1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตอบข้อซักถามจาก FAO ในเวที PSMA ครั้งที่ 3 ในมุมมองของรัฐในการสนับสนุน IUU Fishing
31 พ.ค. 2564
543
0
ผู้ช่วย รมว.กษ. ตอบข้อซักถามจาก FAO ในเวที PSMA ครั้งที่ 3 ในมุมมองของรัฐต่อการสนับสนุนการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing พร้อมสร้างความมั่นใจด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในระยะยาวต่อทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน
ตอบข้อซักถามจากFAOในเวทีPSMAครั้งที่3ในมุมมองของรัฐในการสนับสนุน
ตอบข้อซักถามจาก FAO ในเวที PSMA ครั้งที่ 3 ในมุมมองของรัฐในการสนับสนุน IUU Fishing

        นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการเสวนาในการประชุมระดับสูง PSMA ครั้งที่ 3 ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้กล่าวในที่ประชุมว่า รัฐบาลไทยได้กำหนดให้การต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย “IUU” เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ ปี พ.. 2558 โดยได้จัดทำ “Roadmap เพื่อใช้แก้ไขการทำประมง IUU ของประเทศไทยประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก คือ 1) กรอบกฎหมาย 2) การบริหารจัดการทรัพยากรประมงและการจัดการกองเรือไทย 3) การตรวจติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง (MCS) 4) การบังคับใช้กฎหมาย 5) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ และ 6) แรงงานในภาคการประมง ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ในระยะยาวและการใช้ทรัพยากรทางทะเล รวมถึงระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        สำหรับการนำมาตรการรัฐเจ้าของท่า (PSMA) มาใช้สำหรับการตรวจสอบเรือประมงต่างประเทศที่ประสงค์จะเข้าเทียบท่าเรือของไทย มีส่วนช่วยป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยได้ปฏิรูปข้อกฎหมายให้มีความสอดคล้องตามหลักการของ PSMA ทำให้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นรัฐเจ้าของท่าสามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเรือและสัตว์น้ำว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUU ก่อนอนุญาตให้เข้าเทียบท่า หรือสามารถปฏิเสธการเข้าเทียบท่าของเรือประมงต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUU ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ในระยะยาว และเป็นใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

        อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้มาตรการรัฐเจ้าของท่าของไทยก็มีความท้าทายด้วยเช่นกัน เช่น การที่ประเทศไทยดำเนินการอย่างเข้มแข็งเช่นนี้ส่งผลให้ผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะนำสินค้าประมงที่ได้จากกการทำประมงแบบ IUU ไปยังท่าเรือประเทศอื่น ๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุม และส่งต่อสินค้าเหล่านั้นกลับมาช่องทางอื่น ทำให้เกิดความท้าทายเป็นอย่างมากในการตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของสินค้าเหล่านั้น โดยปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ได้ หากทุกประเทศมีกฎหมาย ระเบียบที่เข้มแข็งในการควบคุม ตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำที่เข้าประเทศของตน หรือการเข้าร่วมเป็นภาคีของความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่าก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการขจัดปัญหาดังกล่าว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง