พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการประมง
  •           ตั้งขึ้นเป็นทางการมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อกระทรวงเกษตราธิการในสมัยนั้นตั้งกองบํารุงรักษาสัตว์น้ําขึ้น และได้จ้าง ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิท (Dr. Hugh McCormic Smith) ผู้ชํานาญการพิเศษเรืองสัตว์นํา ชาวอเมริกันมาเป็นผู้วาง โครงการจัดตั้งหน่วยงานในด้านนี้ขึ้น ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิท ได้ทําการสํารวจพันธุ์สัตว์น้ําทั้งในน้ำจืด และทะเลทัวราชอาณาจักร และได้เสนอรายงานพร้อมทั้งเสนอโครงการตั้งหน่วยงานบํารุงรักษา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ กรมรักษาสัตว์น้ําจึงได้ตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่บํารุงรักษาและเพาะพันธุ์สัตว์นํา ดูแลและแนะนําแนวทางในการขยายการจับสัตว์น้า เพื่อเป็นสินค้าภายในและภายนอกประเทศ กําหนดเขตและฤดูกาลที่อนุญาตจับสัตว์นํา กําหนดเครืองมือสําหรับจับสัตว์นํา การอนุญาตและออกอาญาบัตรจับสัตว์นํา (กจช. เอกสารรัชกาลที่ ๗ ที่ กษ. ๒/๒ เรือง "ตังกรมรักษา สัตว์นํา") ในปัจจุบันกรมรักษาสัตว์น้ําก็คือ กรมประมง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ทั้งประมงน้ำจืด และประมงน้ําเค็ม ซึ่งผลผลิตในด้านการประมงของไทยจัดเป็น ๑ ใน ๑๐ ของประเทศที่มีปริมาณการจับสัตว์น้ําได้สูงสุดของโลก แต่ทว่านั้นคือตัวเลขที่มาจากการประมงน้ำเค็มซึ่งผู้ประกอบอาชีพไม่ใช่ ชาวบ้านธรรมดา ชาวบ้านไทยส่วนใหญ่ทําการประมงน้ําจืดซึ่งเป็นการประมง แบบยังชีพ จับปลากันตามแม่น้าลําคลอง หนองบึง ทะเลสาบ บ่อเลี้ยง และอ่างเก็บนําเหนือเขื่อน ด้วยเครืองมือจับปลาแบบพื้นบ้าน เพียงเพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านัน ส่วนการจับสัตว์น้ำเพื่อการค้าจะมีเฉพาะในบริเวณที่ราบลุ่มริม ฝังแม่น้ำสําคัญๆ เท่านั้น เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำสะแกกรัง เป็นต้น

  •           การปล่อยปลาถือเป็นธรรมเนียมการทําบุญอย่างหนึ่งของคนไทยมาแต่ โบราณ นอกจากจะเป็นกุศลแก่ผู้ทําแล้วยังเป็นการขยายพันธุ์ปลาและเพิ่ม ปริมาณปลาตามลํานําอีกด้วย

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ํา ทุกแห่งที่ได้มีพระราชดําริให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ํา ก็จะทรงพัฒนาการ ประมงร่วมด้วย ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่ทรงปล่อยปลาในทุกแหล่งน้ํา และจากพระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ว่า

              "...เพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากปลาในอ่างฯ อย่างแท้จริง ควรจัดตังกลุ่มสหกรณ์การจับปลาไนเวลาเดียวกันกับทีมีการจับปลาก็ควรจะมีการลงทุนเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปลาด้วย ถ้าสามารถศึกษาและทําให้การจับปลาบริเวณนี้เป็นระเบียบ เรียบร้อยได้ โดยไม่แย่งกันเอาเปรียบกัน ไม่ทําลายพันธุ์ปลา ปลาก็ไม่สูญพันธุ์ สามารถจับปลาได้ตลอดไป ก็จะเป็นทางที่ เหมาะสม และจะได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับอ่างเก็บน้ำแห่งอื่นๆ ต่อไป..."

              การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ เป็นเหตุให้ได้ทอดพระเนตรความ เป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฎร ชาวบ้านส่วนใหญ่ยากจนและขาดสารอาหาร ประเภทโปรตีน จึงทําให้เป็นโรคขาดอาหารกันมาก เนื้อสัตว์ที่มีราคาถูกซึ่งพอ จะหาซื้อมาบริโภคได้ ได้แก่ ปลาซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยมาแต่ดั้งเดิมจนมี คํากล่าวที่ว่า “ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว” แต่นับวันจํานวนปลาที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติก็ร่อยหรอลงเรื่อยๆ เพราะจํานวนพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทําให้ ปลาโตไม่ทันการบริโภค

              เพื่อเพาะพันธุ์ปลาและขยายพันธุ์ปลาให้ราษฎรได้บริโภคอย่างเพียงพอ จึงทรงเริ่มต้นศึกษาและทดลองขยายพันธุ์ในบ่อปลาสวนจิตรลดาที่กรมประมงได้ขุดและจัดทําขึ้น พันธุ์ปลาต่างๆ ที่ทรงเพาะเลี้ยงไว้ มีทั้งที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทยและพันธุ์ต่างประเทศ ทรงเลือกเพาะพันธุ์เฉพาะปลาพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย เจริญ เติบโตไว และสามารถนําไปเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ําทุกภูมิภาคได้ เมื่อทรงเห็นว่า ได้ผลดีแล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพันธุ์ปลาเพื่อนําไปแจกจ่ายให้แก่ ราษฎรต่อไป

  •           ปลาน้ำจืดที่มีอยู่ทัวไปและมีราคาย่อมเยา คือ ปลานิล ปลานิลจึงเป็นปลาพื้นๆ ที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่จะมีสักก็คนที่รู้ว่าปลานิลมิใช่ปลาพื้นบ้านของไทย หากเป็นปลาที่ได้ทรงนํา มาขยายพันธุ์ให้ราษฎรไทยได้มีอาหารดี ราคาถูกไว้บริโภค

              ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราช ดําริให้กรมประมงนําพันธุ์ปลาหมอเทศที่ได้มาจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซียมาทดลองเลี้ยงในบ่อปลาสวนจิตรลดา เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นปลาน้ําจืดที่เลี้ยง ง่ายและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ต่อมาได้พระราชทานลูกปลาหมอเทศเหล่านั้นแก่กํานันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศที่เข้าเฝ้าฯ เพื่อให้นําไปแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ําธรรมชาติ นับแต่นั้นมาปลาหมอเทศได้กลายเป็นปลาที่ชาวบ้านทั่วไปคุ้นเคย หน้าตาคล้ายปลาหมอแต่มีเนื้ออุดม เหมาะแก่การบริโภคและยังราคาถูกอีกด้วย

              เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เจ้าฟ้าชาย อะกิฮิโต มกุฎราชกุมาร แห่งประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯ ถวายลูกปลาพันธุ์เดียวกับปลาหมอเทศแต่เจริญเติบโตง่าย ทนทาน ออกลูกง่าย จํานวน ๒๕ คู่ ทรงนําไปเลี้ยงไว้ที่บ่อปลาสวนจิตรลดา ปรากฏว่าปลาชนิดนี้ขยายพันธุ์รวดเร็วมาก ต้องขุดบ่อเพิ่มขึ้นอีก ๖ บ่อ หนึ่งปีต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อปลาพันธุ์นี้ว่า "ปลานิล" และได้ พระราชทานพันธุ์ปลา ๑๐,๐๐๐ ตัว จากบ่อปลาสวนจิตรลดาแก่กรมประมง เพื่อให้นําไปแจกจ่ายเลี้ยงขยายพันธุ์ที่สถานีประมงของจังหวัดต่างๆ ทัวประเทศ แล้วแจกจ่ายให้แก่ราษฎรต่อไป เพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์นําของประเทศ

              หลังจากนั้น ปลานิลก็เป็นปลาสําคัญที่มาแทนที่ปลาหมอเทศ เกษตรกร จํานวนมากทุกภูมิภาคสามารถยึดอาชีพเพาะเลี้ยงปลานิลขาย ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้นและยังทําให้ปลาชนิดนี้แพร่หลาย จนมีราคาถูก ราษฎรยากจนก็สามารถ ซื้อหาบริโภคได้ สมดังพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีอาหารโปรตีน

  •           การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเมืองไทยในรอบ ๕๐ ปีที่ผ่านมา มีผลโดยตรงต่อจํานวนพันธุ์ปลาพื้นเมืองที่ลดลง ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่แหวกว่ายตามธรรมชาติอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ ลดจํานวนลงอย่างรวดเร็ว บางชนิด ก็สูญพันธุ์ไปอย่างน่าเสียดาย

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาในข้อนี้ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงหาทางเพาะพันธุ์ปลาที่อยู่ตามลําน้ําดั้งเดิมเพื่อ ป้องกันการสูญพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ปลากะโห้ ซึ่งเป็นปลาน้ําจืดขนาดใหญ่ใน แม่น้ําเจ้าพระยา แม้ว่ากรมประมงจะผสมเทียมได้สําเร็จด้วยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จาก แม่น้ําเจ้าพระยา ใกล้เขื่อนชัยนาท แต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ก็ลดน้อยลงทุกวัน จึงพระราชทานคําแนะนําให้กรมประมงลองใช้ปลากะโห้ในสระสวนจิตรลดามา เพาะพันธุ์ เนื่องจากทรงจําได้ว่ามีปลากะโห้ในสระดังกล่าวและน่าจะมีอายุ ๔๐ - ๕๐ ปี รุ่นเดียวกับปลาในสวนดุสิตหรือเขาดิน ปรากฏว่าหลังจากนั้นอีก ๑ ปี คือในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ กรมประมงก็ประสบผลสําเร็จ สามารถผสมเทียม ปลากะโห้จากสระสวนจิตรลดา

              ซึ่งในข้อนี้ ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมประมงเคยกล่าวถึงไว้ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่า

              "...เป็นสมมติฐานที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งนะครับ และทรงรู้ ประวัติทุกสิ่งทุกอย่างในสวนจิตรลดา รู้ว่าปลามีอายุเท่าไร มาจากไหน และ เดียวนี้ก็เลยทําสําเร็จอย่างสม่ำเสมอมา ซึ่งถ้าเราทําไม่ได้อย่างนี้นะ" ผมว่าคงจะแย่เหมือนกัน เพราะว่าไม่มีพ่อแม่ปลาอีกแล้วนะครับ..."

              ปลาบึก เป็นปลาน้ำจืดสกุล Catfish ที่ใหญ่สุดในโลก มีเฉพาะในลําน้ำโขงช่วงที่ผ่านชายแดนไทย - ลาว อยู่ในสภาพที่ใกล้จะสูญพันธุ์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงให้กําลังใจแก่นักวิชาการใน การค้นคว้าในเรื่องนี้ตลอดมา จนในที่สุดกรมประมงก็สามารถผสมเทียมได้สําเร็จและได้นําปลาชุดแรกขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗

              นอกจากพันธุ์ปลาพื้นเมืองที่ให้อนุรักษ์ไว้ แม้ปลานิลก็มีรับสั่งให้ พยายามรักษาพันธุ์แท้เอาไว้ เพราะทรงสังเกตเห็นว่าปลานิลตามท้องตลาด กลายพันธุ์ไป มีขนาดเล็กลงและโตช้า พระราชดําริเหล่านี้ทางกรมประมงได้ น้อมรับมาดําเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากสวนจิตรลดา เป็นหลักในการควบคุมพันธุกรรม

              จึงกล่าวได้ว่าเป็นเพราะพระบารมีโดยแท้ที่ทําให้การอนุรักษ์พันธุ์ปลา เจริญก้าวหน้าด้วยดี

  •           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเป็นนักธรรมชาติวิทยาและนัก วิชาการที่ดี ทรงมีความช่างสังเกต หลายครั้งหลายหนที่พระองค์ได้ทรงแนะนําให้ นักวิชาการนําข้อสมมติฐานของพระองค์ไปค้นคว้าทดลอง เพื่อนําผลที่ได้มา พิจารณาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ราษฎร ตัวอย่างของงานทดลองที่ได้ประสิทธิผล ได้แก่ การใช้ปลากําจัดน้ำเสีย และการเลี้ยงปลาในพรุทางภาคใต้

              การใช้ปลากําจัดน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแส ในระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตําหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า ได้ทรงสังเกตเห็นว่ามีปลาหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำเสีย ได้ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำดี แต่มักจะว่ายไปบริเวณน้ำเสียชั่วครู่แล้วก็ว่ายออกมา ทรงตั้งสมมติฐานว่า ปลาเหล่านี้น่าจะเข้าไปกินสารอินทรีย์ในบริเวณน้ำเสีย เมื่ออิ่มแล้วหรือทนสภาพน้ำเสียไม่ไหวก็ว่ายหนีออกมา และการที่มันผุดขึ้นผุดลง จากน้ำเสียนั้น น่าจะเป็นเพราะต้องการขึ้นมาหายใจ ทรงแนะนําให้นักวิชาการ ของกรมประมงนําสมมติฐานนี้ไปทดลองที่บึงมักกะสัน ซึ่งปรากฏผลออกมา ว่าข้อสมมติฐานดังกล่าวถูกต้อง ปลาบางสกุลมีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่น ปลากระดี่ ปลาสลิด เหมาะแก่การเลี้ยงในน้ำเสีย และยังชอบกินสารอินทรีย์ซึ่ง ถ้าสารอินทรีย์ลดลงก็จะช่วยขจัดน้ำเสียได้ดีขึ้น นับเป็นการกําจัดน้ําเสียที่ต้นทุน ต่ำและยังสามารถเพิ่มผลผลิตการประมงจากแหล่งน้ําได้อีกด้วย

              การเลี้ยงปลาในพรุ ทางภาคใต้มีป่าพรุกินพื้นที่กว้างขวาง มีพระราชดำริว่า ในบริเวณพรุซึ่งเป็นกรดจัด น่าจะได้ใช้ประโยชน์ทางการประมงได้บ้าง จึง มีพระราชวินิจฉัยให้เลือกปลาธรรมชาติ เช่น พวกปลาดุก โดยเฉพาะปลาดุกลําพัน ปลากะทิง ปลาหมอ เป็นต้น ทดลองเลี้ยงในพรุ ซึ่งผลจากการทดลองก็ พบว่าปลาดุกลําพันเป็นปลาที่สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ําที่เป็นกรด นอกจากนั้นปลาสลิดซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจก็สามารถนํามาเลี้ยงได้ดีในน้ําที่ค่อนข้างเป็น กรดด้วย

              ต่อมาจึงรับสังให้กรมประมงดําเนินการทดลองในเชิงพาณิชย์ในบริเวณ โครงการศึกษาพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งในปัจจุบันกรมประมงก็ได้ ดําเนินการจัดทำ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนา พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ขึ้นสนองพระราชดําริ โดยได้ตั้งโครงการขึ้น ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ตําบลกะลุวอเหนือ อําเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อศึกษาวิจัยทางวิชาการ ส่งเสริมและสาธิตเพื่อเผยแพร่ งานวิจัยเกี่ยวกับการทดลองเลี้ยงปลาและศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกในบ่อน้ำเปรี้ยว ที่ปรับปรุงแล้ว งานวิจัยการทดลองเลี้ยงปลาสลิดในนาปลา โดยการปรับปรุงแปลงนา และปรับปรุงคุณสมบัติน้ำใหม่ด้วยการใส่ปูนขาว งานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังอ่างเก็บน้ําใกล้บ้าน และส่งเสริมให้การอบรมในการ เลี้ยงปลารวมถึงสาธิตการเลี้ยงปลากะพงขาว ปลากะพงแดง เป็นต้น

              นอกจากนี้แล้วยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริอื่นๆ อีกที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงรับไปดําเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ ให้เพียงพอแก่การบริโภค และเพิ่มพูนเทคโนโลยีในการทําการประมงให้ ก้าวหน้าทันสมัย เพื่อราษฎรจะสามารถทําเป็นอาชีพหลักได้อีกอาชีพหนึ่ง อาทิ
              ๑) โครงการส่งเสริมและสาธิตการเลี้ยงปลาในเขตพื้นที่อําเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
              ๒) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการประมง อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครสรีอยุธยา
              ๓) โครงการสาธิตการเลี้ยงปลาในเขตพัฒนาการเกษตร จังหวัดแม่ฮ่องสอน
              ๔) โครงการพัฒนาการประมงเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน จังหวัด น่าน
              ๕) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดงจังหวัดระยอง
              ๖) ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการประมงอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
              ๗) โครงการสาธิตการบําบัดน้ําเสียจากบ่อกุ้งโดยวิธีชีวภาพ จังหวัด นครศรีธรรมราช

              โครงการพัฒนาการประมงตามแนวพระราชดําริที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ นี้ส่งผลให้เกษตรกรหันมาสนใจการเลี้ยงปลาเพิ่มมากขึ้น ทั้งการเลี้ยงเพื่อบริโภค และการเลี้ยงเพื่ออาชีพ ราษฎรได้รับความรู้และเทคนิคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเข้าใจการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ

  •           ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี กุ้งกุลาได้กลายเป็นสินค้าออกสําคัญของ การประมงไทย ผลที่ตามมาคือป่าชายเลนซึ่งเป็นสาธารณสมบัติถูกบุกรุกทําลาย สัตว์น้ำที่เคยอาศัยตามบริเวณป่าชายเลนลดจํานวนลงอย่างน่ากลัว น้ำทะเล เอ่อล้น ส่วนน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากนากุ้งก็ก่อความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม ต่อแหล่งน้ำของราษฎร และพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียง และยังสร้างความขัดแย้ง ขึ้นในชุมชนระหว่างคนทํานากุ้งกับชาวประมงชายฝั่ง

              สภาพเช่นนี้ เกิดขึ้นทั่วไปในพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุก เช่น ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม แถบชายฝั่งภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และกําลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในชายฝั่งทะเลอันดามัน

    อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี

              เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง มอบหมายให้ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เสด็จสํารวจพื้นที่บริเวณอ่าว คุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี พบว่าสภาพป่าชายเลนรอบชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนนั้นมีพื้นที่บางส่วนมีสภาพป่าเสื่อมโทรม มีราษฎรบุกรุกเข้า จับจองประกอบอาชีพอยู่จํานวนหนึ่ง ตัวอ่าวคุ้งกระเบนเองก็มีลักษณะธรรมชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นอ่าวใหญ่ที่ค่อนข้างปิด มีป่าชายเลนล้อมรอบ ติดกับบริเวณ อ่าวมีหาดทรายยาว ส่วนที่เชื่อมกันระหว่างอ่าวและหาดทรายเป็นสันทรายสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสภาพดังกล่าวเหมาะสมที่จะใช้เป็น สถานศึกษาการพัฒนาทางด้านฝั่งตะวันออกเพราะมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแทนของ ภูมิภาคนี้ได้ จึงทรงมอบหมายให้กรมประมงดําเนินการจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อศึกษาและพัฒนาการเพาะเลี้ยงชายฝั่งและจัดตั้งสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์แก่ราษฎรและชุมชนโดยรอบ ณ ตําบลคลองขุด อําเภอท่าใหม่ จังหวัด จันทบุรี

              จากการศึกษาวิจัยโดยกรมประมงพบว่าสัตว์น้ำที่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพ ในพื้นที่นี้ได้มี ๒ ชนิด คือ การเลี้ยงกุ้ง ทั้งกุ้งกุลาดํา กุ้งทะเล และการ เลี้ยงปลาในกะซัง ได้ผลดีทั้งปลากะพงขาว ปลากะรังและปลาเกํา

              นายวิเชียร สาคเรศ ผู้อํานวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้เล่าถึงการเลี้ยงกุ้งว่า พื้นที่ที่เหมาะแก่การเลี้ยงกุ้งมากที่สุด คือพื้นที่บริเวณ หลังแนวป่าชายเลน ไม่ใช่พื้นที่ที่ราษฎรชอบเข้าไปบุกรุกทํานากุ้ง เพราะพื้นที่ ป่าชายเลนมีสภาพดินเป็นกรดสูงเกินไป ไม่เหมาะแก่การทํานากุ้ง

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริให้ศึกษาหาวิธีการเลี้ยงกุ้งแบบไม่สร้างมลภาวะหรือเรียกว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนา ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้คือ ในกรณีที่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่ครึ่ง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรก ๕ ไร่ใช้เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนที่สอง ๑ ไร่ ใช้เป็นบ่อเก็บน้ำทะเลไว้ เติมน้ําให้แก่บ่อเลี้ยง และส่วนที่สาม ครึ่งไร่ใช้เป็นบ่อเก็บเลน

              ตลอดการเลี้ยงจะไม่มีการถ่ายเทน้ำเสียออกจากบ่อกุ้ง หากปริมาณน้ำลดลงจะเอาน้ำจากบ่อเก็บมาเติม ซึ่งที่บ่อเก็บน้ำนี้จะมีระบบบําบัดน้ำเสียแบบ ชีวภาพรักษาคุณภาพของน้ำ โดยใช้หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเลมาเป็นตัวบําบัด แล้วปล่อยปลาลงไปเป็นตัวควบคุมความสมดุลไม่ให้หญ้าและสาหร่ายทะเลเจริญ เติบโตเร็วเกินไป โดยวิธีนี้จะทําให้น้ำทะเลที่บ่อเก็บน้ำมีคุณภาพดีได้

              ส่วนปัญหาเรืองการควบคุมค่าความเป็นกรด ด่างของน้ำในบ่อเลี้ยงนั้น ใช้วิธีการเติมปูนขาวแก้ความเป็นกรด และเติมคลอรีนแก้ความเป็นด่าง ใน ปริมาณที่เล็กน้อยทุกครั้งก่อนให้อาหารกุ้ง ๑ ชั่วโมง

              สําหรับบ่อเก็บเลนจํานวนครึ่งไร่นั้น เมื่อจับกุ้งออกแล้ว เลนกันบ่อจะมี ค่าความเป็นกรด - ด่างสูงปล่อยลงทะเลไม่ได้ จะต้องตักมาเก็บไว้ในบ่อเลน เพื่อจะได้นําดินนั้นมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรต่อไป ซึ่งขณะนี้ปรากฏว่าดินเลน จากก้นบ่อกุ้งที่นี่สามารถนํามาใช้ปลูกดอกแกลดิโอลัสได้ผลดีมาก

              ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมสภาพเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้ง กุลาดําแบบพัฒนา ผสมผสานกับการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนทดแทนเพื่อให้ เกิดการใช้ทรัพยากรแบบยังยืน มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จํานวน ๑๑๓ ราย โดยแต่ละรายจะมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดําประมาณ ๖ - ๗ ไร่และมีพื้นที่ปลูก ป่าชายเลนประมาณ ๓ ไร่ โครงการนี้ดําเนินงานมาได้ ๑๐ ปีพอดี จาก การสัมภาษณ์เกษตรกรในโครงการต่างเล่าว่า ในระยะแรกอยู่ในสภาพล้มลุก คลุกคลาน แต่เริ่มได้ผลดีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา

  •           การเลี้ยงกุ้งทะเลให้ผลตอบแทนต่อไร่ในระยะสั้นสูงกว่าการเกษตรโดย วิธีการอื่นๆ จึงทําให้มีผู้เลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นโดยขาดหลักวิชาที่ถูกต้อง พื้นที่นากุ้งได้ ขยายออกไปในบริเวณทั้งสองฝังแม่น้ำปากพนัง และยังรุกเข้าไปในเขตน้ำจืดโดยวิธีการสูบน้ำทะเลเข้าไปเลี้ยง และปล่อยน้ำเค็มซึ่งมีน้ำเสียจากบ่อไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ พบว่ามีการเลี้ยงกุ้งในเขตน้ำจืดถึง ๑,๙๓๕ ครัว

              ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยปกติ การเลี้ยงกุ้งโดยขาดหลักวิชาการในระยะเวลาประมาณ ๒ ปี นากุ้งจะเสือม มีการ แพร่ของเชื้อโรค ผู้เลี้ยงจึงย้ายไปเลี้ยงในที่ใหม่ ซึ่งเป็นการทําลายทรัพยากร และ ระบบนิเวศน์ นอกจากนี้ผลผลิตกุ้งก็ได้ลดลง จากปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีรายได้ จากการเลี้ยงกุ้ง ๑๒๘๓๐๐ บาท ต่อปีต่อไร่ ลดลงเหลือ ๔๔.๓๔๐ บาทต่อปี ต่อไร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งเกิดการขาดทุน ๑,๗๓๕ บาท ต่อปีต่อไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่อง มาจากการเลี้ยงกุ้ง จึงมีพระราชดําริให้จัดทําโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ ปากพนัง มีพระราชดํารัสว่า พื้นที่ดังกล่าวสามารถทํานากุ้งได้โดยไม่ก่อให้เกิด ปัญหา แต่ต้องมีการกําหนดเขตนากุ้งให้เป็นสัดส่วน โดยจัดให้อยู่ทางตะวันออก ของแม่น้ำปากพนัง ดังพระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ว่า

              "...คนเขาบอกว่า การทํานากุ้ง ซึ่งเป็นรายได้ของประเทศ ไทยมากมาย กี่ล้านบาทไม่ทราบ จะเสีย ไม่เสีย ตรงข้ามจะ ทําให้กิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดํานี้เป็นสัดเป็นส่วน สามารถที่จะ จัดการในอําเภอหัวไทรส่วนหนึ่ง และในอําเภอปากพนังส่วน หนึ่ง สามารถที่ทําให้ประชาชนที่ทํากุ้งกุลาดําได้จริงๆ จังๆ ได้รับความช่วยเหลือ พวกที่ทํากุ้งกุลาดํานี้ ไม่ใช่บริษัทใหญ่ เป็นเอกชนเล็กๆ ถ้าเราช่วยเขาเขาก็จะมีรายได้ และกุ้งกุลาดํา นี้จะมีคุณภาพดี ที่เขาพูดว่าทํากุ้งกุลาดํานี้ ทําให้เกิดมลพิษ ถ้าทําไม่ดี ถ้าทําอย่างแร้นแค้นก็จริง ทําให้ทะเลเป็นพิษ แต่ เดี่ยวนี้มีวิธีที่จะทําให้กุ้งกุลาดํานี้ เป็นรายได้ดี และไม่เป็น มลพิษ ตรงข้ามจะทําให้ประเทศไทยสามารถที่จะส่งออกกุ้ง กุลาดํา เป็นลําเป็นสัน และมีคุณภาพสูง...”

              นอกจากนี้ ยังพระราชทานแนวพระราชดําริให้มีการบําบัดน้ําเสียจาก บ่อเลี้ยงกุ้ง ก่อนที่จะทิ้งลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติ รวมทั้งการจัดระบบชลประทาน น้ําเค็มโดยจัดคลองส่งน้ําเค็มในคลองปากพนัง และคลองระบายน้ําเสียแยก จากกัน วิธีการดังกล่าวจะสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทําลายจากการ ทํานากุ้ง อันเป็นการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืน

              กล่าวได้ว่า พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระ ราชทานแนวพระราชดําริ รวมทั้งการเสด็จฯ เยี่ยมเพื่อทรงงานในที่ต่างๆ มีส่วน อย่างใหญ่หลวงในการพัฒนาความเจริญทางด้านการประมงของชาติโดยแท้

ตกลง