1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 133 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กยท. เป็นเจ้าภาพจัดประชุม IRC โชว์งานวิจัย - นวัตกรรมระหว่างประเทศ สู่การยกระดับวงการยางพาราอย่างยั่งยืน
23 ก.พ. 2567
315
0
กยท.เป็นเจ้าภาพจัดประชุม
กยท. เป็นเจ้าภาพจัดประชุม IRC โชว์งานวิจัย - นวัตกรรมระหว่างประเทศ สู่การยกระดับวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

     การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับ สภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (International Rubber Research and Development Board: IRRDB) จัดประชุมวิชาการยางระหว่างประเทศ (International Rubber Conference : IRC 2024) โดยมีตัวแทนจากสถาบันวิจัยยาง 19 ประเทศสมาชิกเข้าร่วม ภายใต้แนวคิด “จุดประกายเสริมสร้างนวัตกรรมยางพารามุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี มุ่งผลักดันงานวิจัย - นวัตกรรมสู่การพัฒนาวงการยางตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาง พร้อมรับมือความท้าทายในทุกมิติ

     นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กยท. เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการยางระหว่างประเทศ (IRC) ภายใต้แนวคิด "จุดประกายเสริมสร้างนวัตกรรมยางพารามุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของสภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (International Rubber Research and Development Board: IRRDB) ซึ่งเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาจากสถาบันวิจัยยางธรรมชาติในประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติ ปัจจุบันมีสมาชิก 19 ประเทศ (บังกลาเทศ บราซิล กัมพูชา แคเมอรูน จีน โกตดิวัวร์ ฝรั่งเศส กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย ไลบีเรีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ไนจีเรีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม และไทย) โดยนักวิจัยจะนำเสนอผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น ประสบการณ์  ถือเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยางที่ยั่งยืน สามารถขับเคลื่อนวงการยางพาราทั้งระบบให้พร้อมรับมือกับ
ความท้าทายที่กำลังเผชิญและในอนาคตได้

      นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้มีงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นไฮไลท์ สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานที่น่าสนใจ ได้แก่ โมเดลระบบกรีดยางที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต การจัดการความยั่งยืนจากเกษตรกรรายย่อยที่ประสบสำเร็จ นวัตกรรมในการบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร การผลิตพลังงานทางเลือกจากยางธรรมชาติ และการวิจัยด้านคุณสมบัติถุงมือยางธรรมชาติที่ไร้โปรตีน ซึ่งชิ้นงานเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อยกระดับยางพาราตามมาตรฐานสากล นำไปสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ลงพื้นที่เรียนรู้ ศึกษากระบวนการรวบรวมผลผลิตและการส่งน้ำยางขายให้พ่อค้าคนกลาง ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบางบุตร จังหวัดระยอง และกระบวนการผลิตแผ่นรมควัน (RSS) ของสหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด จ.ชลบุรี

      “เวทีนี้ จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในวงการยาง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายทุกความคิดเห็น และมุมมองที่หลากหลาย จะนำไปสู่การกำหนดแนวทางร่วมกัน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมยางให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งประโยชน์ที่จะเกิดกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย นำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรฯ อย่างเป็นรูปธรรม” ผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย  

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง