1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 133 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหมวิจัยปรับปรุงไหมพันธุ์ใหม่ ให้ผลผลิตสูงในภาคเหนือและในฤดูหนาว
9 มิ.ย. 2566
623
0
กรมหม่อนไหมวิจัยไหมพันธุ์ใหม่ พันธุ์ NAN X J108
กรมหม่อนไหมวิจัยปรับปรุงไหมพันธุ์ใหม่
กรมหม่อนไหมวิจัยปรับปรุงไหมพันธุ์ใหม่ ให้ผลผลิตสูงในภาคเหนือและในฤดูหนาว

กรมหม่อนไหมวิจัยไหมพันธุ์ใหม่ พันธุ์ NAN X J108 (ลูกผสมระหว่างพันธุ์เอ็นเอเอ็นและพันธุ์เจ108) สามารถเลี้ยงได้ดีในภาคเหนือ โดยเฉพาะในฤดูหนาวมากที่สุด ให้ผลผลิตรังไหมสูง รังไหมสีเหลืองขนาดใหญ่ น้ำหนักรังสดสูง และน้ำหนักเปลือกรังดี มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรังสูงขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรได้มากขึ้น

          นายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า การเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมในเขตภาคเหนือ เป็นการเลี้ยงไหมเชิงพาณิชย์ที่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมประกอบเป็นอาชีพหลัก มีผู้ประกอบการเข้ามารับซื้อผลผลิตรังไหม ซึ่งกรมหม่อนไหมได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหม่อนไหมตามนโยบายตลาดนำการผลิต ในระบบเกษตรพันธสัญญา มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกัน (Contract Farming) ซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการมีความต้องการ รับซื้อผลผลิตรังไหมจากเกษตรกร 5,000 ตันต่อปี แต่เกษตรกรผลิตรังไหมได้เพียง 2,000 ตันต่อปี ยังเป็นการผลิต ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งสาเหตุหนึ่งพบว่าการที่เกษตรกรผลิตรังไหมได้จำนวนน้อย เนื่องจากขาดพันธุ์ไหมที่ให้ผลผลิตดีและมีความเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่และการเลี้ยงในแต่ละฤดูกาล ส่งผลทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงในการเลี้ยงไหมคือ มีประสิทธิภาพและเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดต่ำ จึงทำให้ในแต่ละปีผลผลิตรังไหมไม่เพียงพอต่อการป้อนส่งให้ผู้ประกอบการ

          เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในเชิงธุรกิจ กรมหม่อนไหมจึงได้วิจัยปรับปรุงไหมพันธุ์ไหมขึ้น เพื่อสร้างไหมที่มีความแข็งแรงและการเจริญเติบโตที่ดี สามารถเพิ่มผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพเส้นไหม นั่นก็คือไหมพันธุ์ NAN X J108 (ลูกผสมระหว่างพันธุ์เอ็นเอเอ็นและพันธุ์เจ108) จากไหมรังสีเหลืองสายพันธุ์เอ็นเอเอ็น (NAN) ผสมกับไหมรังสีขาวพันธุ์ J108 ซึ่งเป็นพันธุ์ต่างประเทศ โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่าไหมพันธุ์ใหม่ดังกล่าว สามารถเลี้ยงได้ดีให้ผลผลิตรังไหมสูงในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในฤดูหนาวมากที่สุด มีลักษณะทางเกษตรที่ดี รังไหมสีเหลืองขนาดใหญ่ น้ำหนักรังสดสูง และน้ำหนักเปลือกรังดี มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรังสูงขึ้น ประมาณ 20 - 21 เปอร์เซ็นต์ มีคุณลักษณะการสาวที่ดี สาวออกง่าย ให้ความยาวเส้นใยต่อรังมาก และสามารถเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตรังไหมได้สูง      

          “กรมหม่อนไหมมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มผลิต จึงได้นำงานวิจัยมาช่วยปรับปรุงพันธุ์ไหมจนได้ไหมพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกรมจะนำไหมพันธุ์ใหม่ดังกล่าวไปส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเขตภาคเหนือเลี้ยงในฤดูหนาว สลับกับการเลี้ยงไหมพันธุ์ที่เลี้ยงอยู่เดิมคือพันธุ์ เหลืองสระบุรี (J108 x นางลายสระบุรี) ในฤดูอื่น ๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตรังไหมได้มากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมั่นคงต่อไป” อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง