นายชัยพร พรหมพันธุ์
20 ก.ค. 2560
9,688
2,012
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2558
นายชัยพร  พรหมพันธุ์
นายชัยพร พรหมพันธุ์

นายชัยพร  พรหมพันธุ์ เป็นลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางใหญ่ พื้นเพเดิมเป็นคนตำบลบ้านแหลม จังหวัดสุพรรณบุรี สมัยเด็ก ๆ ไม่ได้เรียนหนังสือ บิดาจึงส่งไปทำงานอยู่อู่ซ่อมรถกว่า 3 ปี   แล้วกลับมาช่วยที่บ้านทำนาเมื่อปี พ.ศ. 2525 หลังจากแต่งงานแล้วจึงย้ายมาอยู่กับภรรยาและทำนาด้วยการใช้สารเคมีมาโดยตลอดในพื้นที่ 25 ไร่ ได้ข้าวเปลือกเพียง 13 เกวียน ทำให้ขาดทุน  ทุกปี จึงคิดหาทางออกให้กับตนเองด้วยการหาความรู้จากหนังสือและการเข้าอบรมจากที่ต่าง ๆ จนในปี   พ.ศ. 2532 อาจารย์เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิข้าวขวัญ ได้ขอที่   5 ไร่ ของบิดาเพื่อทำการทดลองปลูกข้าวโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรควบคุมแมลงและบิดาไม่มีเวลาดูแลแปลงนาดังกล่าว ตนจึงต้องไปดูแลเองผลปรากฏว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการทำนาโดยใช้สารเคมี พบว่ารายได้ที่ได้รับมากกว่าการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและยังสังเกตเห็นแปลงข้าวที่ฉีดสมุนไพรไม่มีเพลี้ยรบกวน จากประสบการณ์และการเรียนรู้ครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของการลดการใช้สารเคมีและเริ่มใช้วิธีผสมผสานกับสมุนไพรในที่นาตนเอง 8 ไร่ และขยายไปจนถึง 108 ไร่ ในปัจจุบัน

 อายุ                        54 ปี

การศึกษา                 ประถมศึกษาปีที่ 4

สถานภาพ                สมรส มีบุตร ธิดา 3 คน ชาย 1 คน หญิง 2 คน

ที่อยู่                       35  บ้านบางใหญ่  หมู่ที่ 1  ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า 

                            จังหวัดสุพรรณบุรี

โทรศัพท์                  035-424-210,081-178-2813

อาชีพ                      ทำนา

รางวัลที่ได้รับ

ระดับสังคม

- รางวัลชมเชยด้านประชาชนทั่วไปในการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านประชาชนทั่วไปประจำปี 2550

- โล่เชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2543

- เกษตรกรดีเด่นระดับภาค ตะวันตกอาชีพทำนา ประจำปี 2538

ระดับประเทศ

- รางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นประจำปี 2558

- รับโล่รางวัล ปราชญ์เกษตร 72 ปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557

- ประกาศเกียรติคุณ รางวัลเกษตรกรปราดเปรื่องด้านการผลิตข้าว ปี 2556

- ประกาศเกียรติคุณ พลังแห่งความดีคนนอกกรอบ ประจำปี 2553

- โล่เชิดชูเกียรติ ผู้ทรงคุณค่าต่อวงการเกษตรไทย ประจำปี 2553

- โล่รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดจากมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2552

- โล่ประกาศเกียรติคุณ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพทำนาประจำปี พ.ศ. 2538

ระดับนานาชาติ

- ใบรับรองการมีส่วนร่วม กิจกรรมการแลกเปลี่ยนการจัดการแมลงศัตรูข้าวในระดับพื้นที่ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2540ณ ประเทศฟิลิปปินส์

ชีวิตที่พอเพียง

นายชัยพร  พรหมพันธุ์ เป็นลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางใหญ่ พื้นเพเดิมเป็นคนตำบลบ้านแหลม จังหวัดสุพรรณบุรี สมัยเด็ก ๆ ไม่ได้เรียนหนังสือ บิดาจึงส่งไปทำงานอยู่อู่ซ่อมรถกว่า 3 ปี   แล้วกลับมาช่วยที่บ้านทำนาเมื่อปี พ.ศ. 2525 หลังจากแต่งงานแล้วจึงย้ายมาอยู่กับภรรยาและทำนาด้วยการใช้สารเคมีมาโดยตลอดในพื้นที่ 25 ไร่ ได้ข้าวเปลือกเพียง 13 เกวียน ทำให้ขาดทุน  ทุกปี จึงคิดหาทางออกให้กับตนเองด้วยการหาความรู้จากหนังสือและการเข้าอบรมจากที่ต่าง ๆ จนในปี   พ.ศ. 2532 อาจารย์เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิข้าวขวัญ ได้ขอที่ 5 ไร่ ของบิดาเพื่อทำการทดลองปลูกข้าวโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรควบคุมแมลงและบิดาไม่มีเวลาดูแลแปลงนาดังกล่าว ตนจึงต้องไปดูแลเองผลปรากฏว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการทำนาโดยใช้สารเคมี พบว่ารายได้ที่ได้รับมากกว่าการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและยังสังเกตเห็นแปลงข้าวที่ฉีดสมุนไพรไม่มีเพลี้ยรบกวน จากประสบการณ์และการเรียนรู้ครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของการลดการใช้สารเคมีและเริ่มใช้วิธีผสมผสานกับสมุนไพรในที่นาตนเอง 8 ไร่ และขยายไปจนถึง 108 ไร่ ในปัจจุบัน

นายชัยพร ทำนาปีละ 2 ครั้ง ใช้วิธีการทำนาแบบชีวภาพ ลดต้นทุนการผลิตโดยไม่เผาฟางใช้ปุ๋ยมูลสัตว์และสารสมุนไพรฉีดไล่แมลงสร้างความสมดุลของระบบนิเวศในแปลงนาและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำนาซึ่งเป็นอาชีพที่นายชัยพร รักเป็นชีวิตจิตใจสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว สิ่งที่ได้มาจากการทำนาโดยสุจริต ไม่เอาเปรียบดิน ไม่เอาเปรียบน้ำ ขยันขันแข็งด้วยสองมือหยาบกร้านจากการทำงานหนัก เช่นเดียวกับชาวนาทั่ว ๆ ไป โดยทำนาบนที่ดินมรดกบิดา 20 กว่าไร่ และที่นาเช่าเพิ่มเติม ปัจจุบันมีที่นากว่า 108 ไร่ ใช้วิธีการทำนาน้ำแห้ง รวมถึงผลิตจุลินทรีย์จากป่าหมักฟาง ผสมผสานกับใช้สมุนไพรไล่แมลง ฮอร์โมนนมสด และฮอร์โมนไข่ ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 90 ถังต่อไร่

ความพอประมาณ

ไม่ทำอะไรเกินตัว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว ในการประกอบอาชีพทำนาโดยใช้แรงงานในครอบครัว และหันมาใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมี สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ข้าวที่ได้จากแปลงนาส่วนหนึ่งนำไปสีเป็นข้าวสารไว้บริโภคได้ตลอดปี ยังสามารถจับปลาจากแปลงนา ปลูกผักสวนครัวทำให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มาก

ความมีเหตุผล

เมื่อมีการใช้จ่ายหรือกระทำในสิ่งใดจะดูที่ความสมเหตุ สมผลเป็นอันดับแรกเช่น การประกอบอาชีพ การจ่าย การออม จะคำนึงถึงประโยชน์ และผลเสีย โดยชั่งน้ำหนักว่าอย่างไหนมีมากกว่ากัน สิ่งนั้นสมควรหรือไม่ จึงค่อยตัดสินใจกระทำสิ่งนั้นๆ เรื่องที่สำคัญมาก หรือน้อย ต้องถามความคิดเห็นสมาชิกในครอบครัวก่อนการตัดสินใจ

การมีภูมิคุ้มกัน

ใช้จ่ายอย่างประหยัด คิดก่อนใช้ และใช้อย่างมีเหตุผล มีการเก็บออมไว้เสมอ หากมีเงินเหลือเก็บจะซื้อที่นาเก็บไว้ การหารายได้เสริมสำรองไว้ใช้จ่าย และศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเพิ่มเติมอยู่เสมอ

ความรอบรู้

การใฝ่รู้ คือ จะพยายามศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุหรือหนังสือ โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง อีกทั้งยังเปิดใจรับความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการฝึกอบรมอยู่เสมอ และจะนำความรู้ต่างๆที่ได้นำมาทดลองปฏิบัติในแปลงเกษตรที่แบ่งไว้ หากได้ประโยชน์จริงจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง และเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป มีความรอบรู้ในอาชีพของตนเองจนเกิดความเชี่ยวชาญ รู้จักประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด รอบรู้ในสังคมที่อยู่ร่วมกัน ประกอบอาชีพเดียวกัน ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดด้วยการถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยมิหวังผลตอบแทนเพื่ออยู่ร่วมสังคมเดียวกันอย่างมีความสุข

ความมีคุณธรรมตามหลักศาสนา

ใช้หลักเบญจศีล จากศาสนาพุทธในการดำรงชีวิตใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง พอใจในสิ่งที่มีอยู่ มีการประมาณตนละทั้งความโลภ โกรธ หลง ก็สามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้

ผลงานที่สร้างคุณประโยชน์

          1. การทำนาน้ำแห้งป้องกันเพลี้ย จากประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ลองผิดลองถูกมาโดยตลอด จึงเริ่มสังเกตต้นข้าวและแปลงนาว่าเป็นอย่างไรจนพบว่าข้าวที่ไปเกิดบนคันนาไม่ได้แช่น้ำมีเพียงแค่ชื้นๆ จะแตกกอดีมาก รากขาวเยอะ ใบเขียวตลอดจึงลองปล่อยน้ำออกให้หมดจนแห้งผลที่ได้คือ ข้าวที่เคยเหลืองกลับมาเขียว เปรียบเทียบกับชาวบ้านที่เขาใส่ปุ๋ยยังเขียวสู้ต้นข้าวของเราไม่ได้เลย ดังนั้น พอสันนิษฐานได้ว่าต้นข้าวไม่จำเป็นต้องขังน้ำไว้ เพราะถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีเพลี้ย และไม่ใช้สารเคมีทำให้ตัวห้ำ ตัวเบียนคอยควบคุมเพลี้ยโดยธรรมชาติ

          2. การทำพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง ในฤดูต่อไป นายชัยพร จะทำพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง โดยคำนวณว่าปีหน้าจะทำพันธุ์อะไร ก็แบ่งที่นาส่วนหนึ่งไว้ทำแปลงพันธุ์ข้าว ซึ่งลงทุนน้อยกว่าการไปซื้อพันธุ์ข้าวถังละ 200 บาท ช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการทำนา

          3. การทำปุ๋ยอินทรีย์ สมุนไพรไล่แมลงและการใช้หัวเชื้อต่าง ๆ โดยปกติในแปลงนาระบบนิเวศนั้นจะมีศัตรูหรือตัวที่คอยควบคุมกันอยู่แล้ว แต่เมื่อชาวนาหันมาทำนากันเป็นธุรกิจจึงต้องใช้สารเคมี ทำให้ตัวห้ำตัวเบียนตายไป ซึ่งแมลงพวกนี้จะอยู่ในบริเวณกาบใบไล่มาถึงยอด แต่พวกแมลงที่ไม่มีประโยชน์จะอยู่เกือบติดโคนต้นหรือดิน เวลาใช้สารเคมีจึงทำให้ระบบนิเวศเสีย แต่ถ้าเราสามารถที่จะผลิตปัจจัยต่าง ๆ ในการทำนามาใช้ได้เอง จะเป็นการลดต้นทุน รักษาสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศก็ยังคงสมบูรณ์

          4. ผลงาน นวัตกรรมการเกษตร และเทคโนโลยีการเกษตร จากประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เคยไปอยู่ในอู่ซ่อมรถ จึงเป็นที่มาของชาวนานักประดิษฐ์ จากเครื่องซักผ้ามือปั่น  กล่องลูบเทือก  ผานไถนา  ลูกจิ้มและตัวลากสำหรับตีเทือก  โรตารี่ตีดินหรือลูกควักที่ติดกับรถไถนาเดินตาม ซึ่งสามารถลดการใช้แรงงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ของการทำนา

การขยายผลงาน

          นายชัยพร ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่ด้วยตนเองบอกเล่าจากประสบการณ์จริง และจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ของตนเอง ในรูปแบบ VCD เพื่อใช้เผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับหน่วยงานราชการ เอกชนและยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เว็บไซด์ ฯลฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้นนายชัยพรได้ ขยายผลไปสู่กลุ่มและเครือข่ายต่าง ๆ เช่น กลุ่มเกษตรกรทำนาแบบชีวภาพในระดับหมู่บ้าน ตำบลในอำเภอบางปลาม้า กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรทำนาแบบชีวภาพในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี เป็นต้น

ตกลง