1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
สวพส. มุ่งฟื้นฟูป่า พัฒนาน้ำ แก้จนคนพื้นที่สูง ช่วยเกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท
24 ก.ย. 2564
581
0
สวพส. มุ่งฟื้นฟูป่า พัฒนาน้ำ แก้จนคนพื้นที่สูง ช่วยเกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท
สวพส.มุ่งฟื้นฟูป่าพัฒนาน้ำแก้จนคนพื้นที่สูง
สวพส. มุ่งฟื้นฟูป่า พัฒนาน้ำ แก้จนคนพื้นที่สูง ช่วยเกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท

              “น้ำ” แหล่งทรัพยากรสำคัญของเกษตรกร โดยเฉพาะชุมชนบนพื้นที่สูงที่ต้องใช้ในการอุปโภคบริโภคและการทำเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านแหล่งน้ำของชุมชนบนพื้นที่สูงได้ถึง 104 ชุมชน เป็นน้ำอุปโภคบริโภค 16 แห่ง และน้ำเพื่อการเกษตร 222 แห่ง มีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 1,263 ครัวเรือน 3,606 ราย ความจุน้ำ 50,886 ลบ.ม. เกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท

                นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยถึง ความสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ว่า โครงการฯดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชนอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะชุมชนบนพื้นที่สูง ที่เกษตรกรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และใช้ในการทำเกษตร มีความมั่นคงทางอาหาร มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้องค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของโครงการหลวง ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางของโครงการหลวง โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก จึงเป็นการพัฒนานวัตกรรมการส่งมอบการให้บริการแก่ชุมชน เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ตอบโจทย์ความต้องการการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน เกิดการพัฒนาชุมชนได้ตรงตามความต้องการ และตามภูมิสังคมชุมชน และตามภูมิศาสตร์ในที่นั้น ๆ โดยคำนึงถึง “การดำเนินงานอย่างรวดเร็ว เร่งด่วน มีส่วนร่วมของชุมชน ทันท่วงที และใช้งานได้….. ” รูปแบบแหล่งกักเก็บน้ำของการส่งเสริมการพัฒนาแตกต่างกัน อยู่ที่ความต้องการของชุมชน อาทิ ถังเก็บซีเมนต์เก็บน้ำ ถังเก็บน้ำ (บ่อวง) บ่อขุดปูพลาสติก ชนิด LDPE และ HDPE ถังเก็บน้ำขนาด 1,000 ลิตร และ ท่อน้ำ PVC ระบบกระจายน้ำขนาดเล็ก ระบบน้ำดื่มสะอาด เป็นต้น เป็นการพัฒนาระบบน้ำที่ประหยัดคุ้มค่า คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าสูงต่อยอดเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งการดำเนินงานโครงการมีวิธีการดังนี้

1.วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จากนั้น “จัดทำฐานข้อมูลการพัฒนาแหล่งน้ำ” โดยนำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินรายแปลงของชุมชน ข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ แหล่งน้ำ ลำห้วย พื้นที่รับน้ำธรรมชาติ ระดับวิกฤตของสถานการณ์ภัยแล้งของชุมชน เข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์เทคโนโลยี GIS เพื่อหาความเหมาะสมในการสนับสนุนพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2.ส่งเสริมพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กได้ตรงตามความต้องการของชุมชน โดยชุมชนมีบทบาทในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้วยตนเอง

3.ติดตามและประเมินผล เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางปรับปรุง แก้ไข ป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำสำหรับการพัฒนางานส่งเสริมในครั้งต่อไป โดยคำนึงถึงการใช้งานได้จริง

4.ถอดบทเรียนความสำเร็จขยายผลสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของของโครงการสนับสนุนให้ชุมชนมีการตั้ง คณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการน้ำ กลุ่มการใช้น้ำ รวมถึงถอดองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่กิจกรรมสู่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ ต่อยอดได้ด้วยตนเอง

                จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านแหล่งน้ำของชุมชน 104 ชุมชน เป็นน้ำอุปโภคบริโภค 16 แห่ง และน้ำเพื่อการเกษตร 222 แห่ง มีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 1,263 ครัวเรือน 3,606 ราย ความจุน้ำ 50,886 ลบ.ม. เกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท จากภาคการเกษตรหลังจากได้รับการสนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ของครอบครัวที่พอเพียงแก่การดำรงชีวิตขั้นต้น ชุมชนสามารถต่อยอดการพัฒนา ปรับระบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ 11,603 ไร่ โดยลดการเสียหาย/พัฒนาคุณภาพของผลผลิตเดิม และสามารถปลูกพืชทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ใช้พื้นที่น้อย และพืชที่ปลูกมีมูลค่าสูง ทดแทนพืชเดิมที่ต้องอาศัยน้ำฝน สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับชุมชน เช่น ข้าว พืชผักในโรงเรือน/ นอกโรงเรือน ไม้ผลยืนต้น ไม้ผลอายุสั้น-กลาง กาแฟ ไม้เศรษฐกิจ Food bank ปศุสัตว์ ฯลฯ

ชุมชนไม่บุกรุกทำลายป่า ขยายพื้นที่ทำกิน และมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าต้นน้ำลำธาร สร้างความชุ่มชื้น และเพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศ 253,924 ไร่  มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น จากการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น และไม้เศรษฐกิจ 58 ชนิด มีกลุ่มชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ลดความขัดแย้งในการใช้แหล่งน้ำ   เกิดโครงการต้นแบบ และชุมชนต้นแบบ ในการพัฒนาแหล่งน้ำบนพื้นที่สูง และการบริหารจัดการน้ำ ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า สู่การพัฒนาชุมชนตามแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับรางวัลในระดับประเทศ (รางวัลเลิศรัฐ จาก กพร., รางวัลผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ จาก สทนช.) เป็นการสื่อสารผลสำเร็จรวมทั้งยกระดับขององค์กร สร้างการยอมรับจากสาธารณชนและหน่วยงานและสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ตัวอย่างที่ดี ขยายผลสำเร็จไปสู่ชุมชนบนพื้นที่สูงในประเทศต่อไป

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง