1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 133 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ฝนตอนบนลดลง กรมชลฯ ปรับลดการระบาย ลดผลกระทบท้ายเขื่อน พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
12 มิ.ย. 2568
120
0
ฝนตอนบนลดลงกรมชลฯปรับลดการระบายลดผลกระทบท้ายเขื่อน
ฝนตอนบนลดลง กรมชลฯ ปรับลดการระบาย ลดผลกระทบท้ายเขื่อน พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

      ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC)กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำว่า ปัจจุบัน (11 มิถุนายน 68) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 43,201 ล้าน ลบ.ม. (56% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรองรับน้ำได้อีก 33,289 ล้าน ลบ.ม.  เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 13,126 ล้าน ลบ.ม. (53% ของความจุอ่างฯ รวมกัน)  สามารถรองรับน้ำได้อีก 11,745 ล้าน ลบ.ม. 

      สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ปัจจุบันมีปริมาณฝนลดน้อยลง จึงส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จังหวัดนครสวรรค์ ลดลงอยู่ในอัตรา 662 ลบ.ม.ต่อวินาที  โดยที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ได้ปรับลดการระบายลงเหลือ 250 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งการปรับลดดังกล่าวเป็นไปตามสถานการณ์ฝนที่เริ่มลดลงในบางพื้นที่ของตอนบน และเป็นการลดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำด้านท้ายเขื่อน โดยเฉพาะเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี  แต่ถึงอย่างไรยังคงต้องติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังคงอยู่ในช่วงฤดูฝน

        ทั้งนี้ กรมชลประทานจะติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด  พร้อมปฏิบัติตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) ด้วยการ กำหนดพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทภัยซ้ำซาก รวมทั้งกำหนดคนและทรัพยากร  ติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ  มีการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณน้ำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการตรวจสอบสภาพความมั่นคงของอาคารชลประทานให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ มีการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างสม่ำเสมอ  และเตรียมพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ เข้าประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที   ตามข้อสั่งการของ ของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง