1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กรมชลฯ สั่งระดมเครื่องจักร เครื่องมือ สูบระบายน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด
5 พ.ย. 2564
329
0
กรมชลฯ สั่งระดมเครื่องจักร เครื่องมือ สูบระบายน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด
กรมชลฯสั่งระดมเครื่องจักร
กรมชลฯ สั่งระดมเครื่องจักร เครื่องมือ สูบระบายน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (5 พ.ย. 64) สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำเก็บกักรวม14,626 หรือ 59% ของความจุอ่างรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 7,930 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 10,334 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านเริ่มลดลง โดยในวันนี้มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ประมาณ 2,293 ลบ.ม./วินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำ 2,219 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนในลุ่มน้ำท่าจีนยังคงมีระดับน้ำสูงอยู่ และเนื่องจากในปีนี้มีปริมาณน้ำที่ไหลหลากมาจากทางตอนบนเป็นจำนวนมาก กรมชลประทาน ทำการระบายน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำ มีปริมาณการรับน้ำสะสมประมาณ 301.82 ล้าน ลบ.ม.หรือ 75% ของแผนการรับน้ำ พื้นที่ลุ่มต่ำตอนล่างลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีปริมาณการรับน้ำสะสม 398.80 ล้าน ลบ.ม. หรือ 91% ของแผนการรับน้ำ  พื้นที่ลุ่มต่ำตอนล่างลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีปริมาณการรับน้ำสะสม 1,403.69 ล้าน ลบ.ม. หรือ 162% ของแผนการรับน้ำ

ด้วยสถานการณ์น้ำในทุ่งเจ้าเจ็ดมีปริมาณมาก ทำให้ปริมาณน้ำในคลองพระยาบันลือมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกินระดับสูงสุด โครงการจึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำเข้าพื้นที่ผ่านคลองสายหลัก 5 คลอง ได้แก่ คลองญี่ปุ่นใต้ คลองขุนศรี คลองลากค้อน คลองขุดใหม่ และคลองพระอุดม ซึ่งอาจจะส่งผลให้ระดับน้ำในคลองสายหลักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ ต.ท้ายเกาะ อ.สามโคก ต.คลองพระอุมดม อ.เมือง ต.หน้าไม้ ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ต.ราษฏร์นิยม ต.ไทรใหญ่ ต.ไทรน้อย ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย ต.ละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ต.บางภาษี ต.บัวปากท่า ต.นิลเพชร ต.ไทรงาม อ.บางเลน จ.นครปฐม

ทั้งนี้ อธิบดีฯ สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ โครงการส่งน้ำแลับำรุงรักษาผักไห่ โครงการฯเจ้าเจ็ด โครงการฯพระยาบรรลือ โครงการฯพระพิมล และโครงการฯภาษีเจริญ เตรียมรับปริมาณน้ำที่ระบายจากพื้นที่ทางตอนบน โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพในการเร่งระบายน้ำออกจากทุ่งลุ่มต่ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบกับประชาชนให้มากที่สุดตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมให้ระดมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมและเดินเครื่องสูบน้ำให้เต็มกำลังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ชุมชนและเส้นทางสัญจร นอกจากนี้ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในพื้นที่ จ.นครปฐม กว่า 100 เครื่อง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำที่ท่วมขังให้ไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทยโดยเร็วที่สุด

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง