1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
“กฤษฎา” ตีกรอบหลักการเมนูอาชีพตามแผนปฏิรูปภาคเกษตรในโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาล ต้องเกิดประโยขน์-มีส่วนร่วม-ยั่งยืนกับเกษตรกร พร้อมเตรียมส่งต่อให้ทีมขับเคลื่อนฯ ลงพ.ท.รับฟังความต้องการประชาชน 21 ก.พ.นี้
1 ก.พ. 2561
2,187
0
“กฤษฎา”ตีกรอบหลักการเมนูอาชีพตามแผนปฏิรูปภาคเกษตรในโครงการไทยนิยม
“กฤษฎา” ตีกรอบหลักการเมนูอาชีพตามแผนปฏิรูปภาคเกษตรในโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาล ต้องเกิดประโยขน์-มีส่วนร่วม-ยั่งยืนกับเกษตรกร พร้อมเตรียมส่งต่อให้ทีมขับเคลื่อนฯ ลงพ.ท.รับฟังความต้องการประชาชน 21 ก.พ.นี้

“กฤษฎา” ตีกรอบหลักการเมนูอาชีพตามแผนปฏิรูปภาคเกษตรในโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาล ต้องเกิดประโยขน์-มีส่วนร่วม-ยั่งยืนกับเกษตรกร พร้อมเตรียมส่งต่อให้ทีมขับเคลื่อนฯ ลงพ.ท.รับฟังความต้องการประชาชน 21 ก.พ.นี้

          นายกฤษฎา  บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนงาน โครงการของกระทรวงเกษตรฯ ตามนโยบายพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาล ว่า ขณะนี้แผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อใช้เป็นรายการอาชีพ (menu) ของกระทรวงเกษตรฯ ในการตอบสนองต่อความต้องการหรือการเลือกอาชีพของประชาชนที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนโดยใช้งบประมาณกลางปีในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ประมาณ 3.5 หมื่นล้าน โดยแผนงาน โครงการ กิจกรรมรวม 20 โครงการ ค่อนข้างมีความชัดเจนในระดับหนี่งแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความชัดจน ครอบคลุม สอคล้องกับเป้าหมายได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งสองท่านพิจารณาแผนงานโครงการ กิจกรรมตามคลัสเตอร์รับผิดชอบพิจารณาอีกครั้งก่อนส่งให้สำนักงบประมาณในพรุ่งนี้ (2 ก.พ.61)

          “หลักการสำคัญของแผนปฏิรูปภาคการเกษตร ในโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาลนั้น ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ยึดใน 3 กรอบแนวทางหลัก คือ 1. โครงการ แผนงาน กิจกรรมที่เป็นความต้องการของเกษตรกรหรือสถาบันหรือองค์กรเกษตรกรโดยตรงอย่างแท้จริง เกิดการมีส่วนร่วมของเกษตรกรหรือประชาชนในพื้นที่ 2. เกษตรกรต้องได้รับประโยชน์โดยตรงตามเป้าหมายของแผน เมื่อทำแล้วเกษตรกรจะได้รับผลอะไรจากเเผนงาน/โครงการดังกล่าวที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ หรือตอบสังคมได้ว่าทำแล้วชาวบ้านได้รับประโยชน์อย่างไร เช่น การเพิ่มรายได้เกษตรกรให้เพียงพอต่อการดำรงชีพรายครัวเรือน และ 3. ต้องเป็นโครงการที่ปฏิบัติได้ ทำได้จริง มีความต่อเนื่องและยั่งยืน” นายกกฤษฎา กล่าว

          อย่างไรก็ตาม ตามกรอบระยะเวลาที่ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบลรวม 7,663 ทีม โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยสนับสนุน จะเริ่มลงพื้นที่วันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อสำรวจวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อนเยี่ยมเยียนรายครัวเรือน รายบุคคล และค้นหาความต้องการของประชาชน หมู่บ้าน  และชุมชนอย่างแท้จริงนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะส่งแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อใช้เป็นรายการอาชีพ (menu) ให้กับกระทรวงมหาดไทยลงไปสำรวจความต้องการของประชาชนเพื่อรับทราบความคิด ความเห็นต่อกิจกรรมที่กระทรวงเกษตรฯเสนอก่อนเริ่มขับเคลื่อนโครงการจริงไปในคราวเดียวกันด้วย

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง