1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 133 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพร้อมมาตรการรับมืออุทกภัยและภัยพิบัติ ในห้วงกรกฎาคมนี้
2 ก.ค. 2568
195
0
กระทรวงเกษตรฯเตรียมพร้อมมาตรการรับมืออุทกภัยและภัยพิบัติ
กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพร้อมมาตรการรับมืออุทกภัยและภัยพิบัติ ในห้วงกรกฎาคมนี้

กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพร้อมมาตรการรับมืออุทกภัยและภัยพิบัติ ในห้วงกรกฎาคมนี้

     นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยพิบัติต่าง ๆ โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ ชั้น 3 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน และผ่านระบบประชุมออนไลน์ ว่า จากการประชุมดังกล่าว รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้มีข้อสั่งการเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ ดังนี้ 1) มอบหมายกรมชลประทานตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ให้พร้อมใช้งาน และเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ พร้อมให้การช่วยเหลือ 2) ติดตามสถานการณ์ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อแจ้งเตือนเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเตรียมรับสถานการณ์ 3) เมื่อเกิดภัยให้เร่งระดมทรัพยากรให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เช่น เครื่องสูบน้ำ เรือตรวจการณ์ เสบียงอาหารสัตว์ ถุงยังชีพสัตว์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น รวมทั้งบูรณาการทำงานกับทุกส่วนราชการ และ 4) เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือตามระเบียบที่เกี่ยวข้องทันที

      สำหรับกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียม “มาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน ปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” แบ่งเป็น

1)       การป้องกันและเตรียมความพร้อม ได้แก่

-         แผนป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ

-         พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2568 รอบที่ 1

-         การพัฒนาแหล่งน้ำ ขุดบ่อน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน

-         การขุดลอกปรับปรุงแหล่งน้ำในพื้นที่ ส.ป.ก. รวมทั้งก่อสร้างแหล่งน้ำ ฝายและระบบส่งน้ำ

-          ปฏิบัติการฝนหลวง

-          ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน

-          ตรวจสอบฟาร์มสัตว์ดุร้าย

-          ให้คำแนะนำพื้นที่ในการลดความเสี่ยง

-          วางแผนการอพยพสัตว์ สถานที่อพยพ และคอกพักสัตว์เคลื่อนที่

-          จัดทำบัญชีทรัพยากร ยานพาหนะเครื่องจักรกล เครื่องมือ เป็นต้น

2)        การเผชิญเหตุ และการบรรเทาทุกข์ ได้แก่

-          เร่งระบายน้ำ

-          อพยพสัตว์ สนับสนุนเสบียงอาหารสัตว์ ดูแลสุขภาพสัตว์

-          สนับสนุนเรือตรวจการณ์และเจ้าหน้าที่

-          ช่วยเหลือและแจ้งเตือนสถานการณ์

-          กรณีฝนน้อยกว่าค่าปกติ : ปฏิบัติการฝนหลวง/สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เป็นต้น

3)       การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม ได้แก่

-          สำรวจและประเมินความเสียหาย

-          จัดหน่วยเคลื่อนที่

-          สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ เมล็ดพันธุ์ดี

-          ซ่อมแซมโครงสร้างด้านชลประทาน เครื่องมือ เครื่องจักรกล

-          บำบัดน้ำเสีย ปรับปรุงบำรุงดิน

-          ลดภาระหนี้สิน/สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

         นอกจากนี้ ที่ประชุมได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงและการเตรียมมาตรการรับมืออุทกภัยในห้วงเดือนกรกฎาคม 2568 และการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัย และมาตรการรับมืออุทกภัยในจังหวัดที่มีความเสี่ยงจะเกิดปัญหาอุทกภัยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2568 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร อีกด้วย

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง