีกครั้ง เพื่อทำลายเชื้อสาเหตุของโรคที่ติดอยู่กับเศษซากพืช ช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก และป้องกันการสะสมของเชื้อสาเหตุของโรคในดิน สำหรับพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน อาทิ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น ส่วนในฤดูปลูกถัดไป เกษตรกรควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีการระบายน้ำที่ดี และไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง