1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
กระทรวงเกษตรฯ รุกขับเคลื่อนเกษตรมูลค่าสูง เชื่อมโยง BCG ราชบุรี
8 ก.ค. 2565
631
0
กระทรวงเกษตรฯ รุกขับเคลื่อนเกษตรมูลค่าสูง เชื่อมโยง BCG ราชบุรี หยิบงานวิจัยมาแก้ปัญหา เร่งสร้างโมเดลต้นแบบเพื่อต่อยอดและขยายผลในหลายพื้นที่
กระทรวงเกษตรฯรุกขับเคลื่อนเกษตรมูลค่าสูง
กระทรวงเกษตรฯ รุกขับเคลื่อนเกษตรมูลค่าสูง เชื่อมโยง BCG ราชบุรี

จากนโยบายสู่การปฏิบัติจริง กระทรวงเกษตรฯ หนุน สวก. นำงานวิจัยมาแก้ปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ ดันราชบุรีโมเดลเป็นพื้นที่ต้นแบบ ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน BCG Model เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นการทำงานเชิงพื้นที่ โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตลอด Value Chain โดยวิเคราะห์โจทย์ความต้องการและกำหนดสินค้าเกษตรเป้าหมายในจังหวัดราชบุรี ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม อ้อยโรงงาน โคนม สุกร กุ้งก้ามกราม และพืชผัก    โดยบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ คณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตร หอการค้าไทย ร่วมกับ BCG สาขาต่างๆ โดยเฉพาะสาขาเกษตร ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ภายใต้การกำกับดูแลของ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนับสนุนทุนวิจัยจำนวน 4 โครงการ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตรแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area based) จังหวัดราชบุรี ได้แก่ 1) โครงการ Sandbox ในการวางระบบการควบคุมโรคและฟื้นฟูฟาร์มสุกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่นำร่องจังหวัดราชบุรี (กรมปศุสัตว์) โดยร่วมกับภาคเอกชนทดสอบนำหลักการ Sandbox มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมและฟื้นฟูฟาร์มสุกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคปากและเท้าเปื่อยและอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่นำร่องในจังหวัดราชบุรี 2) โครงการพัฒนาระบบการเพิ่มผลผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ (พรีเมี่ยม) เพื่อการเพิ่มมูลค่าและเสริมสร้างศักยภาพการส่งออก (กรมประมง) โดยการพัฒนาระบบการจัดการ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้สามารถเพิ่มสัดส่วนผลผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนให้กับเกษตรกรจากการจำหน่ายที่สูงขึ้น 3) โครงการสร้างแปลงต้นแบบแม่พันธุ์และการพัฒนาระบบตรวจรับรองพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม GI จังหวัดราชบุรี(กรมวิชาการเกษตร) เป็นการพัฒนาระบบตรวจรับรองพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม GI จังหวัดราชบุรี และจัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งยีนความหอม และสารสำคัญของมะพร้าวน้ำหอมในแปลงปลูกมะพร้าวที่ขึ้นทะเบียน GI จังหวัดราชบุรี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการผลิตต้นกล้าและผู้นำพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมไปใช้ และ 4) โครงการออกแบบและพัฒนาเครื่องพ่นสารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชแบบเดินตาม    เพื่อการผลิตผักปลอดภัย (กรมวิชาการเกษตร) เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ชนิดใหม่ทดแทนวิธีการพ่นแบบเดิม คือ  คานประกอบหัวฉีด (Boom Sprayer) ที่พาละอองเข้าสู่ทรงต้นและใต้ใบผักได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพการทำงานเชิงไร่ดีกว่าวิธีการปกติของเกษตรกร 2-3 เท่า ซึ่งทั้ง 4 โครงการนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นโมเดลการบริหารจัดการ  การผลิตทางการเกษตร และส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับ B C และ G  ในพื้นที่นำร่อง จ.ราชบุรี       สร้างความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกร สร้างรายได้สูงอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกร     ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง