สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
  •            “...ธรรมดานกอาศัยไม้ สัตว์เดินเท้าอาศัยป่า ปลาอาศัยสมุทร และแม่นํา บ่าวอาศัยนาย ไพร่อาศัยมุขมนตรี เสนีปรินายก เสนรีปรินายก ราษฎรทั่วเขตอาศัย พระมหากษัตริย์ เป็นที่พึ่งพำนักนิ สิ่งที่สัตว์อาศัยทั้งนี้ไม่มีแล้ว พระนครก็ไม่ถาวรวัฒนาการนานได้...” (ตำราพระพิไชยเสนา) 

              สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของสังคมไทยที่เกื้อกูลแผ่นดิน มาช้านาน พระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัยอาจมีพระราชอํานาจและใช้ พระราชอํานาจแตกต่างกัน แต่ทุกพระองค์ล้วนยอมรับกรอบของความเป็นพระราชาตามคำสอนในพระพุทธศาสนา นั่นคือ พระมหากษัตริย์ต้องมี “ราชธรรม” เป็นหลัก หรือเป็นแนวทางในการปกครอง

              พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรทรงพระนิพนธ์บทความ เรื่อง "The Old Siamese Conception of the Monarchy" ในวารสารสยาม สมาคม ฉบับที่ ๓๖ (ธันวาคม) พ.ศ. ๒๔๙๐ ไว้ว่า หลักธรรมของพุทธศาสนาที่ พระมหากษัตริย์ไทยสมัยสุโขทัยทรงยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางการปกครอง นำ มาจากคัมภีร์ “พระธรรมสาตร” ของอาณาจักรมอญทวารวดี ซึ่งนับถือพุทธศาสนาเถรวาท

              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ใน วิทยานิพนธ์ของพระองค์ท่านเรื่อง “ทศบารมีในพุทธศาสนานิกายเถรวาท” ว่า ในคัมภีร์เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งแต่งโดยพญาลิไทแห่งอาณาจักร สุโขทัย มีวิวัฒนาการในความเชื่อว่า กษัตริย์จะสามารถนำสังคมไปในทางดีขึ้นได้ เพราะกษัตริย์เป็นทั้งผู้ปกครองและเป็นผู้นำทางศีลธรรม กล่าวคือ ได้บำเพ็ญ บารมีจนบรรลุพระโพธิญาณ และชี้นำทางแก่บุคคลอื่นด้วย พระมหากษัตริย์ คือ “พญาจักรพรรดิราช” เป็นสมมติราชที่มีบุญบารมีดังพระโพธิสัตว์ มีหน้าที่ สั่งสอนประชาชนให้รู้ธรรม ธรรมที่พระมหากษัตริย์สุโขทัยได้ทรงใช้ในการปกครอง ประกอบด้วย - ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม ๑๐ ประการ ที่จะนำพระมหากษัตริย์ ไปพบแต่ความรุ่งเรือง
                     - จักรวรรดิวัตร ๑๒ หรือข้อประพฤติที่พระมหากษัตริย์ปฏิบัติสม่ำเสมอ 
                     - เบญจศีล หรือศีล ๕ ประการ ซึ่งคนดีพึงยึดปฏิบัติ
                     - อุโบสถศีล ๓ ข้อ ที่พึงยึดถือเพิ่มเติม 
                     - สังคหวัตถุ ๔ หรือเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคลให้สามัคคี ๔ ประการ 
                     - พละ ๕ หรือพลังของพระมหากษัตริย์ ๕ ประการ ที่สามารถปกครอง แผ่นดินได้ และหลักแห่งความยุติธรรมอีก ๔ ประการ ที่จะทำให้เกิด ความยุติธรรมแก่แผ่นดิน

              หลักธรรมเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากพระไตรปิฎกทังสิน และด้วย "ธรรม” ที่พระมหากษัตริย์ทรงยึดเป็นหลักการปกครองนี้เอง จึงทำให้พระมหากษัตริย์เป็น “ธรรมราชา” หรือราชาผู้มีธรรม และใช้ธรรมในการปกครอง เพื่อให้ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

     

  •           ในสมัยอยุธยา แนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจาก สมัยสุโขทัย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูผ่านทางอาณาจักรขอม พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยาเพิ่มคุณลักษณะของความเป็น “เทพเจ้า” ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจเหนือสามัญชน พระมหากษัตริย์ คือ พระนารายณ์อวตารลงมายังโลกมนุษย์เพื่อขจัดทุกข์เข็ญ เป็น “เทวราชา” หรือ ราชาผู้เป็นเทวะ ซึ่งมีราชธรรมเป็นเครื่องกำกับ พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา จึงเป็นทั้ง “เทวราชา” และ "ธรรมราชา” ในขณะเดียวกัน ดังจะเห็นได้จาก พระนามพระเจ้าแผ่นดินว่า “พระรามาธิบดี" "พระศรีสรรเพชญ์”, “พระมหาจักรพรรดิ” “พระเจ้าทรงธรรม" และ “พระนารายณ์"

              พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์สืบทอดคติทั้งสองต่อมา แม้ว่า ในด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีในราชสำนัก พระมหากษัตริย์จะทรงเป็น “เทวราชา” แต่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ได้ทรงแก้ไขแบบแผน ธรรมเนียมให้เป็นคุณแก่ราษฎร ดังเช่นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกเลิกประเพณีการ ยิงกระสุนในระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนิน อันเป็นประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

              ในด้านปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ทรงเป็น "ธรรมราชา" ทรงยึดทศพิธราชธรรมเป็นหลักในการปกครองและทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง พระมหากษัตริย์เป็นองค์ความยุติธรรม ความมีเมตตาเป็นที่พึ่งแห่ง ราชฎร พระมหากษัตริย์จึงมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองราษฎร และรักษาชาติบ้าน เมืองให้มีความสงบร่มเย็น ดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดงว่า

              “…ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี…"

              ครั้นล่วงมาถึงสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ มิได้มีอำนาจในการบริหารประเทศโดยตรง หากพระองค์จะทรงวางพระราชกิจทั้งปวง คงไว้แต่พระราชกรณียกิจในฐานะองค์ ประมุขอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศก็ย่อมทรงกระทำได้ แต่ด้วยน้ำพระทัยที่ ทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ เพื่อราษฎรตลอดระยะเวลา ๕๐ ปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงปกป้องคุ้มครองประเทศชาติและประชาชน ให้เกิด ความร่มเย็นเป็นสุขตามครรลองแห่ง “ธรรมราชา” โดยแท้ สมดังพระปฐม บรมราชโองการที่ทรงไว้ในวันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติว่า

              “...เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม..."

ตกลง