1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กระทรวงเกษตรฯ มุ่งผลักดันนโยบายการตลาดนำการผลิต
29 ส.ค. 2562
2,027
0
นโยบายการตลาดนำการผลิต
กระทรวงเกษตรฯ มุ่งผลักดันนโยบายการตลาดนำการผลิต
กระทรวงเกษตรฯ มุ่งผลักดันนโยบายการตลาดนำการผลิต

กระทรวงเกษตรฯ มุ่งผลักดันนโยบายการตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการ และมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 กระทรวงฯ หวังยกระดับการรับรู้ของสินค้าไทยในตลาดโลก 

     นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และพาณิชย์จังหวัด เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายภูมิภาคสู่ตลาดโลก โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ณ ศูนย์การแสดงสินค้า Bitec บางนา ว่า การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก เพื่อให้ประเทศไทยมีบทบาทนำในการพัฒนาและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นแนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างการรับรู้และสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การแสวงหาโอกาสทางการค้าสินค้าเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรของไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การขยายตลาดสินค้าไทยในเวทีโลก ไม่สามารถแข่งขันกันด้วยปริมาณการค้าในรูปแบบเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้า ซึ่งภาคการเกษตรของไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมกับประเทศที่มีศักยภาพ ผ่านความร่วมมือในทุกระดับ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้มีการผลิตอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรพื้นฐานเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ให้สามารถรองรับและกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

       กระทรวงเกษตรฯ กำลังผลักดันนโยบายการตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการ และมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน เพื่อประกันว่าเกษตรกรจะมีรายได้ที่ดีขึ้น มีช่องทางการตลาดที่เหมาะสม โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถเริ่มต้นได้ 3 - 4 สินค้า เพื่อนำร่องไปสู่สินค้าเกษตรอื่น ๆ นอกจากนี้ พืชสมุนไพรและไม้เศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ กำลังผลักดันเพื่อเป็นทางเลือกด้านรายได้ให้แก่เกษตรกรนอกเหนือจากการปลูกพืชหลักด้วย

        อย่างไรก็ตาม การเร่งรัดผลักดันการเจรจาความตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการ ก็เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดสินค้าไทยทั้งสิ้น และประเทศในกรอบเจรจาเหล่านั้นก็เป็นตลาดรับซื้อสินค้าไทย เป็นแหล่งทุน แหล่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยกระทรวงเกษตรฯ มีความยินดีในการสนับสนุนการเจรจาทุกกรอบ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้แก่สินค้าเกษตรไทย และหากทูตพาณิชย์และทูตเกษตรสามารถส่งสัญญาณล่วงหน้าถึงโอกาสและอุปสรรค เทรนของโลก เช่น ดิจิตัลแพลตฟอร์ม e-commerce การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มีผลต่อสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศเชื่อมโยงมายังหน่วยงานในประเทศ และขับเคลื่อนพร้อมกันไปทุกระดับ จึงเชื่อมั่นว่าจะเกิดผลดีในทางเศรษฐกิจของไทยอย่างแน่นอน

 “การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 กระทรวงฯ จะเป็นกลไกที่ผลักดันให้สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในตลาดโลก ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดผลสำเร็จที่ดีและเป็นที่ยอมรับ การทำงานร่วมกันจะยิ่งส่งเสริมบทบาทของประเทศไทย ยกระดับการรับรู้ของสินค้าไทยในตลาดโลก รวมทั้งสามารถปกป้องผลประโยชน์ของไทยในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทุกภาคส่วนมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่สำคัญของการค้าระหว่างประเทศ และโอกาสของสินค้าเกษตรไทยในแต่ละประเทศคู่ค้า เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการผลิตที่ตรงกับความต้องการของตลาดโลก และสามารถเตรียมการรับมือกับอุปสรรคทางการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” นายอลงกรณ์ กล่าว

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง