นายอัคระ ธิติถาวร
20 ก.ค. 2560
6,274
1,058
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาชาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2559
นายอัคระ ธิติถาวร
นายอัคระ ธิติถาวร

นายอัคระ ธิติถาวร เกษตรกรผู้พลิกผันชีวิตตนเองจากลูกจ้างบริษัทเอกชน มาทำเกษตรกรรม เนื่องจากเห็นว่าการเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนไม่มีความยั่งยืนในชีวิต จึงได้เริ่มกลับมาทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง จำนวน 5 ไร่ ปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นแบบอินทรีย์และเลี้ยงแพะประมาณ 10 ตัว เพื่อใช้มูลแพะให้เป็นปุ๋ยแก่พืชผักที่ปลูก  ต่อมาได้เล็งเห็นว่าการเลี้ยงแพะสามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ จึงหันมาให้ความสนใจการเลี้ยงแพะนมเชิงอินทรีย์โดยทำการศึกษา คัดเลือกพันธุ์แพะนมพื้นเมืองและแพะนมจากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองวิธีการเลี้ยงดูตามธรรมชาติ และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ คิดค้นองค์ความรู้ในการใช้พืชสมุนไพรดูแลสุขภาพสัตว์แทนการใช้สารปฏิชีวนะ ปัจจุบันฟาร์มแพะนมของนายอัคระ มีแพะ จำนวน 77 ตัว มีลักษณะเป็นฟาร์มขนาดเล็กแต่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ครบวงจรโดยใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก นายอัคระ ใช้เวลาว่างในการศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อสร้างองค์ความรู้การเลี้ยงแพะ ด้วยความมีจิตสาธารณะจึงได้ใช้ความรู้ความสามารถ และใช้พื้นที่ดำเนินกิจกรรมการเกษตรของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการเลี้ยงแพะ ศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์อินทรีย์การเลี้ยงแพะ เป็นที่ทำการหมอดินของหมู่บ้าน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่

 อายุ             54 ปี

การศึกษา       ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต เอกพืชศาสตร์

สถานภาพ      สมรส มีบุตร 1 คน (หญิง 1 คน)

ที่อยู่              บ้านเลขที่ 43/1 หมู่ที่ 3 บ้านพรุจำปา

                    ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110

โทรศัพท์        089-196-6003

อาชีพ            เลี้ยงสัตว์-เกษตรกรรม

คุณลักษณะส่วนบุคคล  

นายอัคระ ธิติถาวร เกษตรกรผู้พลิกผันชีวิตตนเองจากลูกจ้างบริษัทเอกชน มาทำเกษตรกรรม เนื่องจากเห็นว่าการเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนไม่มีความยั่งยืนในชีวิต จึงได้เริ่มกลับมาทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง จำนวน 5 ไร่ ปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นแบบอินทรีย์และเลี้ยงแพะประมาณ 10 ตัว เพื่อใช้มูลแพะให้เป็นปุ๋ยแก่พืชผักที่ปลูก  ต่อมาได้เล็งเห็นว่าการเลี้ยงแพะสามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ จึงหันมาให้ความสนใจการเลี้ยงแพะนมเชิงอินทรีย์โดยทำการศึกษา คัดเลือกพันธุ์แพะนมพื้นเมืองและแพะนมจากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองวิธีการเลี้ยงดูตามธรรมชาติ และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ คิดค้นองค์ความรู้ในการใช้พืชสมุนไพรดูแลสุขภาพสัตว์แทนการใช้สารปฏิชีวนะ ปัจจุบันฟาร์มแพะนมของนายอัคระ มีแพะ จำนวน 77 ตัว มีลักษณะเป็นฟาร์มขนาดเล็กแต่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ครบวงจรโดยใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก นายอัคระ ใช้เวลาว่างในการศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อสร้างองค์ความรู้การเลี้ยงแพะ ด้วยความมีจิตสาธารณะจึงได้ใช้ความรู้ความสามารถ และใช้พื้นที่ดำเนินกิจกรรมการเกษตรของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการเลี้ยงแพะ ศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์อินทรีย์การเลี้ยงแพะ เป็นที่ทำการหมอดินของหมู่บ้าน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายอัคระ ได้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในกลุ่มผู้เลี้ยงแพะอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การคัดเลือกเพื่อพัฒนาพันธุ์แพะอย่างต่อเนื่อง จนได้แพะนมพันธุ์ดีที่ ให้น้ำนมได้เฉลี่ย 2 ลิตร/ตัว/วัน ระยะเวลาให้นมนานถึง 200-240 วัน เป็นแพะที่เลี้ยงง่ายสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศ นำไปเลี้ยงได้ดีทั่วประเทศจนเป็นที่ยอมรับในนาม “แพะนมภูเก็ต” และยังได้คิดค้นสร้างองค์ความรู้ในการเลี้ยงแพะนมเชิงอินทรีย์ คิดค้นและทำการผลิตน้ำนมแพะอินทรีย์ที่ได้คุณภาพได้รับมาตรฐาน โดยได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) และผลิตภัณฑ์นมแพะพาสเจอร์ไรส์ ภายใต้ชื่อ “พรุจำปา” ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์การอาหารและยา (อย.) ในปี พ.ศ. 2548 อีกทั้ง ยังมีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์อื่น ๆ ร่วมกันการเลี้ยงแพะเพื่อให้เกิดการเกื้อกูลในการใช้ทรัพยากรในฟาร์ม

ผลงานของนายอัคระ ได้ถูกนำไปเผยแพร่และใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมช่วยสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและยังเป็นอาชีพเสริมแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้เป็นอย่างดี จนได้รับ   การบรรจุชื่อในนามานุกรมผู้เชี่ยวชาญด้านปศุสัตว์ไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงแพะจากสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยังได้ก่อตั้งกลุ่มแพะนมอัครดิษฐ์ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงแพะตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 การขยายผลงาน

นายอัคระ ได้ถ่ายทอดผลงานที่คิดค้น สร้างสรรค์ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เครือข่าย โดยมีการเรียบเรียงจัดทำเป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่ เช่น “หนังสือแพะนมภูเก็ต สุดยอดแพะนมแดนสยาม” และเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก รวมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลงานทั้งในระดับจังหวัดจนถึงระดับประเทศ อาทิ ชมรมชาวแพะภูเก็ต เครือข่ายผู้เลี้ยงแพะภาคใต้ตอนบน เครือข่ายผู้เลี้ยงแพะภาคใต้ตอนล่าง เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ แกะ แห่งประเทศไทย โดยใช้หลักการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของการทำการเกษตรแบบไม่ทำลายระบบนิเวศน์ สร้างอาหารที่ดีไม่มีสารปนเปื้อนซึ่งจะสร้างให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้บรรจุแนวทางการดำเนินกิจกรรมของนายอัคระ ไว้ในแผนนโยบายการผลิตปศุสัตว์และนำไปเผยแพร่สู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกร ข้าราชการ คณะนักศึกษา ผู้บริหารจากต่างประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย อินเดีย ลาว มองโกเลีย ญี่ปุ่น ได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำองค์ความรู้ของนายอัคระ ไปปรับใช้อีกด้วย

ตกลง