1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ไทย – เคนยา – โมซัมบิก ชูจุดแข็งทั้ง 3 ฝ่าย มุ่งผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรร่วมกัน
8 มี.ค. 2567
315
0
ไทย–เคนยา–โมซัมบิกชูจุดแข็งทั้ง3ฝ่าย
ไทย – เคนยา – โมซัมบิก ชูจุดแข็งทั้ง 3 ฝ่าย มุ่งผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรร่วมกัน

     นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การต้อนรับและร่วมหารือกับ นายคิปทิเนสส์ ลินด์ซีย์ คิมโวเล เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเคนยาประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Kiptiness Lindsay Kimwole) นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐโมซัมบิกประจำประเทศไทย และนายปรีชา ตรีสุวรรณ ประธานสมาพันธ์การค้าระหว่างประเทศ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และแสวงหาโอกาสทางการค้าสินค้าเกษตร พร้อมด้วยนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดีกรมการข้าว นายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และผู้แทนหน่วยงาน ได้แก่ สำนักการเกษตรต่างประเทศ กรมประมง และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมการหารือ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     สำหรับการหารือดังกล่าว ฝ่ายเคนยาประสงค์มีความร่วมมือในด้านการผลิตข้าว การทำประมง รวมไปถึงระบบชลประทานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร โดยขอรับการสนับสนุนองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากไทย และฝ่ายโมซัมบิกสนใจทำความร่วมมือในด้านการผลิตข้าว มะพร้าว และการทำประมง นอกจากนี้ ในระหว่างการหารือได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยฝ่ายเคนยาได้นำเสนอกลไกอุตสาหกรรมการผลิตกาแฟของเคนยา ซึ่งจะมีหน่วยงานกลางจับคู่ธุรกิจให้ผู้รับซื้อสามารถเข้าถึงเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้โดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ฝ่ายไทยมองว่าเรื่องดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้การกำกับดูแลของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีความประสงค์เพิ่มโอกาส เสริมศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคการเกษตรไทยผ่านระบบสหกรณ์การเกษตร โดยการหารือในวันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นให้ฝ่ายไทยได้ร่วมทำงานกับฝ่ายเคนยาและโมซัมบิกอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นต่อไป

    ทั้งนี้ สาธารณรัฐเคนยาเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 72 เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอันดับที่ 61 ของไทย ในระหว่างปี 2564-2566 โดยมีมูลค่าไทยส่งออกเฉลี่ยปีละ 2,115 ล้านบาท นำเข้าเฉลี่ยปีละ 38 ล้านบาท และไทยได้ดุลการค้าเฉลี่ย 2,077 ล้านบาทต่อปี สินค้าเกษตรสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ (831 ล้านบาท) น้ำตาล (818 ล้านบาท) ข้าว (224 ล้านบาท) ปลาทูนากระป๋อง (91 ล้านบาท) ยางพารา (28 ล้านบาท) และสินค้าเกษตรที่ไทยนำเข้า ได้แก่ ถั่วบีนแห้ง (21 ล้านบาท) ร็อกลอบสเตอร์และกุ้งหัวโขนอื่น ๆ (3 ล้านบาท) กุหลาบสด (3 ล้านบาท) เมล็ดกาแฟ (ไม่คั่ว) (3 ล้านบาท) และปูมีชีวิต สดหรือแช่เย็น (2 ล้านบาท)

    สำหรับ สาธารณรัฐโมซัมบิกเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 52 เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอันดับที่ 40 ของไทย ในระหว่างปี 2564-2566 มีมูลค่าส่งออกเฉลี่ยปีละ 3,159 ล้านบาท นำเข้าเฉลี่ยปีละ 77 ล้านบาท และไทยได้ดุลการค้าเฉลี่ย 3,083 ล้านบาทต่อปี สินค้าเกษตรสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ ข้าว อาทิ ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ ข้าวบาสมาติ (3,044  ล้านบาท) ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (80 ล้านบาท) ปลาทูนากระป๋อง (11 ล้านบาท) แป้งมันสำปะหลัง (8 ล้านบาท) และสินค้าเกษตรที่ไทยนำเข้า ได้แก่ กุ้งอื่นๆ อาทิ กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว แช่แข็ง (46.7 ล้านบาท)

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง