1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กระทรวงเกษตรฯ ห่วงประชาชน จากปัญหาฝุ่น PM2.5 และภัยแล้ง
26 ก.พ. 2563
343
0
ปัญหาฝุ่น PM2.5 และภัยแล้ง
กระทรวงเกษตรฯ ห่วงประชาชน จากปัญหาฝุ่น PM2.5 และภัยแล้ง
กระทรวงเกษตรฯ ห่วงประชาชน จากปัญหาฝุ่น PM2.5 และภัยแล้ง

กระทรวงเกษตรฯ ห่วงประชาชน จากปัญหาฝุ่น PM2.5 และภัยแล้ง  ทุ่มสุดกำลังเดินหน้าตามแผนปฏิบัติการฝนหลวง ระดมเครื่องบิน เปิดปฏิบัติการทั่วประเทศ เผยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง Standby ทำงานไม่หยุด 14 วัน บินกว่า 36 เที่ยว ส่งผลให้ปัญหาคลี่คลายในพื้นที่  

     นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่ในปัจจุบันประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังต้องประสบปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 นำมาซึ่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพของประชาชน ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่อง และพบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังคงมีค่าเกินมาตรฐานในห้วงเวลานี้ เป็นที่น่ากังวลว่า ในหลายพื้นที่ได้แนวโน้มที่เข้าสู่ระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้สั่งการให้มีการติดตามและดำเนินการช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการใช้ปฏิบัติการฝนหลวง ด้วยการเปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง Standby ติดตามสภาพอากาศเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่มีการร้องขอและช่วยบรรเทาปัญหาค่าฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 ควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามแผนแผนปฏิบัติการฝนหลวง สู้ภัยแล้ง ประจำปี 2563    

     โดยในส่วนของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง Standby หรือหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งมีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นหน่วยงานควบคุมเพื่อดำเนินการตามแผนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยได้เริ่มเปิดการปฏิบัติในช่วงแรก ระหว่างวันที่ 15 พ.ย. 2562 – 31 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา และได้เข้าช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 เป็นผลสำเร็จตามเป้าหมาย เช่นการที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2563 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ทั้อีกทั้งยังได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเป็นประจำทุกอย่างวันอย่างต่อเนื่อง เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

     นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้เปิดแผนปฏิบัติการฝนหลวง สู้ภัยแล้ง ประจำปี 2563 เริ่มขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย 4 แผนหลัก คือ 1. แผนบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า เป้าหมายเพื่อลดความหนาแน่นของหมอกควัน และลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 รวมทั้งการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้โดยส่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงไปยังภาคเหนือและภาคใต้ 

2. แผนการยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ เป้าหมายเพื่อบรรเทาและลดความเสียหายจากการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่การเกษตรโดยส่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงไปยังภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. แผนการป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง เป้าหมายเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้และเพิ่มปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เกษตรกรรม โดยส่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงไปยังทุกภูมิภาค และ 4. แผนการเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ เป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสำรองไว้เป็นน้ำต้นทุนในการบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้ง 

     ด้านนายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าในการปฏิบัติการกรมฝนหลวงฯ โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 หน่วยฯ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ กาญจนบุรี ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี ใช้อากาศยานรวม 29 ลำ แบ่งเป็น อากาศยานกรมฝนหลวงฯ จำนวน 22 ลำ บูรณาการร่วมกับกองทัพบกและกองทัพอากาศในการสนับสนุนอากาศยานและนักบินสำหรับปฏิบัติการฝนหลวง ได้แก่ อากาศยานจากกองทัพบก จำนวน 1 ลำ อากาศยานจากกองทัพอากาศ จำนวน 6 ลำ โดยมีผลปฏิบัติการฝนหลวงระหว่างวันที่ 17-20 ก.พ. 2563 ดังนี้ 1) เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ระยอง ปฏิบัติการฝนหลวง ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตร จ.ระยอง ในเขตพื้นที่อำเภอปลวกแดง และอำเภอวังเหนือ และพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์ และ 2) เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สุราษฎร์ธานี ปฏิบัติการฝนหลวง ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี 

 “สำหรับการช่วยบรรเทาปัญหาค่าฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 ขณะนี้ยังมีการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง Standby ได้ให้การช่วยเหลือพื้นที่ที่มีการร้องขอและช่วยบรรเทาปัญหาค่าฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 โดยผลการปฏิบัติงาน ในเดือนกุมภาพันธ์ตั้งแต่วันที่ 3-24 ก.พ. 2563  ที่ผ่านมา ได้ขึ้นบินปฏิบัติการ ฝนหลวงจำนวน 14 วัน 36 เที่ยวบิน คิดเป็นร้อยละ 83.33 จังหวัดที่มีรายงาน ฝนตก 13 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี ร้อยเอ็ด ยโสธร บุรีรัมย์ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ ซึ่งจาการปฏิบัติการได้ทำให้ปัญหาค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ต่างๆ ข้างต้น ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะได้ติดตามสภาพอากาศทั่วทุกภูมิภาคเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง หากสภาพอากาศเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวงจะเร่งเข้าช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทันที” รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง