1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ปลัดเกษตรฯ ร่วมหารือกับ GIZ
20 มี.ค. 2567
147
66
ปลัดเกษตรฯ ร่วมหารือกับ GIZ
ปลัดเกษตรฯ ร่วมหารือกับ GIZ

      ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับนายฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูตและหัวหน้าแผนกเศรษฐกิจของสถานทูตเยอรมันประจำกรุงเทพฯ และนายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมันประจำประเทศไทย (GIZ) โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร. บุรินทร์ สุขพิศาล คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอานนท์ นนทรีย์ รองอธิบดีกรมการข้าว นายอาทิตย์ ศุขเกษม รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ผู้อำนวยการสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ และสำนักการเกษตรต่างประเทศ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า GIZ มีการดำเนินความร่วมมือที่ดีกับหลายหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้หยิบยกกรณีความร่วมมือโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์รวมที่จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีเกียรติยศประจำ ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 ซึ่งพบว่าเกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาด้านการจัดการดินและน้ำในการทำเกษตรกรรม และได้มอบหมายให้กรมชลประทานเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ มีแผนลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเดือนเมษายน 2567

     ในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทย ได้กล่าวชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญต่อดินและน้ำ เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่สามารถส่งผลต่อเนื่องไปยังปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ พร้อมเสริมว่า โครงการความร่วมมือระหว่าง GIZ กับไทยได้มุ่งเน้นทั้งการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate smart agriculture) ซึ่งถือเป็นวิกฤตภัยคุกคามที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ ทั้งนี้ GIZ ยินดีที่จะช่วยประเทศไทยในมิติที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนนโยบายและข้อแนะนำในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดการปล่อยมลพิษ ยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีกับเกษตรกร การสรรหาแหล่งเงินทุนให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่เกษตรรายย่อย ซึ่งนโยบายที่ GIZ พยายามจะขับเคลื่อนจะสอดคล้องกับ BCG Model ว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากร คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านอาหาร และการป้องกันสภาพภูมิอากาศ

    นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางในการขยายโอกาสความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ อาทิ ความสนใจในประเด็นคาร์บอนฟุตพรินท์และคาร์บอนเครดิต โอกาสที่ GIZ จะสามารถต่อยอดโครงการของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรด้าน climate change ที่ดำเนินงานร่วมกับ ADB ในปัจจุบัน  การดำเนินโครงการนำร่องด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในบางจังหวัด  การถอดบทเรียนแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการกับ GIZ  การแลกเปลี่ยนเกษตรกรเรียนรู้การทำเกษตรกรรมที่ตอบโจทย์ด้าน Climate change และ Climate smart ในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่เห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้งกลไกบริหารภาพรวมโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ GIZ ซึ่งจะต้องหารือในรายละเอียดต่อไป

      ทั้งนี้ การหารือในวันนี้ถือเป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้เห็นถึงภาพรวมของการดำเนินงานร่วมกันและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง