1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15” ปี 2563
16 ก.ย. 2563
890
0
ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15
กระทรวงเกษตรฯเตรียมจัดงานใหญ่“ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่
กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15” ปี 2563

กระทรวงเกษตรฯ สืบสานพระราชปณิธานอนุรักษ์ไหมไทยเตรียมจัดงานใหญ่ “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15” ปี 2563

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมหม่อนไหมเตรียมจัดงาน “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15” ประจำปี 2563  อย่างยิ่งใหญ่ภายใต้แนวคิด “1 ทศวรรษกรมหม่อนไหม (10  ปีกรมหม่อนไหม) การอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน”ระหว่างวันที่ 23 – 27 กันยายน 2563 ณอาคาร 6 - 7  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานีพบกับนิทรรศการผลงาน 10 ปีกรมหม่อนไหมผลงานประกวดผ้าไหมเส้นไหมผลงานวิจัยและผลงานบูรณาการกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนการออกร้านจำหน่ายผ้าไหมรวมถึงผลิตภัณฑ์หม่อนและไหมจากทั่วประเทศ

นายนราพัฒน์แก้วทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานงานแถลงข่าวการจัดงาน “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15” ประจำปี 2563  ณกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงมุ่งมั่นสืบสานวัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้คงอยู่กับปวงชนชาวไทยและเพื่อให้ผ้าไหมเป็นที่เลื่องลือสู่สากลไหมไทยเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของชาวต่างชาติพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องหมายตรานกยูงเพื่อรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยที่เน้นแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตและที่สำคัญผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานต้องผลิตในประเทศไทยเท่านั้นดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมหม่อนไหมจึงจัดงาน “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทย”ขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงให้ความสำคัญกับอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทรงมีพระราชปณิธานในการอนุรักษ์งานด้านหม่อนไหมให้คงอยู่กับประเทศไทยนอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ “ตรานกยูงพระราชทาน”เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น

สำหรับงานตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15ประจำปี 2563 กำหนดจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “1 ทศวรรษ ... กรมหม่อนไหม (10  ปีกรมหม่อนไหม) การอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน”ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2563 ณฮอลล์ 6 - 7 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานีซึ่งปีนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดงานในวันที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 17.30 น.

“การจัดงานตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยเป็นการประชาสัมพันธ์ตรานกยูงพระราชทานสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศในสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทานว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้รับการตรวจสอบจากกรมหม่อนไหมมีกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและที่สำคัญต้องผลิตจากเส้นไหมที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้นทั้งยังเป็นงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับเกษตรกรผู้ผลิตผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปการใช้หรือการสวมใส่ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานนอกจากจะให้ความรู้สึกสง่างามด้วยความที่ผ้าไหมที่มีความแวววาวเงางามมีลวดลายวิจิตรบรรจงเป็นเอกลักษณ์แล้วยังทำให้ผู้ใส่เกิดความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้สืบสานอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอันดีงามของชาติอีกด้วย”ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าว

ด้านนายวสันต์นุ้ยภิรมย์อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดงาน “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15” ประจำปี 2563 มีนิทรรศการและกิจกรรมที่น่าสนใจเช่นนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับตรานกยูงพระราชทานผลงานการประกวดเส้นไหมสิ่งประดิษฐ์จากรังไหม (พานพุ่ม) และการประกวดผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานที่รวมสุดยอดผ้าไหมเอกลักษณ์ประเภทต่างๆที่สวยงามวิจิตรบรรจงมาจัดแสดงปราชญ์หม่อนไหมที่กรมหม่อนไหมได้คัดเลือกขึ้นมาจำนวน 88 ท่านเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทรงภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมซึ่งเป็นผู้มีคุณความดีมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สมควรเป็นปราชญ์หม่อนไหมให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์และความสามารถสู่สังคมเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมให้คงอยู่ต่อไป

ทั้งนี้กรมหม่อนไหมยังได้แสดงผลงานที่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆเช่นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการผลิตเวชสำอางจากหม่อนและดอกดาหลาซึ่งจะเป็นการนำดอกดาหลาไปใช้ในการเลี้ยงไหมดาหลาและไหมดาหลานี้จะให้เส้นใยที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกทั้งยังมีการแสดงผลงานจากหน่วยงานอื่นๆอาทิบริษัทจุลไหมไทย : การพัฒนาเครื่องสาวไหมเด่นชัยประยุกต์ให้การสาวไหมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ : การส่งเสริมภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ผ้าทอมือบ้านดอนขุนห้วยกะเหรี่ยงปาเกอะญอ, กรมราชทัณฑ์ : การส่งเสริมอาชีพหม่อนไหมในทัณฑสถานในโครงการคืนคนดีสู่สังคมเพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ความสามารถด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสามารถนำไปประกอบอาชีพโดยสุจริตสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวหลังพ้นโทษ

นอกจากนี้ยังมีการออกร้านจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไทยเป็นการรวบรวมผ้าไหมคุณภาพจากทั่วประเทศซึ่งในปีนี้มีผู้ประกอบการและเกษตรกรมาร่วมออกร้านกว่า 240 ร้านเป็นร้านค้าจากผู้ประกอบการกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนจากทุกภาคของประเทศไทยถือเป็นการรวมสุดยอดผ้าไหมมาไว้ในงานนี้รวมถึงได้นำผ้าไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพเข้าร่วมจำหน่ายด้วยและพิเศษการจัดหาร้านตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษและสตรีมาประจำอยู่ในงานวันละ 4 ร้านโดยกรมหม่อนไหมได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 อย่างเข้มงวด

“กรมหม่อนไหมขอเชิญชวนทุกท่านร่วมชมงานตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทยครั้งที่ 15 และเพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงและร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานหม่อนไหมของไทยให้คงอยู่เพื่อเสริมสร้างรายได้ความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ยั่งยืนสืบไป”อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าว

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง