พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการพัฒนาที่ดิน
  •           ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ ๓๒๑ ล้านไร่ จากการประเมินคุณภาพของดินเพื่อการเกษตรโดยกรมพัฒนาที่ดิน พบว่ามีพื้นที่ประมาณร้อยละ ๕๒ เท่านั้น ที่จัดว่ามีคุณภาพเหมาะสมสําหรับการเกษตร พื้นที่ประมาณร้อยละ ๑๒ จัดว่ามีคุณภาพทางการเกษตรต่ําเนื่องจากเป็นดินที่มีปัญหา ส่วนพื้นที่ที่เหลือจัดว่าไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ทางเกษตร โดยเป็นพื้นที่สูงชัน ร้อยละ ๒๙ และเป็น พื้นที่ดินป่าชายเลนร้อยละ ๓ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ควรสงวนไว้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์ต้นน้ำลําธาร และรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศที่เหมาะสม

              จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่าประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะสมทางการเกษตรเป็นจํานวนจํากัดประกอบกับความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา มีมากขึ้น ดังนั้น การขยายพื้นที่ทํากินในช่วงดังกล่าวส่วนใหญ่จึงเป็นการนําเอาพื้นที่ที่มีคุณภาพ ทางการเกษตรต่ำมาใช้ ทําให้ทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างรุนแรง หากการใช้พื้นที่ดินดังกล่าว ปราศจากการจัดการที่เหมาะสม

              โดยเหตุที่ในปัจจุบัน การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้น จึงมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการผลิตอย่างกว้างขวาง และอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังมีพื้นที่ดินอีกเป็นจํานวนมากที่ถูกนํามาใช้ เพาะปลูกโดยขาดการอนุรักษ์หน้าดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารของพืช เมื่อผืนดินจํานวนมหาศาลถูกชะล้าง และเคลื่อนย้ายไปจากที่เต็ม ทําให้ดินลดความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องลงทุนด้วยการใส่ปุ๋ย ทําให้รายได้ลดลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

              ด้วยเหตุดังกล่าว จึงจําเป็นที่จะต้องรีบเร่งดำเนินการพัฒนาที่ดินของประเทศ เพื่อให้ที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์อยู่แล้วมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ในขณะเดียวกันต้องมีการทะนุบํารุงดิน มิให้เสื่อมโทรม มีอายุการใช้งานยืนนาน และไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรที่ดินและสภาพแวดล้อม

  •            ๑. ใช้ที่ดินอย่างผิดประเภทไม่ถูกหลักวิชาการ กล่าวคือ พื้นที่ดินในภูมิประเทศต่างๆ ถูกนํามาใช้อย่างไม่ถูกหลักการทางนิเวศวิทยา เช่น

         - การตัดไม้ทําลายป่า การทําการเกษตรในพื้นที่ลาดชัน ซึ่งทําให้หน้าดินถูกรบกวนจากการไถพรวน เมื่อเกิดฝนตก หน้าดินจะถูกพัดพาไปกับน้ำ ลงสู่พื้นดินและท้องน้ำ และอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ หากเกิดพายุฝนขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถทําให้เกิตดินถล่มจากพื้นที่ภูเขาทําลายความเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิต และทรัพย์สิน

         - การใช้ที่ดินไม่ถูกต้องกับสมรรถนะของที่ดิน เช่น นําเอาพื้นที่ดินที่ เหมาะสมกับพืชชนิดหนึ่งไปใช้ปลูกพืชอีกชนิดหนึ่ง ทําให้ผลผลิตที่ได้รับน้อย และต้องมีการลงทุนสูง เนื่องจากต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับพืชชนิดที่ต้องการเพาะปลูก

              ๒. ปัญหาหน้าตินถูกชะล้างพังทลาย เมื่อหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายไปจากที่เดิม โดยการกระทําของน้ำ ลม คน และสัตว์ ทําให้ พื้นที่นั้นขาดธาตุอาหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ทําให้พืชเจริญเติบโต เป็นเหตุให้ผลผลิตตกต่ำ มีผลทําให้รายไดของเกษตรกรลดลง เกิดภาวะหนี้สิน มีการอพยพไปหางานทําในเมือง สร้างปัญหาสังคม และทําให้อาชญากรรมมีความซับซ้อนมากขึ้น

              ๓. ปัญหาดินมีคุณภาพไม่เหมาะสม เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของดินเอง ที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมกับการเกษตร เช่น เป็นดินทราย จัด เป็นดินตื้น เป็นดินอินทรีย์ เป็นดินพีท เป็นดินเปรี้ยวจัด หรือ เป็นดินเค็ม เป็นต้น ดินเหล่านี้มีประมาณร้อยละ ๑๖ ของพื้นที่ดินทั่วประเทศ ซึ่งข้อจํากัด ในการนํามาใช้ประโยชน์ทางเกษตรของดินดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

              – ดินเปรี้ยวจัด มักเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่พรุ และพื้นที่ราบลุ่ม ชายทะเล ซึ่งเนื้อดินมีสารประกอบไพไรท์ เมื่อทําปฏิกิริยากับอากาศ หรือเมื่อ ดินแห้ง จะทําให้เกิดสภาวะความเป็นกรดสูง เมื่อนําดินเหล่านี้มาใช้ในการเกษตร ทําให้ไม่ได้ผลผลิต – ดินเค็ม เกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีน้ำทะเลท่วมในช่วงน้ำขึ้น และบริเวณที่มีหินเกลือ หรือหินที่มีเกลือปนอยู่ใต้ดิน เช่น ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ โดยน้ำจากผิวดินจะไหลลงสู่ชั้นหินที่มีเกลือปน ทําให้เกลือที่อยู่ใต้ดินละลายขึ้นมาสู่แหล่งน้ำ และผิวพื้นดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

              – ดินทรายจัด เกิดในทุกภูมิภาคของประเทศที่มีวัตถุกำเนิดดิน เป็นทราย เช่น บริเวณหาดทรายชายฝั่งทะเล และบรีเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเหล่านี้มีความสามารถในการอุ้มน้ำน้อย มักขาดน้ำได้ง่าย และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ทําให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตต่ำ ถ้านํามาใช้โดยปราศจากการจัดการที่เหมาะสม

              – ดินตื้น เกิดทั่วๆ ไปในทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น บริเวณพื้นที่ ภูเขา หรือที่ลาดเชิงเขา และบริเวณที่ตอนที่มีชั้นหินรองรับอยู่ข้างล่าง เป็นดินที่มีเศษหิน กรวด หรือลูกรัง ปะปนอยู่มาก ทําให้รากพืชซอนไซไปหาอาหารไม่สะดวn ในขณะเดียวกันจะมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และแร่ธาตุอาหารน้อย พืช เศรษฐกิจที่ปลูกจึงมักให้ผลผลิตต่ำ

              – ดินอินทรีย์ หรือดินพีท เกิดในบริเวณพื้นที่พรุ พบมากในจังหวัดนราธิวาส เนื้อดินประกอบไปด้วยเศษซากพืช หรืออินทรียวัตถุที่เน่าเบื่อยผุพัง ทับถมกันเป็นชั้นหนาประมาณ ๑-๓ เมตร ตามธรรมชาติดินนี้จะมีน้ำแช่ขังตลอด จัดว่าเป็นดินที่มีคุณภาพทางการเกษตรต่ำ เนื่องจากมีปริมาณแร่ธาตุ อาหารน้อย เป็นกรดจัด ยุบตัว และติดไฟง่ายเมื่อดินแห้ง ตลอดจนยากต่อการใช้ เครื่องมือจักรกลต่างๆ

              ๔. ปัญหาเกษตรกรไร้ที่ทำกินหรือครอบครองที่ดินโดยขาดเอกสารสิทธิ์ ทำให้ขาดกำลังใจในการพัฒนาที่ดินในระยะยาว ได้ผลผลิตต่อไร่น้อยเกินควร บางรายจึงไปบุกป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น

  • แนวพระราชดำริที่เกียวกับการพัฒนาการเกษตร

              ๑. การอนุรักษ์และฟื้นฟูดินโดยวิธีการธรรมชาติ

              - การแก้ปัญหาการใช้ที่ดินและการอนุรักษ์ดิน ทรงส่งเสริมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดินได้ดําเนินการวางแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ได้แก่ พื้นที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดพื้นที่ลาดชันให้เป็นพื้นที่ปลูกป่าพื้นที่ลอนลาดเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการแก้ปัญหาสภาพดินในพื้นที่การเกษตร และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยวิธีการทางธรรมชาติ

              - การแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่ลาดชัน มีพระราชดําริในการฟื้นฟูป่าไม้ให้เกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้ผืนดินบริเวณนั้นเกิดความชุ่มชื้น 

              โดยให้ไม้ยืนต้นในท้องถิ่น และหญ้าเติบโตโดยธรรมชาติ ในพื้นที่ที่ผ่านการขุด ตัก และไถหน้าตินจนหมด จนไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ที่ดินประเภทเหล่านี้มีอยู่ในพื้นที่ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราช ดําริ อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเสด็จฯ เยี่ยมเพื่อทรงงานในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ มีรับสั่งถึงวิธีการอนุรักษ์ดินในพื้นที่โครงการ โดยไม่ไถหน้าดินก่อนการปลูกพืช ดังนี้

              "...ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมักจะเปิดหน้าดิน (ปอกเปลือก) ดินแล้วทําการเกษตร ซึ่งยังถือว่าเป็นวิธีการผิดธรรมชาติจะเกิดปัญหาในอนาคต ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ทําการเกษตรอย่างไม่ทําลายธรรมชาติ เช่น การไม่ไถพรวนเปิดหน้าดิน (ปอกเปลือก) เปลือยดิน เป็นต้น โดยให้ทุกโครงการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ทําเป็นตัวอย่าง แล้วหาทางแนะนําให้ราษฎรทําต่อไป..."

              โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มตามแนวพระราชดําริ ตําบลเขาชะงุม อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นโครงการ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติฯ ครบ ๕ รอบ และเนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พื้นที่ดังกล่าว พลตํารวจตรี ทักษ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินประมาณ ๖๙๙ ไร่ ซึ่ง เดิมเป็นฟาร์มปศุสัตว์ และมีการขุดดินลูกรังขาย พื้นที่โครงการจึงสูญเสีย หน้าดินจนหมด เหลือเพียงแต่ดินลูกรังทั้งสิ้น

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการ ศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๙ พระราชทานพระราชดําริแก่นายสนาน รีมวานิช อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน สรุปได้ดังนี้คือ “ให้ดําเนินการศึกษาหาวิธีการปรับปรุงปารุงดินเสื่อมโทรมให้ สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ ทดสอบ วางแผน และจัดระบบปลูกพืช ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยดําเนินการในลักษณะเป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย"

ภาพตัดของดินทรายหนา
ภาพตัดของดินทรายหนา
  • วัตถุประสงค์ของโครงการ

              ๑. เป็นการศึกษาทดลองวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงดินให้แก่เกษตรกรรมในบริเวณใกล้เคียง
              ๒. สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณโครงการให้ได้ประโยชน์สูงสุด
              ๓. พัฒนาแหล่งน้ำ และปลูกไม้ยืนต้น ๔.เป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษาหาความรู้ของเกษตรกร และบุคคลทั่วไป เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาต่อไป

              จากการดำเนินการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมบริเวณโครงการในช่อง ๑๐ ปี ที่ผ่านมา โดยมีกรมพัฒนาที่ดินเป็นฝ่ายอำนวยการ ดำเนินการร่วมกับกรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และหน่วยราชการในจังหวัด ได้ดำเนินการฟื้นฟูดินโดยสรุป ดังนี้
              ๑. สำรวจ และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในโครงการ
              ๒. จัดทำระบบอนุรักษ์ดิน และน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยจัดสร้างคันดินในพื้นที่ลาดชัน ลดการไถพรวน รวมทั้งการปลูกแฝกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕
              ๓. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว ไม้โตเร็ว ได้แก่ สะเดา กระถินณรงค์ สีเสียดแก่น ปอเทียน นุ่น ไผ่รวก สบู่ดำ มะม่วงหิมพานต์ มะขาวเปรี้ยว
              ๔. ปลูกป่าบริเวณเขาเขียว และพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำ
              ๕. ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเขียว ความจุ ๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ขุดแต่บ่อลูกรังให้เป็นบ่อเก็บน้ำ
              ๖. ทดสอบระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน ได้แก่ การปลูกไม้ผลเป็นพืชหลักในแปลง ได้แก่ ขนุน น้อยหน่า มะม่วง มะนาว และปลูกพืชรองในฤดู คือ ในฤดูฝนปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด ส่วนในฤดูแล้งปลูกถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ถั่วแปบ

              ภายหลังจาการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่โครงการในครั้งแรก คือ ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มโครงการ ยังได้เสด็จฯ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยพระราชทานพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดิน และน้ำในบริเวณพื้นที่นี้ด้วย

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถึงโครงการเชาชะงุ้ม เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ว่า

              "...เรื่องต้นไม้ขึ้นเอง มีอีกแห่งหนึ่งที่ท่านทั้งหลายก็ควรจะไปได้ เพราะไปง่าย คือโครงการเขาชะงุ้ม ที่จังหวัดราชบุรี ที่ตรงนั้นอยู่ใกล้ภูเขา เป็นที่ที่ป่าเสียไป เป็นป่าเสื่อมโทรม ที่เรียก ว่าป่าเสื่อมโทรม เพราะมันไม่มีต้นไม้ ไม่มีชิ้นดี เริ่มทําโครงการนั้นประมาณ ๗ ปีเหมือนกัน ไปดูเมื่อสัก ๒ ปี หลังจากทิ้ง ป่านั้นไว้ ๕ ปี ตรงนั้นไม่ได้ทําอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโต ขึ้นมาเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปปลูกสักต้นเดียว คือว่าการปลูกป่านี้สําคัญอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง..."

              จะเห็นได้ว่า ผลของโครงการนี้สามารถทำให้พื้นดินเสื่อมโทรมซึ่งไม่มี ต้นไม้ขึ้นได้ กลับมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอีกครั้งหนึ่ง เป็นการสร้างกระบวนการสะสม อินทรีย์วัตถุลงในดินในพื้นที่นั้น ซึ่งทำให้ดินได้รับการฟื้นฟูให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น ใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยวิธีการตามธรรมชาติ

  •           ๒. การใช้หญ้าแฝกในการแก้ไขปัญหาดินถูกชะล้างพังทลาย

              หญ้าแฝกเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กระจัดกระจายตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน และสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Vetivena Zizanioides เป็นพืชตระกูลหญ้า ขึ้นเป็นกอหนาแน่นแตกกออย่างรวดเร็ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ความสูงจาก ยอตประมาณ ๐.๕ ถึง ๑.๕ เมตร ใบแคบ ยาวประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๘ มิลลิเมตร ค่อนข้างแช็ง หากนำมาปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวขวางแนวลาดเทของพื้นที่ กอซึ่งอยู่เหนือดินจะแตกกอติดต่อกันเหมือนริ้วต้นไม้ สามารถกรองเศษพืช และตะกอนดิน ซึ่งถูกน้ำชะล้างพัดพามาตกทับถมติดอยู่

              กับกอหญ้า เกิดเป็นคันดินตามธรรมชาติได้ หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีจํานวนรากมาก จึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันหนาแน่นเสมือนม่านหรือกําแพงใต้ติน สามารถกักเก็บน้ำ และความขึ้นได้ ระบบรากแผ่ขยายกว้างเพียง ๕๐ เซนติเมตร โดยรอบกอเท่านั้น ดังนี้ แฝกจะไม่ไปแย่งธาตุอาหารในดินกับพืชที่ปลูก

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริให้ทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝกบริเวณขอบบ่อเลี้ยงปลาที่ลาดเอียง บริเวณขอบแปลงผัก บริเวณที่ลาดชันในภูมิประเทศ โดยพระราชทาน พระราชดำริครั้งแรกแก่ ตร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงกาครอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ และต่อมายังได้พระราชทานพระราชดำริแก่ผู้เกี่ยวข้องในวาระต่างๆ สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

              "...หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นแผงเหมือนกําแพงช่วยกรองตะกอนดิน และรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษา และทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง โดยพิจารณาจากลักษณะของภูมิประเทศ คือ บนพื้นที่ภูเขาให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชัน และในร่องน้ำ ของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และช่วยเก็บกักความชื้นของดิน ไว้ด้วย บนพื้นราบ ให้ปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงหรือปลูกในแปลงๆ ละ ๑ หรือ ๒ แนว ส่วนแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร้องสลับกับพืชไร่ เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะ อุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน และหญ้าแฝกจะเป็นตัวกักเก็บไนโตรเจน และกำจัดสิ่งเป็นพิษ หรือสารเคมีอื่นๆ ไม่ให้ไหลลงไปยังแม่น้ำลำคลอง โดยกักให้ไหลลงไปใต้ดินแทน การปลูกรอบพื้นที่เก็บกักน้ำ เพื่อป้องกันดินพังทลายลงไปในอ่างเก็บน้ำ ทำให้อ่างเก็บน้ำไม่ตื้นเชิน ตลอดจนช่วยรักษาหน้าดินเหนืออ่าง และช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบริเวณที่มีหญ้าคาระบาด ควรปลูกเพื่อเป็นแนวป้องกันตะกอน และดูดซับสารพิษต่างๆ ไว้ในราก และลำต้นได้นานจนสารเคมีนั้นสลายตัวเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป ทั้งนี้ให้บันทึกภาพก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน ส่วนผลของการศึกษาทดลองควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้น และรากความสามารถในการอนุรักษ์เพื่อความสมบูรณ์ของดิน และการเก็บความชื้นในดิน และเรื่องพันธุ์หญ้าแฝกต่างๆ ด้วย..."

              จากแนวพระราชดำริดังกล่าว ทำให้หญ้าแฝกมีบทบาทสำคัญในการ อนุรักษ์ดิน และน้ำของประเทศ ซึ่งถ้าหากมีการใช้อย่างแพร่หลายเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม และสภาพการใช้ที่ดิน จะช่วยลดปัญหาการพังทลายของดินได้ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ให้แก่ธนาคารโลกเพื่อใช้สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝกอีกด้วย

              ธนาคารโลกได้ตีพิมพ์เผยแพร่พระราชกรณียกิจเรื่องหญ้าแฝก ลงในเอกสาร Vetiver Newsletter No. 11, เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้สมาชิกทราบทั่วโลก และด้วยผลงานอันเป็นที่ประจักษ์แจ้ง ทางสมาคมอนุรักษ์ดิน และน้ำนานาชาติ จึงได้ถวายรางวัลในฐานะทรงเป็นนักอนุรักษ์ดิน และน้ำดีเด่นของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ 

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการพังทลายของดิน ในบริเวณที่มีการตัดถนนสายใหม่ จากบ้านสันกองขึ้นไปยังพระธาตุดอยตุง ดังนั้น ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ วังสระปทุม ทรงนำเอกสารเรื่อง หญ้าแฝกมาถวาย และได้ทรงอธิบายถึงคุณสมบัติของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ ดินและน้ำ ซึ่งทรงทดลองได้ผลมาแล้วในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่างๆ ทั่วประเทศ หลังจากนั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงมี พระราชดำริให้นำหญ้าแฝกมาทดลองเพื่อแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ในโครงการพัฒนาดอยตุง ต่อมาในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ทอดพระเนตร “โครงการพัฒนาหญ้าแฝกใน โครงการพัฒนาดอยตุง" ทรงพบว่า ผลการทดลองปลูกหญ้าแฝกในที่ลาดเอียง ได้ผลน่าพอใจ รากของหญ้าแฝกมีความยาวถึง ๓ เมตร ในระยะเวลา ๘ เดือน และมีอาณาเขตของรากแผ่กระจายกว้าง ๕๐ เซนติเมตร

ปลูกแฝกรูปตัว S
ปลูกแฝกรูปตัว S
  •           เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริวิธีการปลูกหญ้าแฝกแก่ ตร. สุเมธ ตันติเวชกุล ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สรุปได้ว่า

              "... การปลูกหญ้าแฝก ถ้าปลูกกอเล็ก ควรปลูกให้ใกล้ และชิดกัน จะได้ผลเร็วกว่าและสิ้นเปลืองน้อยกว่าการปลูกหญ้าแฝกกอใหญ่ และมีระยะห่างกัน และควรปลูกตามความห่างของแถวในแนวลาดเทประมาณเท่าความสูงของคน คือ ๑.๕๐ เมตร และทำแถวให้ได้ขนานกับทางเทด้วย…”

              นอกจากนี้ ยังมีพระราชกระแสให้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีใจความว่า

              "...ควรปลูกหญ้าแฝกบริเวณเหนือแหล่งน้าต่างๆ เช่น ลำห้วย และอ่างเก็บนา เป็นต้น เพื่อให้หญ้าแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอน และดูดซับสารเคมี ตลอดจนของเสียต่างๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำ หญ้าแฝกนอกจากจะช่วยป้องกัน ตะกอนดินแล้ว ยังตูดซับสารเคมีต่างๆ เช่น ไนเตรท และสารพิษต่างๆ ไว้ในราก และลำต้นได้นาน จนสารเคมีนั้นสลายตัว และไม่เป็นอันตรายต่อตันข้างล่างต้นแฝกก็จะสลายตัวเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป…”

              ใน “โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มตาวแนวพระราชดำริ” ที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องหญิงแฝก ว่า

              1) ควรปลูกหญ้าแฝกล้อมรอบไม้ผล ซึ่งตะสามารถป้องกันไม่ให้ดินรอบๆ ต้นไม้เป็นหลุม ในขณะเดียวกัน ก็สามารถตัดใบหญิงแฝกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นให้แก่ไม้ผลได้
              2) การปลูกหญ้าแฝกในแปลงที่เพาะปลูกพืช สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น
                  - ปลูกโดยรอบแปลง
                  - ปลูกในแปลง ๆ ละ ๑ หรือ ๒ แถว
                  - สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่

               นอกจากนี้ ยังมีการทดลองปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์ต่างๆ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาทั้ง ๖ แห่ง ซึ่งพบว่าการปลูกหญ้าแฝกขวางกาลาดเทของภูมิประเทศ จะช่วยหยุดตะกอนดินมิให้เคลื่อนตัว เช่น ในพื้นที่ลาด ๕% มีการทดลองปลูกหญ้าแฝกตามระยะระหว่างแถวของแปลง ข้าวโพด และถั่งลิสง พบว่ามีการสูญเสียหน้าดินเพียง ๐.๙๒ - ๒.๒๗ ตันต่อไร่ต่อปี ในขณะที่พื้นที่ที่ไม่มีการปลูกหญ้าแฝกในแปล พืชไร่ชนิดเดียวกัน มีการสูญเสียหน้าดินสูงถึง ๕.๒๗ ตันต่อไร่ต่อปี อีกทั้งแฝกยังสามารถรักษาความชุ่มชื่นในดินมากกว่าอีกด้วย

              พันธุ์หญ้าแฝกที่เจริญเติบโตดีในดินประเภทต่างๆ มีดังนี้
              - ดินทราย ได้แก่ สายพันธุ์กำแพงเพชร ๑ และ ๒ สงขลา ๓ นครสรรค์ ร้อยเอ็ด ราชบุรี
              - ดินลูกรัง ได้แก่ สายพันธุ์ศรีลังกา กำแพงเพชร ๒ สุราษฎร์ธานีสงขลา ๓ เลย ประจวบคีรีขันธ์
              - ดินร่วน ดินเหนียว ได้แก่ สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี สงขลา ๓ เลย นครสวรรค์

               หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้นำแฝกไปปลูกในพื้นที่โครงการต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมสหกรณ์นำแฝกไปปลูกในแปลงสาธิต กรมป่าไม้ปลูกในบริเวณที่ลาดชันในโครงการอนุรักษ์ต้นไม้ กรมชลประทาน ปลูกในบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ กรมพัฒนาที่ดินนำแฝกไปปลูกตามชอบแหล่งน้ำ และร่องน้ำ ช่วงปลูกที่เหมาะสมคือช่วงต้นฤดูฝนหรือปลายฤดูฝน ในปัจจุบัน เริ่มมีการปลูกหญ้าแฝกในระดับไร่นาในแปลงของเกษตรกร ซึ่งเป็นการขยายผลการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่างๆ ทั้ง ๖ แห่ง ในอนาคตคาดว่าจะมีการปลูกหญ้าแฝกอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์ดิน และน้ำอย่างได้ผลในวงกว้าง

  •           ๓. การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดในพรุ คืนเปรี้ยว หรือดินเกรด (Acid Soli) หมายถึง ดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า ๗ ส่วนดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) มักมีค่า pH ต่ำกว่า ๔.๐

              ดินเปรี้ยวจัดเกิดขึ้นจากการที่เนื้อดินมีสารประกอบไพไรท์ปะปน เมื่อดินนั้นแห้ง สารประกอบไพไรท์จะทําปฏิกิริยากับอากาศแล้วปล่อยกรดกํามะถัน ออกมา ทําให้ดินเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัต และมักพบจุดประสีเหลืองเหมือน ฟางข้าวที่เป็นสารประกอบจาโรโซท์ที่ซึ่งอยู่ในดินชั้นล่าง

              ดินเปรี้ยวจัดโดยมากจะพบตามพื้นที่พรุ บริเวณที่ราบลุ่มชายทะเลหรือ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยทั่วไปใช้ทํานาแต่มักให้ผลผลิตต่ำถ้าปลูกโดยไม่มี วิธีการปรับปรุงคุณภาพของดิน ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดประมาณไม่ต่ำกว่า ๘ ล้านไร่ 

               จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่พรุขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้นำพื้นที่ขอบพรุส่วนหนึ่งมาจัดสรรให้แก่ราษฎร ที่ไร้ที่ทำกินโดยการระบายน้ำออกจากพื้นที่ แต่ปรากฏว่าไม่สามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากดินมีสภาพเปรี้ยวจัด จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขดินในพื้นที่พรุซึ่งมีสภาพเปรี้ยวจัดให้สามารถ เพาะปลูกได้ โดยให้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นกรดของกรดกํามะถัน ด้วยการแกล้งดินให้เปรี้ยว หรือที่เรียกว่า “โครงการแกล้งดิน” ด้วยการทําให้ ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของสารประกอบโพไรท์ ที่มีมากในดินเลนที่อยู่ในระดับล่าง เมื่อสารไพไรท์ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะปล่อยกรดกํามะถันออกมามากขึ้น ทําให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงที่สุด ซึ่งเป็น อันตรายต่อพืชจนพืชไม่สามารถให้ผลผลิตได้ หลังจากนั้น จึงหาวิธีการปรับปรุง ดินให้ลดความเปรี้ยวลง และใส่ปุ๋ยจนสามารถปลูกพืชทางเศรษฐกิจต่อไป 

              การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลักการสำคัญ ๔ ประการ คือ

              ๑. การควบคุมระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกํามะถัน โดยให้น้ำโดยให้น้ำ ใต้ดินอยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบไพไรท์ ซึ่งมักพบในระดับความสึกจากผิว 

              ๒. การแก้ไขความเป็นกรดจัดโดยใช้น้ำชลประทานล้าง ซึ่งต้องใช้เวลา อย่างน้อย ๒ - ๓ ปี และต้องดําเนินการต่อเนื่องกัน หรือการใช้วัสดุปูนขาวเพื่อ ปรับค่าความเป็นกรดหรือปรับค่า pH โดยใช้ ๒ - ๔ ตันต่อไร่ และใส่ทุก ๒ - ๔ ปี ต่อครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนสูงมากสําหรับเกษตรกร ดังนั้น อาจใช้วิธีการใช้น้ำชะล้างควบคู่กับการใช้วัสดุปูน ซึ่งสามารถลดการใช้ปูนลงได้มาก 

              ๓. การปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวจัด ซึ่งมักขาตชาตุอาหารสําคัญของพืช ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยใช้ปุ๋ยดังกล่าวในอัตราสูงในช่วงแรก แล้วค่อยๆ ลดลงในภายหลัง

              ๔. การเลือกชนิดของพืชที่สามารถทนต่อความเปรี้ยวได้ดี เช่น ข้าว พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ กข. ๒๑ กข ๒๓ ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ส่วนพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล จะปลูกได้ต่อเมื่อดินเปรี้ยวได้รับการปรับปรุงแล้ว รวมทั้งพื้นที่ปลูก หญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลาตุกอุยเทศ ปลาไน ปลานิล และปลาตะเพียนขาว

    ในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินตรวจแปลงศึกษาการเปลี่ยนแปลงความ เป็นกรดของดินกรดกํามะถัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีพระราชดำรัสว่า "...นี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา ๓ ปีแล้ว หรือ ๔ ปีกว่า ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทํางาน ดินทํางานแล้วดินจะหาย โกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล...อันนี้ ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงานที่สําคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจ เขามีปัญหานี้ แล้วก็เขาไม่ได้แก้ หาตําราไม่ได้..." 

              ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดบริเวณบ้านโคกอิฐ - โคกใน อําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีพระราชดําริว่า 

              "...พื้นที่บริเวณโคกอิฐ และบ้านโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยวเหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ ได้โดยให้ประสานงานกับทางชลประทาน...”

              จากผลของการดำเนินการดังกล่าว การพัฒนาดินเปรี้ยวจึงประสบผล สําเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังที่มีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินบ้านอิฐ - โคกใน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอนหนึ่งว่า 

              "...เราเคยมาโคกอิฐ - โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทําแต่ว่าเขาได้เพียง ๕ ถึง ๑๐ ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง ๔๐ - ๕๐ ถัง ก็ใช้ได้แล้ว ต่อไปดินก็จะไม่เปรี้ยวแล้ว เพราะว่า ทําให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆ ทําให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น อันนี้สิเป็นชัยชนะ ที่ดีใจมากที่ใช้งานได้ แล้วชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้..."

  • ๔. การจัดสรรที่ดินแก่เกษตรกรไร้ที่ทํากิน

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นปัญหาเกษตรกรที่ยากจนไร้ที่ ทำกิน จึงมีพระราชดำริให้จัดสรรที่ดินทำกินในหลายๆ โครงการ ในภูมิภาค ต่างๆ เช่น โครงการนิคมสหกรณ์หุบกะพง (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ หนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการตอนขุนห้วย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นโครงการที่พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มาช่วย ดำเนินการด้วย

    โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

               พื้นที่โครงการอยู่ในหมู่ที่ ๒, ๓ และ ๔ ตำบลสมเด็จเจริญ กิ่งอำเภอ หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาฤๅษี - บ่อแร่ (แปลงที่ ๒) มีราษฎรเข้าไปตัดไม้ บุกรุก และครอบครองทำผลประโยชน์ ป่าไม้จึงหมดไป เกิดความแห้งแล้ง ต่อมาพระเทพสิทธิญาณรังสี (พระอาจารย์จันทร์ คเวสโก) ได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านในบริเวณสำนักสงฆ์ถ้าวังหิน และได้นำโครงการขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มีพระราชกระแสกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงาน กปร. และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาพร้อมด้วยอธิบดีกรมชลประทานให้สนับสนุนโครงการดังกล่าว ด้วยการฟื้นฟูป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์ จัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร และสร้างอ่างเก็บน้ำ

               ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติได้ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จากกรมป่าไม้เพื่อจัดตั้ง โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จำนวน ๒๐,๖๒๕ ไร่ และได้รับหนังสืออนุญาตลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔

              ในการดำเนินโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพระบรมราชวินิจฉันให้สถาบันหลักทั้ง ๓ คือ บ้าน วัด และราชการ ร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำชุมชน ชาวบ้านเป็นผู้รับผลประโยชน์ และทางราชการช่วยสนับสนุน

    วัตถุประสงค์ของโครงการ

              ๑.ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยการปลูกป่าให้หลับมาอุดมสมบูรณ์
              ๒.จัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมทั้งในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ การจัดสรรที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน จัดที่ดินส่วนกลางซึ่งเป็นสาธารณูปโภคสารธาณูปการของชุมชนจัดสรรที่อยู่อาศัย และที่ดินทํากิน จัดที่ดินส่วนกลางซึ่งเป็นสาธารณูปโภค สาธารณูปการของชุมชน
              ๓. จัดระเบียบชุมชนในการอยู่อาศัย
              ๔. ส่งเสริมอาชีพ โดยที่สามารถรักษาทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน ในการดําเนินการจัดสรรที่ดิน มีการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎรที่ บุกรุกที่ดิน แล้วนํามาจัดรูปที่ดินใหม่โดยให้สิทธิแก่ราษฎรที่เคยอยู่มาก่อน โดย ให้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแปลงละ ๑ ไร่ หรือพื้นที่อาคารพาณิชย์ ๔๕ ตารางวา จัดให้มีโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด สถานีขนส่ง สนามกีฬา สวนสาธารณะ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ฯลฯ ในส่วนที่ทํากินจัดให้ครอบครัวละ ๘ ไร่ โดยให้ ทุกแปลงได้รับน้ำจากระบบชลประทานและมีถนนเข้าถึง ทั้งนี้ได้ออกหนังสือ รับรองการทําผลประโยชน์ชั่วลูกชั่วหลานไว้เป็นหลักฐาน

              ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริม การปลูกพืชแบบผสมผสาน การปลูกผักอนามัย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ การเลี้ยงโค เป็นต้น โดยมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ซึ่งเป็น องค์กรเอกชนได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทําและมีรายได้ตลอดทั้งปี โดย จัดทําโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดําริ นอกจากนี้ยังสร้างโรงงานอุตสาหกรรมประเภทตัดเย็บสิ่งทอ เพื่อสร้างการจ้างงานอีกด้วย

  •            ผลจากการดําเนินโครงการดังกล่าว ทําให้สภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณ โครงการค่อยๆ ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ขณะเดียวกันราษฎรก็สามารถทําการเกษตรโดยมี รายได้ในระดับที่น่าพอใจ สมาชิกในครอบครัวก็สามารถทํางานในโรงงานได้อีก ทางหนึ่ง คนหนุ่มสาวจากหมู่บ้านที่อพยพเข้าสู่เมืองใหญ่ได้เริ่มกลับมาอยู่กับ ครอบครัว ทําให้สภาพสังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น

              นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังพระราชทานที่ดินเพื่อจัดทํา โครงการปฏิรูปที่ดิน กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ หม่อม ราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินของสํานักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์จํานวน ๕๓.๖๘๐ ไร่ ๑๐ ตารางวา ซึ่งอยู่ใน ๘ จังหวัด คือ 
              - จังหวัดพระนครศรีอยุธยา          ๑๓,๖๐๐  ไร่          ๗๖  ตารางวา 
              - จังหวัดฉะเชิงเทรา                  ๑๔,๙๖๙ ไร่          ๑๒  ตารางวา 
              - จังหวัดนครปฐม                        ๓,๓๑๐ ไร่        ๒๓๙  ตารางวา 
              - จังหวัดเพชรบุรี                           ๖๖๗ ไร่          ๕๐  ตารางวา 
              - จังหวัดสุพรรณบุรี                          ๑๖  ไร่        ๑๔๐  ตารางวา 
              - จังหวัดปทุมธานี                      ๑๖,๖๒๐ ไร่         ๙๙  ตารางวา 
              - จังหวัดสระบุรี                           ๑,๒๐๐ ไร่       ๒๗๙  ตารางวา 
              - จังหวัดนครนายก                       ๓,๑๔๑ ไร่       ๒๐๙  ตารางวา

              ให้รัฐบาลนําที่ดินดังกล่าวไปจัดทําโครงการปฏิรูปที่ดิน โดยให้สํานักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้ดําเนินการ โครงการนี้เริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่จังหวัดนครนายก พระนครศรีอยุธยา และปราจีนบุรี ได้ทําหนดคุณสมบัติของ เกษตรกรในโครงการว่าต้องเป็นเกษตรกรที่เช่านาอยู่ก่อน มีความขยันขันแข็ง และมีภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว เกษตรกรจะได้รับการจัดสรรที่ดิน ครอบครัวละ ๒๕ ไร่ รัฐบาลได้จ่ายค่าที่ดินให้แก่สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นําไปจัดตั้งเป็นเงิน กองทุนเพื่ออุตหนุนสหกรณ์การเกษตรต่อไป

              แนวพระราชดําริในการพัฒนาที่ดินที่พระราชทานแก่หน่วยงานราชการไป ปฏิบัตินั้น ยังประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการอนุรักษ์พื้นฟูดิน การปรับปรุง คุณภาพดิน และการจัดการทรัพยากรดิน ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตทางการ เกษตรที่สําคัญยิ่ง

ตกลง