พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ
  •           "...หลักสําคัญว่า ต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพราะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้..."

              พระราชดำรัสพระราชทานเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ ๒๕๓๙ ณ พระราชตำหนักจิตรลดาโหฐาน แสดงการตระหนักถึงความสำคัญของน้ำต่อความอยู่รอดของชีวิต ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ โดยเหตุที่น้ำเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ถ้าไม่มีน้ำ ชีวิตก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ 

              น้ำในบรรยากาศเกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งทรัพยากรน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ จากการคายน้ำของใบไม้ พืช และจากพื้นผิวตินที่ อิ่มน้ำ ไอน้ำเหล่านี้ จะรวมตัวกันบนแกนกลั่นตัว (Aerosol) เกิดเป็นหมอกหรือ เมฆ ซึ่งจะพัฒนาตามขบวนการตามธรรมชาติ จนกระทั่งเกิดเป็นฝน หรือหิมะ แล้วตกลงสู่พื้นโลก หากพื้นดินถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ใบหญ้า ต้นไม้ใหญ่น้อย เหล่านั้นจะดูดซับน้ำไว้ในลําต้นเพื่อการเจริญเติบโต เมื่อต้นไม้ได้รับแสงแดด จะ เกิดการสังเคราะห์แสงเพื่อปรุงอาหารไปเลี้ยงลําต้น ในขณะเดียวกันใบไม้ก็จะคายน้ำให้กลับไปสู่บรรยากาศ แล้วไอน้ำก็จะรวมตัวกันแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อไป ดังนี้ น้ำจึงเป็นสสารที่หมุนเวียนและเปลี่ยนรูปได้ตลอดเวลา

              ปริมาณความชื้นในอากาศมีผลต่อการเกิดของฝน ในพื้นที่ที่อยู่ห่างจาก ทะเลมากๆ หรือในทวีป จะขาดแกนกลั่นตัวของไอน้ำ ทําให้โอกาสของการเกิดฝนลดน้อยลง ส่วนในบริเวณทะเลและมหาสมุทรและในพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล จะมีปริมาณแกนกลั่นตัวของไอน้ำมาก ดังนั้น จึงมีโอกาสเกิดฝนตกสูง

              การที่ฝนตกเป็นฤดูกาล และปริมาณความต้องการน้ำมีเพิ่มมากขึ้น ตามจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ฯลฯ ย่อมทําให้ความต้องการน้ำมีปริมาณที่สูงขึ้น จึงเกิดความ จําเป็นในภารกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอตลอดทั้งปี พื้นที่ใดได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เกษตรกรรมก็อุดมสมบูรณ์ เกิดความอยู่ดีกินดี ซึ่งเป็นพื้นฐานของการก้าวไปสู่ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังกระแสพระราชดํารัสเกี่ยวกับ ความสําคัญของน้ำ ซึ่งพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลา ดุสิดาลัย พระตําหนักจิตรสตารโหฐาน เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ว่า

              "... เคยพูดมาหลายปีแล้วในวิธีที่จะปฎิบัติเพื่อที่จะให้มีทรัพยากร น้ำพอเพียง และเหมาะสม คําว่าพอเพียงก็หมายความว่าให้มี พอในการบริโภค ในการใช้ ทั้งในด้านการใช้บริโภคในบ้าน ทั้งในการใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ต้องมีพอ ถ้าไม่มีพอทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักลง แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่เรา ภูมิใจว่าประเทศเราก้าวหน้าเจริญก็ชะงัก ไม่มีทางที่จะมี ความเจริญถ้าไม่มีน้ำ..."

              ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำสำหรับการเกษตรในประเทศไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหา มีโดยสรุปดังนี้คือ

              ปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีสาเหตุอันเนื่องมาจากแหล่งต้นน้ำลําธาร ถูกทําลาย การที่ป่าไม้ถูกตัดฟันในพื้นที่มหาศาลในช่วง ๓๐ - ๔๓ ปี ที่ผ่านมา ทําให้ขาดแหล่งซับน้ำ และก่อให้เกิดอุทกภัยรุนแรงดังเช่นในปัจจุบัน ขณะ เดียวกันจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขา ต่างๆ ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการบริการ ทําให้ความ ต้องการน้ําเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้น เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานของน้ำไม่ได้สมดุลกัน

              ปัญหาน้ำท่วม ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นใกล้เขตศูนย์สูตร จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพายุหมุนจากทะเลจีนใต้ ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น ซึ่งทําให้เกิดฝนตกในช่วง เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม ส่วนภาคใต้ได้รับอิทธิพลของสมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือ และพายุหมุนจากทะเลจีนใต้ ทําให้เกิดฝนตกในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงมกราคมของทุกปี

              การที่ฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน ทําให้แหล่งน้ำต่างๆ ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ เกิดการหลั่งท้นของน้ำ น้ำจึงไหลบ่าจากที่สูง ไปยังที่ที่ต่ำกว่า หากแต่ว่าในปัจจุบัน ปัญหาน้ำท่วมตามธรรมชาติดังที่เคยเกิด ขึ้นในสมัยก่อน ได้กลายเป็นปัญหาน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากน้ำไม่ สามารถระบายต่อไปได้ โดยเหตุที่มีถนนหนทาง อาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ กีตขวางการไหลขอน้ำ จึงทําให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจรุนแรงกว่าแต่ ก่อนมาก ดังเช่น การเกิดนน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ก่อให้เกิดความสูญเสีย ในเชิงเศรษฐกิจในระดับชาตินับหมื่นล้านบาท

  •  ปัญหาน้ำเสีย

              ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาที่คุณสมบัติของน้ำไม่เหมาะสมต่อการอุปโภค บริโภค และการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรกรรม และอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาน้ำเค็มและน้ำกร่อย ทําให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลเต็มที่ เกษตรกรมี รายได้ต่ำ และส่งผลกระทบต่อการทําลายทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั่วไป

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ๓ เรื่อง คือ
              - การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
              - การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และ
              - การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย

    การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
             การจัดการทรัพยากรน้ำในบรรยากาศ

              การที่ฝนตกล่าช้าไปจากฤดูกาลเพาะปลูกตามปกติ และการที่ฝนทิ้งช่วงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผลผลิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำริว่า น่าจมีการค้นคว้าทดลองนำเทคโนโลยีมาทำฝนเทียมซึ่งใช้ได้ผลดีในต่างประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนชองราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชื่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาแนวทางในการค้นคว้าทดลองขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับสนองพระราชดำรินี้ โดยจัดตั้ง "โครงการค้นคว้าทดลองการทำฝนเทียม" โดยจัดตั้งคณะปฏิบัติการขึ้นเป็น ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และได้ทดลองทําฝนเทียมเป็นครั้งแรกที่อําเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และได้ดําเนินการทดลองอีกหลายครั้งที่บริเวณอําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนสามารถสรุปผลได้ว่า สามารถรวมกลุ่มก้อนเมฆให้เกิดเป็นฝนได้แน่นอน

              คณะปฏิบัติงานโครงการฝนหลวงได้ศึกษาทดสองและพัฒนาวิธีการ ทําฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง จนค้นพบวิธีการทําฝนเทียมแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจาก วิธีปฏิบัติที่ใช้ในต่างประเทศ เรียกได้ว่าเป็นกรรมวิธีของประเทศไทยโดยเฉพาะ และได้นํามาปฏิบัติการช่วยเหลือราษฎรเป็นศรั้งแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔

     กรรมวิธีใหม่นี้เกิดจากแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพัฒนาขึ้นด้วยพระองค์เอง โดยทรงร่วมปรึกษาหารือกับ หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ทรงพระกรุณาสรูปกรรมวิธีการทําฝนหลวงเป็น ๓ ขั้นตอน คือ

    • ขั้นตอนที่ ๑ การก่อกวน คือ การดัดแปรสภาพอากาศหรือ ก้อนเมฆในขณะนั้น เพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศ ชิ้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักนําไอน้ำ หรืออากาศขึ้นเข้าสู่กระบวนการเกิดเมฆ 
    • ขั้นตอนที่ ๒ เลี้ยงให้อ้วน คือ การดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อ ทําให้เมฆเจริญขึ้นจนเป็นขนาดใหญ่หนาแน่น มาก จนพร้อมที่จะตกเป็นฝน 
    • ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นโจมตี คือการดัดแปรสภาพอากาศที่จะ กระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัวเข้าด้วยกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบน เพื่อให้เม็ดนํามีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่าง แล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย
  •           การทําฝนเทียมในระยะต้นๆ ดําเนินการโดยใช้เครื่องบินบินขึ้นไปดัด แปรสภาพอากาศให้เกิดฝน ซึ่งมีข้อจํากัดหลายอย่างที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติ ครบชั้นตอนตามกรรมวิธีที่ทรงศิตค้นได้ เช่น เมื่อถึงขั้นตอนที่ ๒ คือ เลี้ยงเมฆ ให้อ้วน แต่เครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินได้ เนื่องจากสนามบินอยู่ห่างจากบริเวณ ซึ่งต้องการทําให้เกิดฝนตก หรือบางครั้ง เกิดพายุลมแรง เครื่องบินไม่สามารถ บินขึ้นได้ ทําให้เสียโอกาสที่จะขึ้นไปบังคับฝนให้ตกสู่พื้นที่เป้าหมายได้

              การทํา "ฝนหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีส่วนช่วยเหลือราษฎรได้เป็นอย่างมาก ราษฎรในหลายจังหวัดได้ขอ พระราชทาน "ฝนหลวง" ไปช่วยในการทําการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวง" ซึ่งสังกัดสํานักงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโดยตรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถึงความยากลำบากและ การเสี่ยงอันตรายจากการทํา "ฝนหลวง" เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ดังนี้

              "…แต่มีวิธีที่จะทําได้เพื่อบรรเทาสถานการณ์ เช่น ทําฝนเทียม หมายความว่า ความชื่นที่ผ่านเหนือเขต เราตักเอาไว้ให้ลงได้ ปีนี้ได้ทํามากพอใช้ ทําเป็นเวลาต่อเนื่องกันไปประมาณเกือบ ๓ เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ทํานั้น ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะ ว่าเครื่องบินก็มีน้อย อุปกรณ์มีน้อย เจ้าหน้าที่ที่ทำฝนเทียม เพราะเครื่องบินที่มีอยู่ก็เก่าแล้วและชำรุดบ่อย..."

              โดยเหตุที่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เกิดภาวะฝนแล้ง จึงมีการทํา "ฝนหลวง" ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม จนถึงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อเพิ่ม ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนให้มากพอสําหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้ง การผลิตกระแส ไฟฟ้าและเพื่อผลักดันการรุกของน้ำเค็มจากอ่าวไทยอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า "ฝนหลวง" มิได้มีบทบาทเฉพาะเพียงต้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังมีบทบาท ในระดับประเทศในการแก้ไขภัยแล้งอีกด้วย

  • การจัดการแหล่งน้ำผิวดิน

              การจัดการแหล่งน้ำผิวดิน หมายถึงการจัดหาและนําน้ำจากแหล่งน้ำ ผิวดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวม ในทางที่เหมาะสม ประเทศไทยในอดีตยังมีประชากรไม่มากนัก ผืนแผ่นดินไทยยังมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ เพียงพอกับความต้องการ ครั้นในสมัยปัจจุบัน ได้เกิดภาวะการทําลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่างๆ ทําให้ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ คือ แม่น้ำ ลำธาร ห้วย คลอง หนอง บึง มีปริมาณน้ำลดลง ประชากรได้รับความเดือนร้อนจากภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ

              นอกจากนี้ ยังมีพระราชดํารัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้า เฝ้าฯ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตําหนัก จิตรลดารโหฐานเกี่ยวกับความจําเป็นในการก่อสร้างโครงการเขื่อนป่าสัก จังหวัด และโครงการเขื่อนท่าด่าน จังหวัดนครนายก ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดํารัสถึงพระราชกรณียกิจด้าน การชลประทานพระราชทานแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ ณ พระตําหนัก จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า        

               "...โดยมากงานที่ขึ้นมาเป็นเอกก็คืองานชลประทาน เพราะ ว่าถือว่าถ้าหากว่าไม่มีชลประทาน ประเทศก็จะแห้งแล้ง เมื่อ แห้งแล้งแล้วเพาะปลูกก็ไม่ได้ พอเพาะปลูกไม่ดีก็ไม่มีการ ทํางานด้านการเกษตร ซึ่งเป็นงานที่ได้ผลประโยชน์แก่ ราษฎรโดยตรง การชลประทานนี้ก็นึกถึงเกษตร แต่ว่าความ เป็นอยู่ของประชาชนธรรมดา นาบริโภคก็ต้องมี..."

              "...แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทําได้แม้จะต้อง เสียค่าใช้จ่ายไม่ใช้น้อย แต่ก็ถ้าดําเนินไปเคี้ยวนี้ อีก ๕ - ๖ ปีข้างหน้า เราสบาย และถ้าไม่ทํา อีก ๕ - ๖ ปีข้างหน้า ราคาค่าก่อสร้าง ค่าดําเนินการก็จะขึ้นไป ๒ เท่า ๓ เท่า สงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิ่งต่อไปก็จะไม่ได้ทํา เราก็จะต้องอดน้ำแน่ จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราจะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้..."

              "...โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือที่ แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกัน จะเก็บกักน้ำ เหมาะสมพอเพียงสําหรับการบริโภค การใช้ใน เขตของกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทย นี้ สําหรับการใช้น้ำนั้น ต้องทราบว่าแต่ละคนใช้อยู่อย่าง สบายพอสมควร โดยเฉลี่ยคนหนึ่งใช้ วันละ ๒๐๐ ลิตร ถ้าคำนวณดูว่า วันละ ๒๐๐ ลิตรนี้ ๕ คน ก็ใช้ได้ ๑,๐๐๐ ลิตร คือ หนึ่งลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถ้าปีหนึ่งคูณ ๓๖๔ ก็หมาย ความว่า ๔ คนใช้ในปีหนึ่ง ๓๖๔ ลูกบาศก์เมตร ในกรุงเทพฯ และในบริเวณใกล้เคียงนี้เรานับเอาคร่าวๆ ว่ามี ๑๐ ล้านคน ล้านก็คูณเข้าไป ก็เป็น ๗๓๐ ล้าน ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์ เมตร ฉะนั้นถ้าเราเก็บกัก ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตรในเขื่อน เราก็จะสามารถที่จะบริการคนในละแวกนี้ คนในภาคกลาง ใกล้กรุงเทพฯ นี้ ได้ตลอดปี แล้วก็ไม่มีความขาดแคลน เขื่อนป่าสักที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑.๓๕๐ ล้านลูกบาศก์ เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ ให้ไว้นี้ แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียวก็พอ พอสําหรับการบริโภค แน่นอน ไม่แห้ง ถ้าเติมอีกโครงการที่นครนายก จะได้อีก ๒๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ก็เกินพอ คนจะต้องเริ่มเอะอะเมื่อ ได้ยินชื่อ แม่น้ำนครนายก เพราะเอะอะว่าเดี่ยวจะไปสร้างที่ ที่ต้องบุกป่าต้องบุกอุทยานแห่งชาติ อะไรอย่างนั้น ไม่ใช่ตอนนี้ ระยะนี้ จะไม่สร้างในป่าสงวน ในป่าอุทยาน หรือถ้าเข้าไป หน่อยก็จะไม่มีต้นไม้ มีแต่ต้นกล้วยป่า โครงการนี้จะสร้าง ใกล้บ้านท่าด่าน..."

  •           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดําริในการพัฒนา แหล่งน้ำผิวดินให้แก่หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมชลประทาน ให้ดำเนินการแก้ไข ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยพัฒนาเป็นงานหลายประเภท ได้แก่ งาน อ่างเก็บน้ำ งานฝ่ายทดน้ำ งานชุดลอกหนอง และบึง และงานสระน้ำ สรุปได้ดังนี้ คือ

    ๑. งานอ่างเก็บน้ำ

              อ่างเก็บน้ำเกิดจากการสร้างเขื่อนปิดกั้นระหว่างหุบเขาหรือเนินสูง เพื่อกัก เก็บน้ำที่ไหลลงมาจากร่องน้ำ ลําธาร ตามธรรมชาติ ปริมาณน้ำที่เขื่อนสามารถ กักเก็บไว้ได้ขึ้นกับความสูงของเขื่อนแต่ละแห่ง อ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ส่วนใหญ่มักมีสันเขื่อนซึ่งสูงไม่มากนัก และมักก่อสร้างเป็น "เขื่อนดิน" ซึ่งเกิดจากการนําดินมาบดอัดให้แน่นเป็นตัวเขื่อน นอกจากการสร้างเขื่อนเก็บกักน่า แล้วจะต้องสร้างอาคารระบายน้ำล้นเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน่า มิให้ล้นข้ามสันเขื่อน และสร้างท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่ตัวเขื่อน เพื่อใช้ควบคุมน้ำที่จะส่งออกไปให้กับพื้นที่เพาะปลูกซึ่งอยู่ท้ายอ่างเก็บน้ำ

              ประโยชน์ของอ่างเก็บน้ำ นอกจากแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งแล้ว ทําให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี ยังเป็นแหล่งนําเพื่อการ อุปโภคบริโภคของประชาชน ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งน้ำ และยังเป็นแหล่ง เพาะพันธุ์สัตว์อีกด้วย งานอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการก่อสร้างในภูมิภาค ต่างๆ อาทิ

    - ภาคเหนือ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ต๋ำ จังหวัด พะเยา เป็นต้น
    - ภาคกลางและภาคตะวันตก ได้แก่ อ่างเก็บนาห้วยซับตะเคียน อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย อําเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อ่างเก็บนาห้วยเดียก อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำลําพะยัง อําเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
    - ภาคใต้ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง อ่างเก็บน้ำ คลองหลา จังหวัดสงขลา เป็นต้น

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดํารัสเกี่ยวกับโครงการอ่าง เก็บน้ำห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นตัวอย่างในการพัฒนาลุ่มน้ำ โดยสมบูรณ์แบบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน ดังนี้

              "...เช่นเดียวกับที่เคยเล่าให้ฟัง เรื่องโครงการแห่งหนึ่งที่ ภาคเหนือ ที่สันกำแพง ไปดูสถานที่ ชาวบ้านเองก็ขอให้ทํา อ่างเก็บนาตรงนั้น คือ ห้วยลาน แล้วช่างก็บอกว่าทําได้ ทาง ส่วนราชการได้แก่ กรมชลประทานกับสำนักเร่งรัดพัฒนา ส่วนอ่างเก็บน้ำอันนั้นก็ เสร็จภายใน ๗ - ๘ เดือน เก็บน้ำได้ ในปีต่อไป ปลูกข้าวได้แล้ว น้ำในหมู่บ้านมี ไม่ต้องเดิน ๓ กิโลเมตร ไปตักน้ำที่อื่น ที่แหล่งน้ำอื่น ภายในปีหนึ่งประชาชนได้รับ ผลประโยชน์ของการกำจัดภัยแล้งที่ตรงนั้น ก็หมายความว่า ไม่ช้า ลงมือท่าแล้วได้ผลนับว่าทันที..."

  • ๒.งานฝายทดน้ำ

              ฝายทดน้ำ คือสิ่งก่อสร้างที่สร้างปิดขวางทางน้ำไหล เพื่อทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูงขึ้นจนสามารถผันน้ำเข้าไปตามคลองหรือคูส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำได้สะดวก

              ฝายที่สร้างขึ้นจะต้องกำหนดให้มีขนาดความสูงพอสมควร เพื่อทดน้ำให้ ไหลเข้าคลองส่งน้ำได้ และสันฝ่ายก็จะต้องมีขนาดความยาวที่สามารถระบายน้ำ จํานวนมากในฤดูน้ำหลากให้ไหลล้นข้ามสันฝายไปได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย โดยไม่ทําให้เกิดน้ำท่วมตลิ่งที่บริเวณด้านเหนือฝายมากเกินไป

              ฝายที่สร้างกันโดยทั่วไปมักมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู อาจมีลักษณะ เป็นฝ่ายชั่วคราวซึ่งสร้างด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ไม้ไผ่ เสาไม้ ทราย กรวด และหิน ฯลฯ ส่วนฝ่ายถาวรส่วนใหญ่มักสร้างด้วยวัสดุที่มีความคงทนถาวร ได้แก่ หิน และ คอนกรีต เป็นต้น

              ในลําน้ำที่มีน้ำไหลมาอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ฝายจะช่วยทดน้ำในช่วงที่ไหลมาน้อย และมีระดับต่ำกว่าตลิ่งนั้นให้สูงขึ้น จนสามารถผันน้ำเข้าสู่คลองส่งน้ำไปอังไร่นาต่อไป และในหน้าแล้ง ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ อาจไม่มากพอสําหรับการเพาะปลูก แต่น้ำที่กักเก็บไว้ใน บริเวณด้านหน้าฝ่าย จะเป็นประโยชน์สําหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนในละแวกนั้นๆ

              นอกจากนี้ ในลําน้ำที่มีขนาดใหญ่ มักนิยมสร้างเขื่อนทดน้ำซึ่งเรียกว่า "เขื่อนระบายน้ำ" ซึ่งจะสามารถทดน้ำให้มีความสูงในระตับที่ต้องการเมื่อ น้ำหลากมาเต็มที่ เขื่อนระบายน่าจะเป็นบานระบายน่าให้ผ่านไปได้ในปริมาณที่มากกว่าฝายงานฝายทดน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ที่ก่อสร้างในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายบ้านท่าโป่งแตง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฝายห้วยน้ำพร้า อําเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้น

               ภาคใต้ ได้แก่ ฝายทดน้ำคลองสุไหงปาดี อําเภอสุไหงปาดี จังหวัด นราธิวาส ฝ่ายทดน้ำคลองไม้เสียบ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ฝ่ายห้วยโคโล่ จังหวัดอุดรธานี เขื่อนระบายน้ำลำน้ำเขิน อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

  • ๓. งานขุดลอกหนองบึง

              เป็นการขุดลอก หนอง บึง ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ให้สามารถเก็บน้ำได้ มากขึ้น เนื่องจากหนอง บึง ส่วนใหญ่มักตื้นเขินจากการเคลื่อนตัวของตะกอน ลงสู่หนองและบึง ทําให้ไม่สามารถเก็บน้ำได้มากนัก และอาจไม่มีเพียงพอใน ฤดูแล้ง ดังนั้นการขุดลอกตะกอนดินที่อยู่ในหนองและบึง จึงเป็นวิธีการเพิ่ม ปริมาณกักเก็บน้ำของหนองและบึงนั้นๆ

              ในปัจจุบัน ห้วย คลอง หนองบึงต่างๆ มักตื้นเขิน และถูกบุกรุกทําให้ เกิดความเดือนร้อนแก่ชุมชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ตําเนินการขุดลอก หนองและบึง ที่มีอยู่ เพื่อแก้ปัญหาการ ขาดแคลนน้ำได้แก่ ในอําเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร อําเภอนาแก อําเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นต้น

    ๔. งานสระเก็บน้ำ

              สระเก็บน้ำคือ สระสําหรับเก็บกักน้ำฝน น้ำที่ไหลมาตามผิวดิน หรือ น้ำซึมจากดินสู่สระเก็บน้ำ โดยมีขนาดต่างๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นสระน้ำขนาดเล็ก มักสร้างในบริเวณที่ไม่มีสําน้ำธมชาติ ในการขุดสระเก็บน้ำ มักนําดินที่ขุดขึ้น มาถมเป็นคันล้อมรอบสระ

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในไร่นาและการอุปโภคบริโภคซึ่งนับแต่จะรุนแรงมากขึ้น การทําอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ หรือการขุดลอกหนองบึง ซึ่งมีอยู่จํากัด ไม่อาจจะจัดหาแหล่งน้ำได้ พอเพียงแก่ราษฎร ที่มีถิ่นฐานกระจายอยู่โดยทั่วไป ดังนั้น จึงพระราชทาน แนวพระราชดำริในการขุดสระน้ำในไร่นาของเกษตรกร เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี สําหรับการอุปโภคบริโภคและทางการเกษตร พระราชดำริดังกล่าวมีชื่อว่า "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งจัดทําแห่งแรกในพื้นที่ใกล้วัดมงคลชัยพัฒนา อําเภอเมือง สระบุรี ในพื้นที่ ๑๕ ไร่ มีการขุตสระน้ำลึกประมาณ ๙ เมตร ความจุสระ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นพื้นที่ปลูกข้าว พืชไร่ และไม้ผล รวมทั้งตัวบ้าน

              แนวพระราชดําริในการจัดหาน้ำตาม "ทฤษฎีใหม่" นี้ ได้มีการขยาย ผลไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยความร่วมมือของหน่วยราชการและองค์กร เอกชน ทําให้เกษตรกรจํานวนมากได้ประโยชน์จากการที่มีน้ำเพียงพอสําหรับ การเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอาหารจากไร่นาสําหรับการบริโภคในครัวเรือน และมีรายได้พอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในส่วนความ รับผิดชอบของกรมชลประทานที่ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจนถึงปีพ.ศ. ๒๕๓๗ มีดังนี้คือ ภาคเหนือ ๕๔๘ โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓๓๔ โครงการ ภาคกลาง ๒๕๖ โครงการ และภาคใต้ ๒๘๖ โครงการ รวมทั้งสิ้น ๑.๓๒๙ โครงการ สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคให้มีน้ำใช้อย่าง เพียงพอตลอดปี และส่งน้ำให้แก่พื้นที่เกษตรในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๓.๒๐๐,๐๐๐ ไร่

  • การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

              ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม ซึ่งมักได้รับพายุฝนติดต่อกันหลายวันใน ฤดูฝน ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นพื้นที่กว้างใหญ่เป็นประจําเกือบทุกปี ก่อให้ เกิตความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติ จึงพระราชทานพระราชดําริให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดําเนินการแก้ไขป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหาจากการที่ น้ำไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่เกษตรกรรม โดยหาทางกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้เป็น ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ตังพระราชตํารัส เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ดังนี้

              "...ในปีที่ผ่านมานี้ก็มีภัยพิบัติต่างๆ จะยกเฉพาะเรื่องน้ำท่วม ที่ทําความเดือนร้อนในภาคกลาง ในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติ ไม่มี ใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติเช่นนั้น แต่เราจะต้องเรียนรู้ เราต้องใช้ภัยธรรมชาตินั้น เป็นครูที่จะสอนเราและความ เสียหายที่เกิดขึ้นในคราวนี้จํานวนเป็นพันล้าน จะต้องช่วยให้ ผู้ประสบภัยนั้นทํามาหากินได้ต่อไป ผู้ที่เป็นกสิกร ต้องแจกพันธุ์พืชให้เขาปลูกได้ต่อไป การใช้จ่ายนั้นมากมาย เพราะว่าแม้เพียงการสูบน้ำหรือการทําให้น้ำในคลองไหล คล่องตัวนั้น ก็ต้องใช้งบประมาณมาก ทั้งต้องเสียค่าพันธุ์พืช ทดแทนด้วย ทั้งต้องนําน้ำนั้นลงทะเล เมื่อน้ำแห้งแล้วจะปลูก พันธุ์พืชต่างๆ ก็ต้องมีน้ำอีก น้ำนี้เอามาจากไหน เพราะว่า ทิ้งทะเลไปหมดแล้ว ฉะนั้นถ้าสามารถจะเก็บกักน้ำที่เททิ้งลง ไปในทะเลเอาไว้ได้ เพื่อทําการเพาะปลูกในเวลาฝนหยุดแล้ว ก็จะเป็นการดี เพราะแทนที่จะต้องเดือดร้อนในการที่ไร่นา ไม่มีน้ำ ก็สามารถที่จะทําการเพาะปลูกทดแทนที่ได้ปลูกไว้ และเสียหายไป... ฉะนั้นข้อแรกที่ควรพิจารณาคือ หาทางเก็บ น้ำไว้เพื่อเพาะปลูกทดแทนส่วนที่เสียไป แต่นอกจากนี้เรา ควรพิจารณาว่า ถ้าสามารถที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วม สกัดไว้ ไม่ให้ลงมาท่วม ก็จะบรรเทาการท่วมและลดความเสียหาย ฉะนั้นการหาทางที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วมเอาไว้ได้ สําหรับให้ เป็นน้ำที่ให้คุณ ที่ช่วยให้มีรายได้ ก็จะเป็นการดีเป็นทวีคูณ ที่พูดมานี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากว่าเราทําโครงการได้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อน จะกลับเป็นวิธีที่จะ เพิ่มพูนก ารผลิตได้ด้วยซ้ำ ฉะนั้นการที่จะทําโครงการที่แยบคาย เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายในการท่วมนั้น และเพิ่มพูน ผลิตผลในหน้าแล้ง ก็ได้ผลสองเท่าตัว คือไม่ต้องใช้เงินแก้ไข หรือบรรเทาทุกข์ของประชาชน ซ้ำจะได้ให้ประชาชนทํากินได้ เพิ่มพูนขึ้นไปเกือบสองเท่า ฉะนั้นถ้าหากว่าสามารถที่จะทํา โครงการอะไรในทํานองนี้ ก็จะไม่ใช่เพียงเป็นการประหยัด เท่านั้นแต่ยังเป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศชาติขึ้นไปอีกด้วย อันนี้เป็นตัวอย่าง..."

              การแก้ไขปัญหาน่าท่วมทีหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการสนองพระราชตําริมี หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ งบประมาณ และความสามารถในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา ดังนี้

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดําริให้กรมชลประทาน พิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในบริเวณแม่น้ำโก-ลก อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัตนราธิวาส โดยการขุดคลองผันน้ำและแบ่งน้ำจากแม่น้ำโกลกเมื่อเกิดน้ำหลากให้ออกสู่ ทะเลทางด้านตะวันออก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ คลองมูโนะ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๕๖๐ กิโลเมตร สามารถแบ่งน้ำแม่น้ำโก-ลกออกสู่ทะเล และยังมีประโยชน์ใน การกักเก็บน่าไว้ใช้เพื่อการเกษตรอีกด้วย

  • ๑.การก่อสร้างคันกั้นน้ำ

              คันกั้นน้ำส่วนใหญ่สร้างด้วยดินถมบดอัดแน่น สูงพ้นระดับนดไท่วมสูงสุด เคยเกิดขึ้นในอดีต เป็นวิธีป้องกันน้ำท่วมที่นิยมทํากันมาช้านาน คันกันน่าจะ ขนานไปตามลําน้ำโดยห่างจากขอบตลิ่งพอประมาณ เพื่อกั้นน้ำที่มีระดับสูงกว่า ความมันคงแข็งแรงให้สามารถ ใช้งานได้นาน ส่วนในจุดที่คันกั้นน้ำผ่านร่องน่าหรือทางน้ำ จะต้องมีการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ และป้องกันน้ำ จากภายนอกไหลเข้าไปท่วมภายในกรมชลประทานได้ก่อสร้างคันกันน้ำเพื่อสนองพระราชดำริ ได้แก่ คันกั้น - น้ำของโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

    ๒. การก่อสร้างทางผันน้ำ

              เป็นการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งให้ไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นมาใหม่ ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเล แล้วแต่กรณี

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในบริเวณแม่น้ำโก-ลก อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยการขุดคลองผันน้ำและแบ่งน้ำจากแม่น้ำโก-ลกเมื่อเกิดน้ำหลากให้ออกสู่ ทะเลทางด้านตะวันออก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ คลองมูโนะ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๕๖๐ กิโลเมตร สามารถแบ่งน้ำแม่น้ำโก-ลกออกสู่ทะเล และยังมีประโยชน์ใน การกักเก็บน่าไว้ใช้เพื่อการเกษตรอีกด้วย

    ๓. การปรับปรุงสภาพลำน้ำ

              เป็นวิธีการปรับปรุงและตกแต่งลำน้ำเพื่อเพิมความสามารถของลำน้ำ ในฤดูน้ำหลากให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น ด้วยความเร็วมากขึ้นกว่าเดิม อันเป็นการลดปัญหาความเสียหายจากน่าท่วม ซึ่งอาจทําโตยการขุดลอกสําน้ำที่ตื้นเขินให้ น้ำสามารถไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือชุดทางน้ำใหม่ลัดจากลําน้ำด้าน เหนือที่คดโค้งไปบรรจบกับลําน้ำด้านใต้

    ๔. การก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ

              เป็นการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำปิดกั้นลำน้ำธรรมชาติระหว่างหุบเขา หรือเนินสูงที่บริเวณต้นน้ำของลําน้ำสายใหญ่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อน ทําให้ เทิดแหล่งน้ำขนาดต่างๆ เรียกว่า “อ่างเก็บน้ำ” เขื่อนดังกล่าวมีหลายขนาด และสร้างด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อการชลประทาน ซึ่งมักได้ประโยชน์อื่นๆ ตามมา เช่น การประมง การบรรเทาปัญหาน้ำท่วม การอุปโภคบริโภค โดยที่เชื่อนขนาตใหญ่เหล่านี้มักเป็นเขื่อน อเนกประสงค์

               เขื่อนขนาดใหญ่ที่พระราชทานพระราชดําริให้กรมชลประทานดําเนิน การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นนามพระราชทาน สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำมีความจุ ๒๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตร และเสด็จ พระราชดําเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ สามารถ ป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในลําน้ำแม่งัดและน้ำแม่ปิง แก้ปัญหาน้ำท่วม ตัวเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังกักเก็บนําไว้ใช้ทําการเกษตรใต้ตลอดปีถึง ๑๘๘,๐๐๐ ไร่

              จากการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในท้องที่อําเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้พระราชทานพระราชดําริให้กรมชลประทานพัฒนาลำน้ำแม่กวง โดยทารสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำให้ราษฎรมีน้ำสําหรับการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน โดยสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สามารถกักเก็บน้ำได้ ๒๖๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกใน

              เขตอําเภอดอยสะเก็ด อําเภอสันทราย อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่และอําเภอเมืองลําพูน รวมพื้นที่ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ไร่ โตยเชื่อนนี้ได้รับพระราชทานนามอันเป็นสิริมงคลว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

    ๕. การระบายนาออกจากพื้นที่ลุ่ม

              เป็นการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่า ซึ่งมีน้ำขังอยู่นานหลายเดือนในแต่ละปีจนไม่สามารถใช้เพาะปลูกได้ การระบายน้ำออกจากที่ลุ่มนี้ จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง และสามารถใช้พื้นที่นั้นให้เกิดประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ ทั้งนี้จะต้องขุดคลองระบายน้ำออกไปทิ้งในลําน้ำหรือทะเล

              ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริได้แก่ การระบายน้ำออก จากพื้นที่เพาะปลูกขอบพรุบาเจาะ อําเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งกรม ชลประทานดําเนินการสนองพระราชดำริในปี พ.ศ. ๒๕๑๙โตยขุดคลองระบายน้ำ จากพื้นที่ขอบพรุลงสู่ทะเล ต่อจากนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดําเนินการจัดตั้ง สหกรณ์นิคมพรุบาเจาะ โดยจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรครอบครัวละ ๒๐ ไร่ และจัดที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านครอบครัวละ ๗ ไร่ รวมพื้นที่การเกษตร ๔๐,๐๐๐ ไร่ และที่ดินในหมู่บ้านอีก ๒,๐๐๐ ไร่

  • การแก้ปัญหานํ้าเสีย

             แนวพระราชดําริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียทางการเกษตรในที่นี้หมายถึง น้ำเค็มและน้ำกร่อย โดยมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้

    ๑. การแก้ไขปัญหาน่าเคีมจากการทํานาเกลือ

             ในพื้นที่เขตอําเภอวานรนิวาสและอําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ซึ่งมี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสูบน้ำใต้ดินซึ่งมีสารละลายของเกลือจากเกลือหิน ซึ่งอยู่ใต้ดิน ในปัญหาดังกล่าวเกิดจากผู้ทํานาเกลือปล่อยน้ำเค็มจากการทํานา เกลือลงสู่ลําน้ำสาธารณะ แล้วแพร่กระจายไปในพื้นที่ไร่นา หรือน้ำฝนซะลาน ตากเกลือ ทําให้ได้ผลผลิตข้าวที่ปลูกลดลง

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใต้พระราชทานพระราชดําริถึงแนวทางแก้ไข แก่ผู้ทํานาเกลือให้สามารถดําเนินการใต้ โดยต้องไม่ทําความเสียหายแก่พื้นที่ ปลูกข้าวใกล้เคียง กล่าวคือ ผู้ทํานาเกลือทังหลายจะต้องจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งที่บริเวณลานตากเกลือ ขุตเป็นสระเก็บน้ำสําหรับรองรับนําเค็มที่ปล่อยทิงจากลาน ตากเกลือทั้งหมดเก็บไว้ในสระเพื่อรอการระเหยหรือไหลลงในดินโดยบ่อบาดาล เล็กๆ ที่ขุดขึ้น เพื่อระบายน้ำลงสู่ชั้นน้ำเค็มใต้ดินที่สูบขึ้นมา ขนาดของสระน้ำ  ดังกล่าวจะมีขนาดและความลึกเท่าใด ต้องกําหนดให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำทิ้ง จากลานตากเกลือ และความสามารถของน้ำในสระที่ไหลลงไปใต้ดิน ทั้งนี้ ให้มี ความสมดุลพอดีกัน โดยไม่ทําให้น้ำเค็มไหลล้นไปยังสําน้ำสาธารณะ ดังนั้น ระบบการทํานาเกลือสินเธาว์ที่ไต้มาตรฐาน ตามแนวพระราชดําริ จึงมีบ่อรับน้ำทิ้งจากลานตากเกลือ และระบบการกําจัดโดยการอัดน้ำเหล่านี้สู่ชั่นน้ำเกลือที สูบขึ้นมา ซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำเค็มที่ระบายจากลานตากเกลือมิให้ไหลลงใน ร่องน้ำและพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังพระราชตํารัสที่พระราชทาน แก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ความว่า

              "...เมื่อประมาณ ๔ ปีมานี้ ได้วางโครงการที่อําเภอบ้านม่วง ที่หมู่บ้านที่ชื่อว่าบ้านจาร แล้วก็ได้ช่วยทําอ่างเก็บน้ำ ก็ได้ผล ชาวบ้านเหล่านั้นเขาไม่อยากที่จะทําการต้มเกลือหรือทํานาเกลือ เพราะทราบดีว่าถ้าทําแล้วนาข้าวเสียหาย ก็ได้สนับสนุนเขา และ ปีนี้เขาสามารถทํานาข้าวได้ดี เขาก็ดีใจมาก แต่ก็ยังมีกิจการ นาเกลือหรือต้มเกลืออยู่อีกมาก ซึ่งมีผลเสียหลายประการ ให้ดินในแถวนั้นเค็มไม่สามารถปลูกพืชต่าง ๆ ทําให้ น้ำที่ลงมาในห้วยกร่อยหรือเค็ม ทําให้ไม่สามารถใช้น้ำทําการเพาะปลูกหรือบริโภค ข้อดีของการทําเกลือนี้ก็คือทําให้ ประชาชนมีรายได้ เพราะว่ารายได้ของการต้มเกลือ หรือทํา นาเกลือนั้นก็ดีพอสมควร เพราะว่าตลาดโลกยังต้องการเกลือ ชนิดที่ผลิตในภาคอีสานอีกมาก...แต่ถ้าเราสามารถทําทั้งนาเกลือ ด้วย และทํานาข้าวได้ด้วยโดยวางโครงการไว้ให้ดี รวมทั้งให้ มีน้ำบริโภค ก็จะเป็นการดียิ่ง จึงได้พยายามหาทางปฏิบัติ เพื่อ ที่จะให้มีทั้งบ่อเกลือคือนาเกลือ มีทั้งนาข้าวได้และยังมีน้ำ บริโภคด้วยวิธีซึ่งไม่ยากนักในการทํานาเกลือที่ป้องกันมิให้เกิด ความเสียหายมากเกินไป คือสูบน้ำจากในดินขึ้นมาทํานาเกลือ และเมื่อใช้น้ำนั้นแล้ว แทนที่จะเทลงห้วยก็เทกลับลงไปในดิน ซึ่งทําได้ เพราะว่าดูดน้ำขึ้นมาจากดินก็มีเกลือขึ้นมาด้วย Bisaw ทําให้มีโพรงใต้ดิน ถ้านาน้ำลงไปแทนที่ ก็ทํากันได้ แล้วก็ ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แต่ย่อมต้องมีการสิ้นเปลืองบ้าง ถ้าไหลลง ไปในห้วยไม่ต้องสิ้นเปลืองอะไรเลย แต่ว่าข้อเสียของการเทลง ไปในห้วยก็คือ น้ำในห้วยกร่อย ที่อื่นเขาจะทําน้ำประปาก็ ไม่ได้ ทั้งใต้ดินก็เป็นโพรง มีการยุบลงไป ดังที่สื่อมวลชน ได้รูปมาแพร่ข่าวเมื่อไม่กี่เดือนนี้...ฉะนั้นถ้าวางข้อบังคับที่ เหมาะสมในการทํานาเกลือ หรือทําบ่อเกลือ จะได้ประโยชน์ ทั้งสองทาง จะสามารถกําจัดข้อเสียและสามารถให้เกิดข้อดีได้ คือน้ำในห้วยจะไม่เค็ม ก็จะทํานาข้าวได้ทุกคนก็จะได้ประโยชน์ ใครอยากทํานาข้าว ก็จะท้านาข้าวได้ ใครอยากทํานาเกลือ ก็ จะทํานาเกลือได้ ทั้งหมดนี้ ทั้งเรื่องน้ำท่วมและเรื่องเกลือนี้ จะต้องคิดให้กว้างขวาง และรอบคอบ ละเอียดลออให้เห็นผลดี ผลเสียที่แท้จริง..."

    ๒. แนวพระราชดําริในการแก้ไขปัญหาน้ำเค็ม

              ในบริเวณพื้นที่ที่ติตกับทะเลมักประสบปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าไปในลําน้ำ ทําให้เกิดปัญหาน้ำกร่อย ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกและไม่สามารถใช้ บริโภคได้ แม่น้ำบางนราซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มีลําน้ำซึ่งยาวประมาณ ๒๐ กม. มีทางออกทะเล ๒ ทาง คือ ที่อําเภอเมือง และอําเภอตากใบ จึงทำ ให้แม่น้ำบางนราตลอดทั้งสายได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลขึ้น-ลง และทําให้สภาพ น้าเป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย พระบาทสมเด็จพระราชทาน พระราชดําริให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างประตูบังคับน้ำปิดก็นปากแม่น้ำ

              - บางนราตอนบนและตอนล่าง เพื่อกันน้ำเค็มจากทะเลมิให้ไหลเข้าไปตามแม่น้ำ โดยที่ยังสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ใช้ได้ตลอดปีในพื้นที่ ๓๐๕,๐๐๐ ไร่ รัฐบาล

              ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประตูระบายน้ำทั้ง ๒ แห่ง ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓

  • วิธีการวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำ

              พระราชกรณียกิจในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในภูมิภาคต่างๆ ทังการสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝ่าย การขุดลอกหนองน้ำ และขุดสระเก็บน้ำ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ภูมิประเทศ แหล่งน้ำ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมในการทรงงานเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์จากแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ดังนั้น ในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรจึงทรงบันทึกข้อมูลลงในแผนที่อยู่เสมอทุกครั้ง ในบางกรณียังทรงใช้ภาพถ่ายทางอากาศประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนการ ศึกษาปัญหาน้ำท่วมจากพายุฝน ทรงใช้ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาประกอบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาทรัพยากรน้ำ

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อทรงรับทราบปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในท้องที่นั้น ทรง ซักถามข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหา ลักษณะการไหลของน้ำ ปริมาณการไหลของ น้ำ และทรงบันทึกข้อมูลลงในแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ของกรมแผนที่ทหาร ซึ่งทรงจัดเตรียมก่อนการสํารวจพื้นที่นั้นๆ ทุกครั้ง ดังที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าไว้ดังนี้

              "...ไปไหนๆ ก็ตาม พระเจ้าอยู่หัวก็จะต้องถือแผนที่ของท่าน อยู่แผ่นหนึ่ง แผนที่แผ่นหนึ่งของท่านค่อนข้างจะกว้างกว่า แผนที่ที่ใครๆ เห็นกันทั่วไปเพราะท่านเอาหลายๆ ระวางมา แปะติดกัน การปะแผนที่เข้าด้วยกันนั้นท่านทําอย่างพิถีพิถัน แล้วถือเป็นงานที่ใครจะมาแตะต้องช่วยเหลือไม่ได้เลยทีเดียว ก่อนที่จะเสด็จฯ ไปไหน ท่านจะเตรียมแผนที่และศึกษาแผนที่ นั้นโดยละเอียด ท่านได้ตัดหัวแผนที่ออกแล้ว ส่วนที่ตัดออก นั้นจะทิ้งไม่ได้ ท่านจะค่อยๆ เอากาวมาแปะติดกัน สํานักงาน ของท่านคือห้องกว้างๆ ไม่มีเก้าอี้ มีพื้นแล้วท่านก้มอยู่กับพื้น แล้วเอากาวติดแผนที่เข้าด้วยกัน แล้วหัวกระดาษต่างๆ ท่านก็ค่อยๆ ตัดแล้วแปะเรียงกันเป็นหัวแผนที่ใหม่เพื่อจะได้ทราบ แผนที่ระวางไหนบ้าง..."

              "...แล้วเวลาเสด็จฯ ไปก็ต้องไปถามชาวบ้านว่าสถานที่นั้น อยู่ที่ไหน ทางทิศเหนือมีอะไร ทิศใต้มีอะไร ท่านถามหลายๆ คน แล้วตรวจสอบกันไปมาระหว่างคนที่ถามนั้นดูจากแผนที่ ว่าแผนที่อันนั้นถูกต้องตีหรือไม่ น้ำไหลจากไหนไปที่ไหน..."

              นอกจากทรงสํารวจสภาพพื้นที่และความต้องการของสังคม ยังทรง พิจารณาว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างโครงการชลประทานนั้นๆ จะใช้ งบประมาณเท่าไร คุ้มค่าเพียงใต จะเกีตประโยชน์แก่คนในชุมชนไต มีผลกระทบ ต่อคนกลุ่มใด จึงมีพระราชดําริว่าราษฎรในหมู่บ้านที่ได้รับผลประโยชน์จะต้องมี ส่วนร่วมกับทางราชการในการช่วยเหลือราษฎรที่เสียประโยชน์ซึ่งตรงกับหลักการ ในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ว่าผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายนั้น ซึ่ง เป็นพระบรมราโชบายที่ทรงมุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและ ช่วยเหลือเกื้อกูลคนในสังคม และยังทําให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่ง ก่อสร้างนั้นๆด้วย

  • พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ

              แนวพระราชดําริเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว แสดงไว้อย่างชัตเจนในกระแสพระราชดํารัสที่พระราชทานเนื่องใน พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ "The Third Princess Chulabhorn Science Congress" ณ โรงแรม แซงกรี-ลา เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้

              "...การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่ก็คือ การควบคุมน้ำ ให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อมี ปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิด ภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้ง มีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจมี ผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุม น้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความ เดือดร้อนสูญเสีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชน ทั้งส่งผลกระทบเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง…"

              ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๓๙ คณะรัฐบาลไทยได้เทิดพระเกียรติคุณ ในฐานะที่มีพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาทรัพยากรน้ำ โดยถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ" เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ดั่งคํากราบบังคมทูล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ว่า

              "...ด้วยเป็นที่ประจักษ์แก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงว่า ใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาททรงตระหนักถึงความสําคัญและคุณค่าของทรัพยากรน้ำเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ได้พระราชทานพระราชดํารัสไว้ว่า “น้ำคือชีวิต” อีกทั้งยังได้พระราชทาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นจํานวนมาก โตยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง ทั้งจากเอกสาร และรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวต้องกับการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำ ทรงศึกษารายละเอียดจากแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศถึงพิกัดที่ตั้งหมู่บ้าน ในท้องถิ่นชนบทห่างไกล และเสด็จพระราชดําเนินไปทรงตรวจสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศจริง ทรงกําหนดโครงการต่างๆ ขึ้นบนแผนที่ จากนั้น พระราชทาน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาตําเนินการพัฒนาตามความเหมาะสม ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎร และทําให้ราษฎรได้มีน้ำเพื่อ อุปโภค บริโภคและทําการเกษตรตามความต้องการอย่างเพียงพอในทุกฤดูกาล

              ความสนพระราชหฤทัยในเรื่องน้ำ ของไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท มิใช่แต่ งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพสกนักรอันเนื่องจาก - การขาดแคลนนาเท่านั้น แต่ยังทรงสนพระราชหฤทัย ในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งในต้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญใน การตํารงชีวิตของมนุษย์ อาทิ การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม กรณีพื้นที่นันเกิด น้ำท่วมขังเป็นประจํา การป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยตลอดจนการแก้ไข บำบัดน้ำเน่าเสีย

              ด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ ของไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในงานพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ ข้าพระพุทธเจ้า ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยทั้งมวล จึงพร้อมใจกัน ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราช สมัญญาแด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ..."

ตกลง