1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
“กรมการข้าว”ชี้การลดพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อปรับสมดุลการผลิต ย้ำไม่ทิ้งเกษตรกร พร้อมส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทน
17 ม.ค. 2561
346
0
“กรมการข้าว”ชี้การลดพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อปรับสมดุลการผลิต
“กรมการข้าว”ชี้การลดพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อปรับสมดุลการผลิต ย้ำไม่ทิ้งเกษตรกร พร้อมส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทน

       นายอนันต์ สุวรรณรัตน์  อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า การลดพื้นที่ปลูกข้าวปี 2560/61 รอบที่ 2 (นาปรัง) นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกขา้วเพื่อลดอุปทาน ส่วนเกิน ซึ่งเป็นการลดรอบการปลูกข้าวพร้อมทั้งเชื่อมโยงการตลาดให้แก่เกษตรกรด้วย ทั้งนี้ในการปรับเปลี่ยน พื้นที่ไปปลูกพืชอื่นได้ค านึงถึงสภาพดินและพื้นที่ตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกและภายใต้การบริหาร จดัการแผนที่เกษตรกรรมเชิงรุก (Agri-Map)  รวมทั้งได้ศึกษาตลาดรับซื้อผลผลิตพืชที่ปรับเปลี่ยนแทนข้าวแล้ว   ทั้งนี้ มาตรการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังได้มีโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกพืชให้ เหมาะสม ภายใตแ้ผนการผลิตและการตลาดขา้วครบวงจร ปี 2560/61 (ดา้นการผลิต) จา นวน 5 โครงการ พื้นที่ 1.25 ล้านไร่ ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง  โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง  โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง และ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว ์ฤดูนาปรัง   อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  การปรับเปลี่ยนการปลูกขา้วไปปลูกพืชอื่นโดยเฉพาะขา้วโพด เลี้ยงสัตว์ ได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการอาหารสัตว์ให้รับซื้อในราคาประกัน  และกรณีปลูกพืชหลากหลาย ได้ขอความร่วมมือกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชนจัดหาตลาดรองรับผลผลิตของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิตเพื่อบริหารจดัการผลผลิตและการตลาด นอกจากนี้ยังได้ประสาน ผู้ประกอบการรับซื้อพืชหลากหลายและหน่วยงานด้านการตลาดเข้าร่วมให้ค าแนะน าในช่วงเก็บเกี่ยว การ จัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว และการจดัการคุณภาพของสินคา้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไดเ้ลง็เห็นถึงความสา คญัของการควบคุมคุณภาพ ผลผลิตข้าวให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน  โดยก าหนดให้การผลิตข้าวจากนา แปลงใหญ่ต้องเป็นข้าวที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบตัิทางการเกษตรที่ดี (GAP)  รวมทั้งภาครัฐได้ให้ ความส าคัญกับการวิจัยและพัฒนาค้นหานวัตกรรมและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่จะรักษาและยกระดับ ความหอมของข้าวหอมมะลิให้สูงขึ้น ตลอดจนยังคงเป็นข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพมากที่สุดต่อไป   

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง