1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
พด.เร่งใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 บำบัดน้ำเน่าเสีย หลังน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรมย์ จ.ฉะเชิงเทรา
19 เม.ย. 2567
68
0
พด.เร่งใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 บำบัดน้ำเน่าเสีย หลังน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรมย์ จ.ฉะเชิงเทรา
พด.เร่งใช้สารเร่งซุปเปอร์
พด.เร่งใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 บำบัดน้ำเน่าเสีย หลังน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรมย์ จ.ฉะเชิงเทรา

          นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จากกรณีน้ำเค็มจากแม่น้ำบางปะกงไหลทะลักเข้าพื้นที่คลองประเวศบุรีรมย์และคลองสาขา ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 67 จนส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและพืชน้ำ รวมทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชน สัตว์น้ำในคลองสาขาเริ่มลอยตาย น้ำเค็มทำให้ผักตบชวาในคลองต่างๆ เริ่มเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น รวมทั้งพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่บ่อปลาน้ำจืดได้รับความเสียหาย โดยหลายฝ่ายได้เร่งแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการร่วมกัน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยเร็วที่สุด กรมพัฒนาที่ดิน โดยสถานีพัฒนาที่ดินฉะเชิงเทรา และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างน้ำในพื้นที่คลองประเวศบุรีรมย์ไปตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินระดับความเค็มของพื้นที่ โดยในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุดดินบางกอก ซึ่งมีลักษณะของดินเหนียว มีเนื้อดินละเอียด ระบายน้ำไม่ดี ซึ่งการแพร่ของน้ำเค็มไปได้ช้า โดยทางกรมชลประทานเร่งผันน้ำจืดเข้ามาตามลำคลองในพื้นที่ ซึ่งจะลดความเค็มลงได้มาก ทั้งนี้ในช่วงที่น้ำมีระดับความเค็มมากกว่า 0.5 ppt  ต้องระมัดระวังในการนำมาใช้เพาะปลูก จนกว่าระดับความเค็มจะลดลงโดยการเจือจางด้วยน้ำจืด จึงสามารถใช้พื้นที่เพาะปลูกตามปกติได้   ในส่วนของการแก้ปัญหาน้ำเสีย กรมพัฒนาที่ดินได้ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานและเกษตรกรให้ช่วยกันเก็บซากพืชลอยน้ำและซากสัตว์น้ำที่ตายขึ้นมา เพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่จะเน่าเสีย และได้ผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นจากสารเร่งซุปเปอร์พด.6 นำไปใช้ฉีดพ่น สำหรับการผลิตสารบำบัดน้ำเสียแบบเร่งด่วน  ซึ่งสามารถใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6  จำนวน 1 ซอง ขยายเชื้อในกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม และน้ำสะอาด  50 ลิตร โดยหมักเป็นเวลา 4 วัน เมื่อหมักแล้วสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียในอัตราน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำเสีย 10 ลูกบาศก์เมตร ทุกๆ 10 วัน

          สำหรับการปรับปรุงดินที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเค็ม ในช่วงต้นฤดูฝน แนะนำให้ฟื้นฟูดินตามชนิดพืช โดยทั่วไปให้ทำการระบายน้ำเค็มออกก่อน ถ้าในพืชผักให้ทำการยกร่อง ใช้แกลบดิบ และปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในแปลงปลูกพืช เพื่อเพิ่มความร่วนซุยและความชื้นของดิน และใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ที่ขยายในปุ๋ยหมักร่วมด้วยเพื่อกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนนาข้าวให้ใช้น้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ราด เพื่อช่วยให้ตอซังย่อยสลายได้เร็วขึ้นและทำการไถกลบ  

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง